บาลีวันละคำ

วิวาหมงคล (บาลีวันละคำ 2,318)

วิวาหมงคล

และค่านิยมที่ชอบกลของอินเดีย

อ่านว่า วิ-วา-หะ-มง-คน

ประกอบด้วยคำว่า วิวาห + มงคล

(๑) “วิวาห

บาลีอ่านว่า วิ-วา-หะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + วหฺ (ธาตุ = นำไปให้ถึง) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาตุ คือ อะ ที่ -(หฺ) เป็น อา (วหฺ > วาห)

: วิ + วหฺ = วิวหฺ + = วิวหณ > วิวห > วิวาห (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “พิธีที่นำไปโดยวิเศษ” (คือนำฝ่ายชายไปยังตระกูลฝ่ายหญิง)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิวาห” ว่า “carrying or sending away,” i. e. marriage, wedding (“การนำไปหรือส่งออกไป” คือ การแต่งงาน,วิวาหะ)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิวาห-, วิวาห์, วิวาหะ : (คำนาม) “การพาออกไป” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).”

(๒) “มงคล

บาลีเป็น “มงฺคล” (มัง-คะ-ละ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มคิ (ธาตุ = ถึง, ไป, เป็นไป) + อล ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ -(คิ) แล้วแปลงนิคหิตเป็น งฺ (มคิ > มํคิ > มงฺคิ), ลบสระที่สุดธาตุ (มคิ > ค)

: มคิ > มํคิ > มงฺคิ > มงฺค + อล = มงฺคล แปลตามศัพท์ว่า (1) “เหตุให้ถึงความเจริญ” (2) “เหตุเป็นเครื่องถึงความบริสุทธิ์แห่งเหล่าสัตว์

(2) มงฺค (บาป) + ลุ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, ลบสระหน้า (คือ อุ ที่ ลุ ที่อยู่หน้า ปัจจัย : ลุ > )

: มงฺค + ลุ = มงฺคลุ > มงฺคล + = มงฺคล แปลตามศัพท์ว่า “เหตุที่ตัดความชั่ว

ความหมายที่เข้าใจกันของ “มงฺคล” (นปุงสกลิงค์) คือ –

(1) มีฤกษ์งามยามดี, รุ่งเรือง, มีโชคดี, มีมหกรรมหรืองานฉลอง (auspicious, prosperous, lucky, festive)

(2) ลางดี, ศุภมงคล, งานรื่นเริง (good omen, auspices, festivity)

มงฺคล” ตามหลักพระพุทธศาสนาหมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มงคล, มงคล– : (คำนาม) เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).”

วิวาห + มงคล = วิวาหมงคล แปลว่า “งานมงคลคือแต่งงาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิวาหมงคล : (คำนาม) พิธีแต่งงาน, งานสมรส, เช่น ขอเชิญหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ในงานวิวาหมงคล.”

ข้อสังเกต :

วิวาหมงคล” เป็นคำที่คู่กับ “อาวาหมงคล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาวาห-, อาวาหะ : (คำนาม) “การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนําหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).”

ความแตกต่างคือ :

– “วิวาหมงคล” ฝ่ายชายไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิง

– “อาวาหมงคล” ฝ่ายหญิงมาอยู่กับครอบครัวฝ่ายชาย

– “วิวาหมงคล” เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้

– “อาวาหมงคล” เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ

พจนานุกรมฯ บอกว่า การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น

แถม :

เรื่องที่พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกก็คือ เดี๋ยวนี้คู่บ่าวสาวนิยมถ่ายรูปก่อนแต่งงาน ที่เรียกเป็นคำอังกฤษว่า pre-wedding โดยเฉพาะที่จังหวัดราชบุรีร้านที่รับจ้างถ่ายรูปมีข้อเสนอให้คู่บ่าวสาวแต่งชุดไทยไปถ่ายรูปในบริเวณพระมหาธาตุภายในวัดมหาธาตุอยู่เนืองๆ

คู่บ่าวสาวแต่งชุดไทยเข้ามาในวัดดูราวกับซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทยและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งนัก แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น เขาและเธอจะได้ตั้งใจมาไหว้พระให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตคู่ก็หาไม่ หากแต่ตั้งใจมาใช้วัดเป็นฉากถ่ายรูปเท่านั้นเอง

นับว่าเป็นค่านิยมที่ชอบกลอย่างหนึ่งของไทย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าใช้วัดเป็นฉากถ่าย pre-wedding

: ถ้าชีวิตจริงไม่ได้ตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรม

#บาลีวันละคำ (2,318)

17-10-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *