บาลีวันละคำ

อเนก (บาลีวันละคำ 2,360)

อเนก ทำไม –– จึงต้องอยู่หลัง

หรือทำไม – จึงต้องอยู่หน้า –

คนส่วนมากเมื่อเขียนคำว่า “อเนก” (คำถูก) มักจะเขียนเป็น “เอนก” (คำผิด)

แต่ส่วนมากมักไม่ทราบเหตุผลว่าทำไม “อเนก” จึงถูก และทำไม “เอนก” จึงผิด

อเนก” อ่านว่า อะ-เหฺนก ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายอ่านว่า อะ-เหฺนก-กะ- (ต่อด้วยคำนั้น)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อเนก, อเนก– : (คำวิเศษณ์) มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.).”

อเนก” ตามศัพท์ไม่ได้แปลว่า มาก, หลาย แต่แปลว่า “ไม่ใช่หนึ่ง” (not one)

ไม่ใช่หนึ่ง” ก็คือมากกว่าหนึ่ง

มากกว่าหนึ่ง” ย่อมส่อนัยว่ามีจำนวนมาก

ดังนั้น “อเนก” จึงมีความหมายว่า มาก, ต่างๆ กัน, นับไม่ได้, คำนวณไม่ได้ (many, various, countless, numberless)

อเนก” บาลีอ่านว่า อะ-เน-กะ แยกคำตามที่ตาเห็นก็จะเป็น (อะ) + เนก (เน-กะ)

แต่ตามกฎไวยากรณ์บาลีท่านบอกว่า “อเนก” ประสมขึ้นจากคำว่า + เอก

(๑) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว)

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(๒) “เอก

บาลีอ่านว่า เอ-กะ รากศัพท์มาจาก อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป, ตั้งอยู่) + ณฺวุ ปัจจัย, แผลง อิ เป็น เอ, แปลง ณฺวุ เป็น อก

: อิ > เอ + ณฺวุ = เอณฺวุ > เอก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ไปตามลำพัง” (คือไม่มีเพื่อนไปด้วย) (2) “ดำรงอยู่ในความเป็นหนึ่งเดียวเพราะไร้ผู้เหมือนกัน

เอก” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ :

(1) หนึ่ง (เป็นคำบอกจำนวน) one (as number)

(2) คนเดียว, โดยตนเอง, หนึ่งเท่านั้น, โดดเดี่ยว, ผู้เดียว (one, by oneself, one only, alone, solitary)

(3) คนใดคนหนึ่ง, ใครคนหนึ่ง, บางคน (a certain one, some one, some)

การประสมคำ :

+ เอก

ตามกฎไวยากรณ์บาลี :

(1) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ท่านให้แปลง “” เป็น “” (อะ)

เช่น + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

(2) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “เอก” ขึ้นต้นด้วยสระ ดังนั้นจึงต้องแปลง “” เป็น “อน

เหตุผลที่ –– ต้องอยู่หลัง – หรือ – ต้องอยู่หน้า –:

อน” (อะ-นะ) แยกเป็น 2 อักษรและอ่านแยกเป็น 2 พยางค์ คือ “” (อะ) พยางค์หนึ่ง “” (นะ) อีกพยางค์หนึ่ง ทั้ง 2 อักษรหรือ 2 พยางค์นี้เป็นอิสระจากกัน

เทียบกับอักษรที่ไม่เป็นอิสระจากกัน เช่น “ทฺว” (อ่านว่า ทัวะ)

ทฺ” มีจุดข้างใต้ บังคับให้ควบกับ “” แยกจากกันไม่ได้ นี่คือไม่เป็นอิสระจากกัน

ถ้าเอาสระ – มาประสมกับ “ทฺว” ต้องสะกดเป็น “เทฺว” ไม่ใช่ “ทฺเว

เทฺว” ไม่ได้อ่านว่า เท-วะ แต่อ่านว่า ทัว-เอ หรือ “ทวย” พยางค์เดียว ไม่ใช่ “ทะ” พยางค์หนึ่ง “เว” อีกพยางค์หนึ่ง

ถ้าสะกดเป็น “ทฺเว” สระ – ก็แยก “ทฺ” กับ “” ออกจากกันเป็น ทฺเว (ทะ-เว) ซึ่งผิดหลักที่ว่า “แยกจากกันไม่ได้”

แต่ “อน” ไม่เหมือน “ทฺว” เพราะ “อน” แยกขาดจากกันเป็น “” พยางค์หนึ่ง “” อีกพยางค์หนึ่ง

เมื่อ “อน” (อย่าลืมว่าแปลงมาจาก “”) + เอก ถ้าเขียนเป็น “เอนก” บาลีจะต้องอ่านว่า เอ-นะ-กะ ไม่ใช่ อะ-เน-กะ เท่ากับแยก “เอ” กับ “” ออกจากกัน ไม่ใช่ “เอก” คำเดิม ซึ่งจะยิ่งผิดความหมายไปไกล

สระ เ- ที่ (เอก) จึงควบได้แค่พยางค์หลัง คือ “-” แต่ไม่ควบมาถึงพยางค์หน้า คือ “-”

จึงเท่ากับ – + = เนก และ + เนก = อเนก

อน + จึงต้องเขียนเป็น “อเนก” (สระ – ควบได้แค่ –) ไม่ใช่ “เอนก” (สระ – ควบ อน)

และนี่คือเหตุผลที่ –– ต้องอยู่หลัง – หรือ – ต้องอยู่หน้า –

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รู้ว่าเมื่อไรควรนำเมื่อไรควรตาม

: คือความงามของบัณฑิต

#บาลีวันละคำ (2,360)

28-11-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *