บาลีวันละคำ

สถิต ทำไมจึงไม่ต้องมี ย การันต์ (บาลีวันละคำ 2,359)

สถิต ทำไมจึงไม่ต้องมี ย การันต์

คนส่วนมาก พอเขียนคำว่า “สถิต” ก็มักจะเขียนเป็น “สถิตย์” มี การันต์ด้วยเสมอ

สถิตย์” (มี การันต์) เป็นคำที่เขียนผิด

สถิต” (ไม่ค้องมี การันต์) เป็นคำที่ถูกต้อง

ทำไม “สถิต” จึงไม่ต้องมี การันต์

ก็เหมือน-เมื่อถามว่า “อนุญาต” ทำไมจึงไม่ต้องมีสระ อิ บางคนตอบว่า เพราะพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้เขียนอย่างนั้น

ดูรายละเอียดที่: “อนุญาต ทำไมจึงไม่มีสระ อิ” บาลีวันละคำ (2,358) 26-11-61

ถามว่า “สถิต” ทำไมจึงไม่ต้องมี การันต์ บางคนคงตอบแบบเดียวกัน คือเพราะพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้เขียนอย่างนั้น

ถ้าถามต่อไปว่า ทำไมพจนานุกรมฯ กำหนดให้เขียนอย่างนั้น คนส่วนมากคงจะไม่ทราบเหตุผล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สถิต : (คำกริยา) อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคํายกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ในฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ พระมหากษัตริย์สถิตบนพระที่นั่ง สมเด็จพระสังฆราชสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร. (ส. สฺถิต; ป. ฐิต).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “สถิต” เป็นรูปคำสันสกฤต สะกดเป็น “สฺถิต” (มีจุดใต้ สฺ) บาลีเป็น “ฐิต

ฐิต” อ่านว่า ถิ-ตะ รากศัพท์มาจาก ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่, ดำรงอยู่, ยืนอยู่) + ปัจจัย, แปลง อา ที่ ฐา เป็น อิ (ฐา > ฐิ)

: ฐา + = ฐาต > ฐิต (คำกริยาและคุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “ตั้งอยู่แล้ว” หมายถึง ยืนอยู่, ไม่เคลื่อนไหว, ดำรงอยู่ (standing, immovable, being)

บาลี “ฐิต” สันสกฤตเป็น “สฺถิต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สฺถิต : (คำวิเศษณ์) อันไม่เคลื่อนที่; อันอยู่หรือหยุดแล้ว; อันตั้งใจแล้ว; ตรงหรือสัตย์ซื่อ; สาธุหรือธารมิก; อันได้ตกลงแล้ว; immovable or steady; stayed or stopped; determined or resolved; upright, virtuous; agreed.”

ข้อสังเกต :

โปรดสังเกตว่า “สถิต” เมื่อแปลงกลับเป็นบาลีได้รูปเป็น “ฐิต

บาลีที่ลงท้ายด้วย “-” เมื่อแปลงเป็นสันสกฤตก็คงเป็น “-” ไม่เป็น “-ตย

ดังนั้น ฐิต <> จึงเป็น <> สถิต <> ไม่ใช่ <> สถิตย

สถิต” (ถูก) จึงไม่ต้องมี การันต์ เป็น “สถิตย์” (ผิด)

คำที่ลงท้ายด้วย “-ตย” ในสันสกฤต เมื่อแปลงกลับเป็นบาลีจะลงท้ายด้วย “-จฺจ” เช่น –

นิจฺจ <> นิตฺย <> นิตย์

อาทิจฺจ <> อาทิตฺย <> อาทิตย์

กิจฺจ <> กิตฺย <> กิตย์ (สิ่งที่พึงทำ)

ปณฺฑิจฺจ <> ปณฺฑิตฺย <> บัณฑิตย์ (ความเป็นคนมีปัญญา, ความเป็นบัณฑิต)

สมมุติว่า “ฐิต” บาลีเป็น “ฐิจฺจ” สันสฤตก็จะเป็น “สฺถิตฺย” และควรจะเขียนในภาษาไทยเป็น “สถิตย์” ได้

แต่เพราะบาลีไม่ใช่ “ฐิจฺจ” แต่เป็น “ฐิต” สันสฤตจึงเป็น “สฺถิต” ไม่ใช่ “สฺถิตฺย” และต้องเขียนในภาษาไทยเป็น “สถิต” (ไม่ต้องมี การันต์) จึงจะถูกต้อง

ข้อสังเกตแถม :

ตัวอย่างคำที่บาลีเป็น “” สันสกฤตเป็น “สฺถ

บาลี “ฐาน” สันสกฤตเป็น “สฺถาน” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สถาน

บาลี “ฐาปน” สันสกฤตเป็น “สถาปน” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สถาปนา

บางทีบาลีเป็น “” อยู่แล้ว (ซึ่งมักแปลงมาจาก “” อีกทีหนึ่ง) สันสกฤตก็เติม “สฺ” เข้าข้างหน้าเป็น “สฺถ” เช่น –

บาลี “ถาวร” (แปลงมาจาก “ฐาวร”) สันสกฤตเป็น “สฺถาวร” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สถาพร

บาลี “ถิร” (แปลงมาจาก “ฐิร”) สันสกฤตเป็น “สฺถิร” ใช้ในภาษาไทยเป็น “เสถียร

บาลี “ถูล” สันสกฤตเป็น “สฺถูล” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สถุล

…………..

ทำไม “สถิต” จึงมักเขียนผิดเป็น “สถิตย์” (มี การันต์)

ครูสอนภาษาไทยมักอธิบายเชิงวิชาการว่า สาเหตุเกิดจาก “มีแนวเทียบผิด” เช่นคุ้นกับคำว่า “นิตย์” “อาทิตย์” เป็นต้น จึงเข้าใจผิดและเขียนตามไปผิดๆ เป็น “สถิตย์

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำตามแล้วผิด

: บัณฑิตย่อมไม่ทำ

#บาลีวันละคำ (2,359)

27-11-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย