บาลีวันละคำ

ผาสุก ทำไมไม่ใช้ ข ไข่ (บาลีวันละคำ 2,362)

ผาสุก ทำไมไม่ใช้ ไข่

คนส่วนมากเมื่อเขียนคำว่า “ผาสุก” มักเขียนเป็น “ผาสุข” คือ –สุข ไข่

ผาสุก” เป็นคำถูก

ผาสุข” เป็นคำผิด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 และฉบับอื่นๆ ก่อนหน้านี้ไม่มีคำว่า “ผาสุข

มีแต่คำว่า “ผาสุก” บอกไว้ว่า –

ผาสุก : (คำนาม) ความสําราญ, ความสบาย. (ป.).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “ผาสุก” เป็นคำบาลี

ผาสุก” บาลีอ่านว่า ผา-สุ-กะ รากศัพท์มาจาก ผาสุ +

(ก) “ผาสุ” (ผา-สุ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ผส (ธาตุ = ชอบใจ) + ณุ ปัจจัย, ลบ เหลือแต่ อุ (ณุ > อุ), ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (ผสฺ > ผาส)

: ผส + ณุ = ผสณุ > ผสุ > ผาสุ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ชอบใจ

(2) ผุส (ธาตุ = เบียดเบียน) แปลง อุ ที่ ผุ เป็น อา (ผุส > ผาส) + อุ ปัจจัย

: ผุส + อุ = ผุสุ > ผาสุ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เบียดเบียนความทุกข์

ผาสุ” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ความสบาย, ความสะดวก, ความรื่นรมย์ (pleasant, convenient, comfortable)

(ข) ผาสุ +

” (อ่านว่า กะ) ตัวนี้ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ก สกรรถ” (อ่านว่า กะ-สะ-กัด, มาจาก สก (สะ-กะ) = ของตัวเอง + อรรถ = ความหมาย, เนื้อความ)

ก สกรรถ” หมายถึง เติม ไก่ลงข้างหลังคำ แต่คำนั้นยังคงมีความหมายเท่าคำเดิม

ดังนั้น ในที่นี้ “ผาสุ” มีความหมายเช่นใด “ผาสุก” ก็มีความหมายเช่นนั้น

จะเห็นได้ว่า “ผ-ส” เป็นอักษรควบกันมาแต่รากเดิม หมายความว่า “ผาสุก” เกิดจากตัวของ “ผาสุก” เอง คือ ผาสุ + = ผาสุก

ไม่ใช่ “ผา” คำหนึ่ง “สุข” อีกคำหนึ่ง อย่างที่มักเข้าใจกัน

ขอย้ำว่า “ผาสุก” ไม่ได้เกิดจากการประสมกันระหว่าง ผา + สุข อันจะเป็นเหตุให้เขียนว่า “ผาสุข” ได้

แม้ “ผาสุก” จะมีความหมายในทำนองเดียวกับ “สุข” แต่ “สุข” กับ “ผาสุก” ก็เป็นคนละคำกัน

คำว่า “ผาสุก” จึงไม่มีคำว่า “สุข” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

เมื่อเขียนคำว่า “ผาสุก” จึงไม่ใช่เขียนคำว่า ผา + สุข แต่เขียนคำว่า “ผาสุก” อันเป็นคำของตัวเอง ไม่ใช่คำที่เกิดจากการประสมระหว่าง ผา + สุข อย่างที่เข้าใจกันผิดๆ

ด้วยเหตุดังแสดงมา “ผาสุก” จึงไม่ใช้ ไข่ แต่ใช้ ไก่ สะกด

แถม :

เคยมีผู้อธิบายว่า “ผาสุข” ( ไข่ สะกด) เป็นคำที่ถูกต้อง เพราะแปลว่า “มีความสุขมั่นคงเหมือนภูผา” ถ้าเขียนเป็น “ผาสุก” ( ไก่ สะกด) ก็จะหมายความว่า “หินที่ถูกเผาจนสุก” ซึ่งไม่ใช่สัญลักษณ์แห่งความสุข

นี่คือไปแยกเป็น “ผา” คำหนึ่ง “สุข” อีกคำหนึ่ง แล้วอธิบายเตลิดไปว่า “ผา” คือภูผาหรือภูเขา

คำอธิบายนี้เป็นการอธิบายผิดให้กลายเป็นถูก แต่เมื่อได้รู้ความเป็นมาของคำแล้วจะเห็นได้ว่ายิ่งอธิบายก็ยิ่งผิดหนักเข้าไปอีก

แต่คำอธิบายแบบนี้ คนส่วนมากซึ่งไม่ได้ศึกษาถึงรากศัพท์ย่อมมีความโน้มเอียงที่จะเชื่อ เห็นด้วย และพร้อมที่จะเขียนผิดตามกันไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

อันรูปกายภายนอกหลอกให้หลง

ใช่เป็นหงส์หรือเป็นกาแค่ตาเห็น

ที่หอมหวนล้วนงามเมื่อยามเป็น

ชื่อมาเหม็นเอาเมื่อตายก็หลายคน

#บาลีวันละคำ (2,362)

30-11-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *