บาลีวันละคำ

สิริมงคล ทำไมไม่ใช้ ศ ศาลา (บาลีวันละคำ 2,361)

สิริมงคล ทำไมไม่ใช้ ศาลา

คนส่วนมากเมื่อเขียนคำว่า “สิริมงคล” มักจะเขียนเป็น “ศิริมงคล” คือคำว่า “ศิริ” ใช้ ศาลา

สิริ” ( เสือ) เป็นคำถูก

ศิริ” ( ศาลา) เป็นคำผิด

สิริ” เป็นรูปคำบาลี

บาลีไม่มี ศาลา

สิริ” ในบาลีเป็น “สิรี” (-รี สระ อี) อีกรูปหนึ่ง แต่เราไม่นิยมใช้ในภาษาไทย คงใช้เฉพาะ “สิริ

สิริ” บาลีอ่านว่า สิ-ริ รากศัพท์มากจาก สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา, อาศัย) + ปัจจัย + อิ หรือ อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สิ + = สิร + อิ (อี) = สิริ (สิรี) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้สัมผัส” หรือ “สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แยกความหมายของ “สิริ” ไว้ดังนี้ –

1 ความโอ่อ่าอลังการ, ความสวยงาม (splendour, beauty)

2 โชค, ความรุ่งโรจน์, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง (luck, glory, majesty, prosperity)

3 เทพธิดาแห่งโชคลาภ (the goddess of luck)

4 (เมื่อ + คพฺภ = สิริคพฺภ) ห้องบรรทม (the royal bed-chamber)

สิริ” บาลี ตรงกับสันสกฤตว่า “ศฺรี” ที่เราใช้ในภาษาไทยเป็น “ศรี” (อ่านว่า สี)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) สิริ ๒, สิรี : (คำนาม) ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, เช่น สิริราชสมบัติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ มงคล เป็น สิริมงคล; สวย, งาม, เช่น ทรงมีพระสิริโฉม. (ป.; ส. ศฺรี).

(2) ศรี ๑ : (คำนาม) มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).

เป็นอันว่า –

เขียน “สิริ” ใช้ เสือ

เขียน “ศรี” ใช้ ศาลา

หรือจำไว้ว่า –

ถ้าอ่านว่า สี คือ “ศรี” ต้อง ศาลา

ถ้าอ่านว่า สิ-หฺริ คือ “สิริ” ต้อง เสือ

อันที่จริง สันสกฤตก็มีคำว่า “ศิริ ศาลา แต่ความหมายเป็นคนละอย่างกับ “สิริ เสือ ในบาลี

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศิริ : (คำนาม)  กระบี่, ดาพ; ศร; ผู้ฆ่า; a sword; an arrow; a killer.”

ดังนั้น ถ้าเขียนเป็น “ศิริมงคล” ก็จะต้องแปลว่า :

– กระบี่อันเป็นมงคล หรือมงคลอันเกิดจากกระบี่

– ศรอันเป็นมงคล หรือมงคลอันเกิดจากศร

– ผู้ฆ่าอันเป็นมงคล หรือมงคลอันเกิดจากผู้ฆ่า

ใครต้องการจะให้มีความหมายเช่นนั้นบ้าง?

แถม : คำเรียก ของคนรุ่นเก่า

3 ตัวนี้คนรุ่นเก่าท่านมีคำเรียกเป็นพิเศษ

ศาลา คำคนเก่าเรียก -คอ

ฤษี คำคนเก่าเรียก -บอ

เสือ คำคนเก่าเรียก -ลอ

เรียก อ เพราะรูปเหมือน ควาย เติมหางข้างบนเป็น ศาลา

เรียก อ เพราะรูปเหมือน ใบไม้ เติมเส้นขวางกลางเป็น ฤษี

เรียก อ เพราะรูปเหมือน ลิง เติมหางข้างบนเป็น เสือ

คำเรียกเช่นนี้เป็นมรดกทางภาษาอันเป็นวัฒนธรรมของชาติ เด็กไทยรุ่นใหม่บางทีอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน จึงสมควรรักษาไว้ด้วยการเรียก อ, อ, อ เช่นนี้สืบทอดกันต่อไป

ย้ำ :

จำไว้ว่า ทุกครั้งที่เขียนคำที่อ่านว่า สิ-หฺริ ต้องใช้ “สิริ เสือ ไม่ใช่ “ศิริ ศาลา

เพื่อมิให้ต้องเขียนผิดอยู่ร่ำไป ทุกครั้งที่เขียนคำว่า “สิริ” โปรดระลึกว่า –

สิริ เสือ บาลี ไม่ใช่หน้าที่ ศาลา”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่เสนอหน้าถ้าไม่มีหน้าที่

: เพียงเท่านี้ก็เป็นบัณฑิตได้

#บาลีวันละคำ (2,361)

29-11-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย