บาลีวันละคำ

วัตตบท (บาลีวันละคำ 2,321)

วัตตบท

เส้นทางสู่ความเป็นพระอินทร์

อ่านว่า วัด-ตะ-บด

ประกอบด้วยคำว่า วัตต + บท

(๑) “วัตต

(1) บาลีเป็น “วตฺต” (วัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก วตฺตฺ (ธาตุ = ถือเอา, ประพฤติ) + ปัจจัย

: วตฺต + = วตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ข้อที่ควรถือประพฤติ

(2) บาลีเป็น “วต” (วะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(ก) วตฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย

: วตฺ + = วต แปลตามศัพท์ว่า “การที่เป็นไปตามปกติ

(ข) วชฺ (ธาตุ = ปรุงแต่ง, กระทำ) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: วชฺ > วต + = วต แปลตามศัพท์ว่า “การอันเขาปรุงแต่ง

วตฺต” หรือ “วต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วัตร” หมายถึงกิจที่ควรถือประพฤติ, กิจพึงกระทำ, ข้อปฏิบัติ, ความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, สิ่งที่ทำ, หน้าที่, การบริการ, ประเพณี, งาน (observance, vow, virtue, that which is done, which goes on or is customary, duty, service, custom, function)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วัตร, วัตร– : (คำนาม)  กิจพึงกระทำ เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).”

(๒) “บท

บาลีเป็น “ปท” (ปะ-ทะ) รากศัพท์มาจาก ปทฺ (ธาตุ = บรรลุ, ถึง) + ปัจจัย

: ปทฺ + = ปท แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สภาวะอันพระอริยะบรรลุ” = นิพพาน

(2) “สิ่งเป็นเหตุเป็นไปแห่งผล” = เหตุ, เค้ามูล, ปัจจัย

(3) “อวัยวะเป็นเครื่องเดินไป” = เท้า

ปท” โดยทั่วไปแปลว่า เท้า, รอยเท้า, ทาง (foot, footstep, track)

คำว่า ปทบท ยังมีความหมายอื่นๆ อีก ดูตามที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษแปลไว้ อาจช่วยให้เห็นความหมายอื่นๆ ได้ดี คือ “ปท” หมายถึง step, way, path, position, place, case, lot, principle, part, constituent, characteristic, ingredient, item, thing, element, a word, verse (or a quarter of a verse), stanza, line, sentence (การก้าว, ทาง, ตำแหน่ง, สถานที่ กรณี, โชคชะตา, หลักการ, ส่วน, องค์ประกอบ, ลักษณะ, ส่วนประกอบ, รายการ, สิ่งของ, มูลฐาน, คำ, ฉันท์ (หรือหนึ่งในสี่ของฉันท์), โศลก, บท, ประโยค)

ในภาษาไทยมักใช้ทับศัพท์ว่า “บท

วตฺต + ปท = วตฺตปท (วัด-ตะ-ปะ-ทะ) > วัตตบท (วัด-ตะ-บด) แปลตามศัพท์ว่า “ทางแห่งวัตร” หมายถึง ข้อปฏิบัติอันพึงประพฤติเป็นประจำ

ขยายความ :

คำว่า “วตฺตปท” หรือ “วัตตบท” เป็นคุณธรรมชุดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก

เรื่องย่อคือ คราวหนึ่งพระอินทร์มาเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามปัญหาธรรม ทรงเล่าให้ภิกษุฟัง มีชาวบ้านบางคนที่ฟังแล้วสงสัยว่าพระพุทธเจ้ารู้จักพระอินทร์ด้วยหรือ ไม่เชื่อว่าผู้ที่มาเฝ้าทูลถามปัญหานั้นเป็นพระอินทร์จริงเพราะมนุษย์ไม่เคยเห็นพระอินทร์

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มิใช่เพียงแค่ทรงรู้จักตัวพระอินทร์ แต่ทรงรู้กระทั่งวิธีปฏิบัติเพื่อให้ไปเกิดเป็นพระอินทร์อีกด้วย

วิธีปฏิบัติเพื่อให้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ เรียกว่า “วัตตบท” มี 7 ประการ ดังนี้ –

มาตาเปติภรํ ชนฺตุํ……….กุเล เชฏฺฐาปจายินํ

สณฺหํ สขิลสมฺภาสํ………เปสุเณยฺยปฺปหายินํ,

มจฺเฉรวินเย ยุตฺตํ………..สจฺจํ โกธาภิภุํ นรํ

ตํ เว เทวา ตาวตึสา…….อาหุ สปฺปุริโส อิติ.

(มาตาเปติภะรัง ชันตุง……..กุเล เชฏฐาปะจายินัง

สัณหัง สะขิละสัมภาสัง…….เปสุเณยยัปปะหายินัง,

มัจเฉระวินะเย ยุตตัง………..สัจจัง โกธาภิภุง นะรัง

ตัง เว เทวา ตาวะติงสา…….อาหุ สัปปุริโส อิติ.)

(1) เลี้ยงมารดาบิดา

(2) มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล

(3) กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน

(4) ละวาจะส่อเสียด

(5) ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่

(6) มีวาจาสัตย์

(7) ข่มความโกรธได้

ทวยเทพชั้นดาวดึงส์เรียกนรชนผู้มีคุณสมบัติเช่นนี้นั่นแลว่าสัปบุรุษ

ที่มา: ปฐมเทวสูตร สังยุตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 15 ข้อ 907

และดูเพิ่มเติมที่ สักกวัตถุ ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 2

คำว่า “วัตตบท” ไม่เป็นที่คุ้นกันในภาษาไทยและไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

คำนี้อาจสะกดเป็น “วัตรบท” หรือ “วัตบท” ก็ได้ แต่เพื่อมิให้มีปัญหาในการอ่าน เช่นอาจมีผู้อ่านเป็น วัด-บด ในที่นี้จึงขอสะกดเป็น “วัตตบท” ซึ่งไม่มีทางอ่านเป็นอย่างอื่นนอกจาก วัด-ตะ-บด ตามรูปคำเดิม

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แม้ไม่เชื่อเรื่องพระอินทร์ทั้งหมด

: แต่ปฏิบัติตามวัตตบทก็มีแต่ได้กำไร

#บาลีวันละคำ (2,321)

20-10-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย