บาลีวันละคำ

สังเกต ทำไมไม่มีสระ อุ (บาลีวันละคำ 2,363)

สังเกต ทำไมไม่มีสระ อุ

ถ้าให้เขียนคำว่า “สังเกต” คนส่วนมากจะเขียนเป็น “สังเกตุ” – มีสระ อุ

สังเกตุ” มีสระ อุ เป็นคำที่ผิด

สังเกต” ไม่มีสระ อุ เป็นคำที่ถูกต้อง

สังเกต” บาลีเป็น “สงฺเกต” อ่านว่า สัง-เก-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สํ (คำอุปสรรค = ร่วมกัน, พร้อมกัน) + กิ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น งฺ (สํ > สงฺ), แปลง อิ ที่ กิ เป็น เอ (กิ > เก)

: สํ > สงฺ + กิ = สงฺกิ > สงฺเก + = สงฺเกต

(2) สํ + กิต (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น งฺ (สํ > สงฺ), แปลง อิ ที่ กิ-(ตฺ) เป็น เอ (กิตฺ > เกต)

: สํ > สงฺ + กิต = สงฺกิต + = สงฺกิต > สงฺเกต

สงฺเกต” แปลตามศัพท์ว่า “รู้ร่วมกัน” “รู้พร้อมกัน” หมายถึง การกำหนด, ความตกลง, การนัดหมาย, สถานที่นัดหมาย, ที่นัดพบ (intimation, agreement, engagement, appointed place, rendezvous)

โปรดสังเกตว่า คำเดิมหรือรากศัพท์ไม่ได้มีสระ อุ ที่ แต่ประการใด จึงเป็นคำตอบที่ว่า “สังเกต” ทำไมไม่มีสระ อุ

บาลี “สงฺเกต” ในภาษาไทยเขียนว่า “สังเกต” (ไม่มีสระ อุ) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สังเกต : (คำกริยา) กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).”

ความจริง “เกตุ” ในภาษาบาลีก็มี แต่ไม่มี “สงฺเกตุ” มีแต่ “เกตุ” เดี่ยวๆ

เกตุ” บาลีอ่านว่า เก-ตุ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่อยู่ข้างบน” (หมายถึงผ้าที่ถูกผูกไว้บนที่สูง) และ “สิ่งที่เป็นเครื่องหมายให้รู้น้ำ” (หมายถึงผ้าที่ผูกไว้ที่บ่อน้ำ บอกให้รู้ว่าตรงนั้นมีน้ำ)

เกตุ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) รัศมี, แสงสว่าง, ความรุ่งโรจน์, ความโชติช่วง (ray, beam of light, splendour, effulgence)

(2) ธง, ธงชัย, เครื่องหมาย, อาจเป็นเครื่องแสดงความรุ่งโรจน์ (flag, banner, sign, perhaps as token of splendour)

เป็นอันว่า “เกตุ” (เก-ตุ) กับ “สังเกต” (-เก-ตะ) เป็นคนละคำกัน

สังเกต” มี

สังเกตุ” ไม่มี

ข้อสังเกต :

เหตุที่มักเขียน “สังเกต” เป็น “สังเกตุ

“-” ที่เป็นตัวสะกดและมีสระ ที่เราคุ้นกันมาก ก็เช่น ชาติ (ชาด) ธาตุ (ทาด) เหตุ (เหด)

โดยเฉพาะ “เหตุ” โครงสร้างของรูปคำและระดับเสียงเข้ากับ “เกตุ” ได้พอดี

พอเห็นคำว่า “สังเกต” (ไม่มีสระ อุ = ถูก) ใจก็สั่งให้เขียนเป็น “สังเกตุ” (มีสระ อุ = ผิด) ตามความเคยชินที่ซึมซับมาจากคำอื่นๆ

เหตุข้อนี้คือที่เรียกกันเป็นคำวิชาการว่า-มีแนวเทียบผิด

ประกอบกับคนทั่วไปมักไม่ระแวงหรือไม่ชอบสงสัยว่าคำในภาษาเดิมจะสะกดอย่างไร มือเคยเขียนอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น จึงพากันเขียนผิดเพลินไปโดยไม่ได้สังเกต

อาจจะต้องใช้เทคนิคในการแก้ปัญหาเฉพาะตัว เช่น

– ท่องไว้ว่า “สังเกต ไม่มีเหตุต้องใส่สระ อุ

– อย่าอ่านว่า สัง-เกด แต่ให้อ่านในใจไว้เสมอว่า สัง-เก-ตะ เวลาเขียนจะได้ไม่เผลอไปเขียนเป็น สัง-เก-ตุ

ดูเพิ่มเติม:

สงฺเกต” บาลีวันละคำ (380) 29-5-56

สังเกต” บาลีวันละคำ (710) 27-4-57

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความชั่วไม่ใช่ตัวหนังสือ

: ทำแล้วลบไม่ได้

#บาลีวันละคำ (2,363)

1-12-61

…………………………………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………………………………….