บาลีวันละคำ

ผ้าเหลืองน้อยห้อยหู (บาลีวันละคำ 2,339)

าเหลืองน้อยห้อยหู

บาลีว่าอย่างไร

คำว่า “ผ้าเหลืองน้อยห้อยหู” เป็นคำพูดในเชิงสำนวน มีความหมายว่า ในอนาคตกาล เมื่อพระศาสนาเสื่อมถึงที่สุด พระสงฆ์จะมีเพียงผ้าเหลืองห้อยหูไว้พอให้รู้ว่าเป็นพระเท่านั้น

เมื่อตรวจสอบดูในคัมภีร์ ก็พบว่ามีกล่าวถึงเรื่องเช่นว่านี้ และมีคำบาลีเรียกพระสงฆ์ในยุคสมัยเช่นนั้นว่า “กาสาวกณฺฐ

กาสาวกณฺฐ” อ่านว่า กา-สา-วะ-กัน-ถะ ประกอบด้วยคำว่า กาสาว + กณฺฐ

(๑) “กาสาว” (กา-สา-วะ) รูปศัพท์เดิมมาจาก กสาว + ปัจจัย

(ก) “กสาว” (กะ-สา-วะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (น้ำ) + สิ (ธาตุ = เสพ, กิน) + อว ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ สิ) เป็น อา

: + สิ = กสิ > กสา + อว = กสาว แปลตามศัพท์ว่า “รสเป็นเหตุให้ดื่มน้ำ” (เมื่อรสชนิดนี้ไปกลั้วที่คอ ก็จะเกิดอาการอยากดื่มน้ำ)

(2) (น้ำ) + สุ (ธาตุ = ฟัง) + ปัจจัย, แปลง อุ (ที่ สุ) เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: + สุ = กสุ > กโส > กสาว + = กสาว แปลตามศัพท์ว่า “รสที่ยังน้ำให้ได้ยิน” (คือทำให้เรียกหาน้ำ)

กสาว” มีความหมายหลายอย่าง คือ :

(1) ดินเปียก หรือยางชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นสีทาฝาผนัง (a kind of paste or gum used in colouring walls)

(2) น้ำยาห้ามเลือดที่ต้มกลั่นจากพันธุ์ไม้ (an astringent decoction extracted from plants)

(3) (น้ำ) มีรสฝาด (astringent)

(4) (ผ้า) มีสีเหลืองปนแดง, มีสีส้ม (reddish-yellow, orange coloured)

(5) (ความหมายทางธรรม) อกุศลมูล, กิเลสที่ย้อมดุจน้ำฝาด (the fundamental faults)

(ข) กสาว + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ – เป็น อา (ตามสูตรบาลีไวยากรณ์ว่า “ด้วยอำนาจปัจจัยที่เนื่องด้วย ”)

: กสาว + = กสาวณ > กสาว > กาสาว แปลตามศัพท์ว่า “-ที่ย้อมด้วยนำฝาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กาสาว-, กาสาวะ : (คำนาม) ผ้าย้อมฝาด, เขียนเป็น กาสาว์ ก็มี. (ป.).”

ในที่นี้ “กาสาว” หมายถึง ผ้าที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยเรียกรู้กันว่า “ผ้าเหลือง”

(๒) “กณฺฐ” (กัน-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) กํ (ศีรษะ) + ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + กฺวิ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ กํ เป็น ณฺ (กํ > กณฺ), ลบสระที่สุดธาตุและ กฺวิ

: กํ > กณฺ + ฐา + กฺวิ = กณฺฐากฺวิ > กณฺฐา > กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ตั้งแห่งศีรษะ

(2) กมฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (กมฺ > ), ซ้อน ณฺ

: กมฺ > + ณฺ + = กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ปรารถนาข้าวสุกเป็นต้น

(3) กณฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย

: กณฺ + = กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องออกเสียง

กณฺฐ” หมายถึง คอ (neck), คอหอย (throat)

กณฺฐ” ภาษาไทยเขียน “กัณฐ์” (กัน) เช่นคำว่า “ทศกัณฐ์” แปลว่า “ผู้มีสิบคอ

กาสาว + กณฺฐ = กาสาวกณฺฐ แปลว่า “ผู้มีผ้ากาสาวะผูกไว้ที่คอ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กาสาวกณฺฐ” ว่า the “yellow necks” those whose necks are dressed in yellow (“คอสีเหลือง” ผู้ซึ่งคอของเขาถูกแต่งด้วยสีเหลือง)

กาสาวกณฺฐ” เขียนเป็นคำไทยว่า “กาสาวกัณฐะ” อ่านว่า กา-สา-วะ-กัน-ถะ

อภิปราย :

ในคัมภีร์กล่าวไว้ว่า ในอนาคตกาลนานไกล เมื่อพระศาสนาเสื่อมถึงที่สุด บรรพชิตจะแต่งกายเหมือนชาวบ้าน เพียงแต่มีผ้าเหลืองผูกไว้ที่คอเท่านั้นเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นภิกษุ ชีวิตปกติก็จะประกอบอาชีพ มีครอบครัวเยี่ยงชาวบ้านธรรมดา

ท่านเรียกบรรพชิตในยุคสมัยนั้นว่า “กาสาวกณฺฐ > กาสาวกัณฐะ > ผู้มีผ้ากาสาวะผูกไว้ที่คอ

กาสาวกัณฐะ” ถ้าจะให้ตรงศัพท์ ควรจะพูดว่า “ผ้าเหลืองน้อยห้อยคอ” แต่อาจเป็นเพราะ “หู” ให้ภาพที่ชัดเจนและให้อารมณ์บางอย่างได้ดีกว่า “คอ” หรืออาจเนื่องด้วยธรรมชาติบางอย่างของการเปล่งเสียง “ผ้าเหลืองน้อยห้อยคอ” จึงถูกแปลงเป็น “ผ้าเหลืองน้อยห้อยหู” ไปดังที่เห็น

สภาพ “ผ้าเหลืองน้อยห้อยหู” นี้ หนังสือ “พระปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอน “ธาตุอัตรธานปริวรรต” บรรยายความไว้ดังนี้

……….

คจฺฉนฺเต กาเล ครั้นกาลล่วงไป พระภิกษุทั้งหลายจะอากัปปกิริยาอาการ รับบาตรและจีวร และคู้เข้าเหยียดออกซึ่งอวัยวะ และจะดูในเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ก็ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใสแห่งปัจจัยทายก จะวางไว้ซึ่งบาตรเหนืออัคคพาหา แล้วและจะเที่ยวโคจรบิณฑบาตไป มีอาการดุจดังว่านิครนถ์อันวางไว้ซึ่งบาตร คือผลแห่งน้ำเต้าเหนืออัคคพาหาแล้วและเที่ยวภิกขาจารไปเหมือนกัน

คจฺฉนฺเต กาเล พระภิกษุทั้งหลายจะหาบหิ้วห้อยบาตรด้วยสาแหรก แล้วจะเที่ยวภิกขาจารประพฤติอนาจารต่างๆ ผิดเพศภิกษุซึ่งเป็นพุทธชิโนรส อันรักษาพระจตุปาริสุทธิศีล ถึงพระภิกษุทั้งหลายจะประพฤติอนาจารต่างๆ อย่างนั้นก็ดี ก็ชื่อว่าเพศสมณะยังไม่อันตรธาน

คจฺฉนฺเต กาเล ครั้นกาลล่วงไป พระภิกษุทั้งหลายจะไม่สุย้อมผ้า ให้มีสีวรรณอันควรแก่สมณเพศพุทธบุตร จะกระทำผ้านั้นให้มีสีวรรณอันซีดเศร้าหมองเหมือนสีกระดูกอูฐเที่ยวอยู่ ครั้นนานไป พระภิกษุทั้งหลายจะมีความดำริว่า “เราจะมาประโยชน์อันใดด้วยผ้าย้อมฝาด” ดำริฉะนี้แล้วก็ปลดเปลื้องเครื่องสมณบริขารคือไตรจีวรจากกาย จะกระทำกสิกรรมและพาณิชยกรรมเลี้ยงบุตรและภรรยา

……….

……….

คจฺฉนฺเต กาเล ครั้นกาลเมื่อตนไปกระทำการงานอยู่ในอรัญราวป่า ก็จะมีความดำริว่า เราจะประโยชน์อันใดด้วยผ้ากาสาวพัสตร์อันผูกข้อมือและคอ คิดฉะนี้แล้ว ก็พากันนำผ้ากาสาวพัสตร์ทิ้งไว้ในอรัญรุกขประเทศ เอตสฺมึ กาเล ลิงฺคํ อนฺตรหิตํ นาม ในกาลนั้นสมณเพศก็จัดได้ชื่อว่าเสื่อมศูนย์สิ้นหาเศษมิได้

……….

สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสท่านมิได้จินตนาการเอาเอง หากแต่สำแดงความไปตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์

ผู้สนใจพึงศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคัมภีร์ที่มาดังนี้ :

– มโนรถปูรณี ภาค 1 อรรถกถาอังคุตรนิกาย หน้า 116-121

– สารัตถทีปนี ภาค 4 ฎีกาพระวินัย หน้า 439-443

– พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล (ชุด 91 เล่ม) เล่ม 32 หน้า 167-171

แถมให้คิด :

เวลานี้มีความคิดเกิดขึ้นว่า “พระท่านจะประพฤติผิดบ้างถูกบ้างก็อย่าไปว่าอะไรท่านเลย ท่านเป็นปุถุชน มีพระไว้เฝ้าวัด เอาไว้ให้ญาติโยมทำบุญก็ดีถมไปแล้ว จะเอาอะไรกันนักหนา

ความคิดนี้กำลังขยายตัวออกไปเรื่อยๆ คือมีผู้เห็นด้วยและยอมรับกันมากขึ้นทุกที

โปรดทราบเถิดว่ายุคสมัย “ผ้าเหลืองน้อยห้อยหู” เกิดขึ้นมาได้และดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีแนวคิดเช่นนี้แลเป็นฐานรองรับ

คือในที่สุดแล้ว พระท่านจะประพฤติตัวเช่นไรชาวบ้านก็ไม่ว่าอะไรหมด ชั้นมีครอบครัวทำตัวเป็นชาวบ้านเต็มขั้นก็ไม่มีใครว่าอะไรเลย ขอให้มี “ผ้าเหลืองน้อยห้อยหู” เอาไว้เป็นพอ ยอมรับว่าท่านเป็นพระในพระพุทธศาสนาด้วยเหตุเพียงเท่านั้นก็พอใจแล้ว

เราห้ามไม่ให้เกิดแนวคิดเช่นว่านั้นไม่ได้ ห้ามไม่ให้มีคนสนับสนุนแนวคิดเช่นว่านั้นก็ไม่ได้ เราทำได้อย่างเดียวคือ รู้ทัน ด้วยการศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยที่ถูกต้องเข้าไว้ให้จงมากเทอญ

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รู้ว่าเกิดมาแล้วต้องตาย

ก็ใช่ว่าจะต้องเร่งฆ่าตัวตาย

: รู้ว่าพระศาสนาจะต้องล่มสลาย

ก็ใช่ว่าจะต้องช่วยกันทำให้เสื่อมเร็วขึ้น

#บาลีวันละคำ (2,339)

7-11-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย