บาลีวันละคำ

สิตางศุ์ (บาลีวันละคำ 2,396)

สิตางศุ์

อ่านว่า สิ-ตาง

ประกอบด้วย สิต + อังศุ

(๑) “สิต

บาลีเป็น “สีต” (สี-ตะ) รากศัพท์มาจาก สิ (ธาตุ = เสพ) + ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ สิ เป็น อี (สิ > สี)

: สิ + = สิต > สีต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ถูกความร้อนเผาชอบ” หมายถึง เย็น, หนาว (cold, cool)

คำแปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ถูกความร้อนเผาชอบ” นั้น ต้องจับความหมายให้ชัด มิเช่นนั้นอาจงงหรือไม่เข้าใจ คือต้องแยกเป็น (๑) “ผู้ถูกความร้อนเผา” คือผู้ที่โดนแดดแผดเผาจะรู้สึกร้อน เมื่อร้อนก็ต้องการความเย็น คือชอบความเย็น เพราะฉะนั้น ความเย็นจึงเป็น (๒) “สิ่งอัน-ผู้ถูกความร้อนเผา-ชอบ

อนึ่ง โปรดสังเกตว่า คำนี้บาลีเป็น “สีต” สี– สระ อี ไม่ใช่ “สิต” สิ– สระ อิ

(๒)

อังศุ” บาลีเป็น “อํสุ” (สันสกฤต ศาลา, บาลี เสือ) อ่านว่า อัง-สุ รากศัพท์มาจาก อม (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อุ ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็นนิคหิต (อมฺ > อํ), ลง อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (อมฺ > อํ + + อุ)

: อม > อํ + = อํส + อุ = อํสุ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไปได้สุดทิศทาง” หมายถึง รังสี, รัศมี, แสง, แสงสว่าง (a ray)

นอกจากนี้ “อํสุ” ในบาลียังหมายถึง เส้นด้าย (a thread) อีกด้วย

บาลี “อํสุ” สันสกฤตเป็น “อํศุ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อํศุ : (คำนาม)  แสงแดด, ความงาม, เครื่องแต่งตัว, ปลายด้าย, แดด; sunbeam, splendour, dress, end of thread, the sun.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อังศุ : (คำนาม) สาย, ทาง, เส้น, แถว; แสง, รัศมี. (สันสกฤต. อํศุ; บาลี. อํสุ).”

สีต + อํสุ = สีตํสุ (สี-ตัง-สุ) แปลว่า “ผู้มีรัศมีเย็น” หมายถึง ดวงจันทร์ (the moon)

สีตํสุ” เขียนแบบสันสกฤตเป็น “สิตํศุ

สิตํศุ” เขียนแบบไทย แปลงนิคหิตเป็น แล้วยืดเสียง อัง เป็น อาง เป็น “สิตางศุ” (สิ-ตาง-สุ)

สิตางศุ” ต้องการให้อ่านเพียง 2 พยางค์ คือ สิ-ตาง จึงใส่การันต์ที่ –ศุ เป็น “สิตางศุ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้สั้นๆ ดังนี้ –

สิตางศุ์ : (คำนาม) พระจันทร์. (ส.).”

อภิปราย :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “สิต-” และ “สิตะ” บอกไว้ดังนี้ –

(1) สิต– : (คำวิเศษณ์) ขาว. (ป., ส.).

(2) สิตะ : (คำวิเศษณ์) ยิ้ม, ยิ้มแย้ม. (ป.; ส. สฺมิต).

และมีคำว่า “สีต-” “สีตล-” และ “สีตลรัศมี” บอกไว้ดังนี้ –

(1) สีต– : (คำวิเศษณ์) เย็น, หนาว. (ป.).

(2) สีตล– : (คำวิเศษณ์) เย็น, หนาว. (ป.).

(3) สีตลรัศมี : (คำวิเศษณ์) มีรัศมีเย็น หมายถึง พระจันทร์ คู่กับ อุษณรัศมี มีรัศมีร้อน หมายถึง พระอาทิตย์.

โปรดสังเกตว่า “สิต” (สิ– สระ อิ) พจนานุกรมฯ ไม่ได้แปลว่า เย็น, หนาว แต่แปลว่า ขาว คำที่แปลว่า เย็น, หนาว คือ “สีต” (สี– สระ อี)

แต่พอมาถึงคำที่แปลตามศัพท์ว่า “มีรัศมีเย็น” ซึ่งหมายถึง “พระจันทร์” ควรจะเป็น “สีตางศุ์” (สี– สระ อี) เหมือนคำว่า “สีตลรัศมี” กลับใช้เป็น “สิตางศุ์” (สิ– สระ อิ) = สิต + อํศุ ซึ่งพจนานุกรมฯ ก็บอกไว้เองว่า “สิต” แปลว่า ขาว “สิตางศุ์” (สิ– สระ อิ) จึงควรจะแปลว่า “มีรัศมีขาว” ซึ่งน่าจะไม่ได้หมายถึง พระจันทร์

อย่างไรก็ตาม สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “สิต” บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สิต : (คำนาม) สีขาว; ดาวพระศุกร์; ศร; เงิน; จันทน์; น้ำตาลฟอก; มัลลิอารเบีย; จันทรประภา; สุรา; นางงาม; หญ้าอันมีช่อสีขาว, หญ้าคา; white colour; the planet Venus; an arrow; silver; sandal; clayed or candied sugar; Arabian jasmine; moonlight; spirituous liquor; a handsome woman; bent grass with white blossoms.”

ถ้าถือตาม สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน “สิตางศุ์” ก็อาจจะไม่ผิด เพราะความหมายหนึ่งของ “สิต” คือ “จันทรประภา” (moonlight)

ถ้าเป็นดังนี้ ก็พึงสังเกตต่อไป คือ –

สีตลรัศมี” แปลว่า “มีรัศมีเย็น” หมายถึง พระจันทร์

สิตางศุ์” แปลว่า “มีรัศมีขาว” ก็หมายถึง พระจันทร์

ตกลงว่า พระจันทร์นี้มีรัศมีเย็นด้วย มีรัศมีขาวด้วย

สิตางศุ์” ถ้าใช้เป็นชื่อคน-โดยเฉพาะชื่อสตรี-ก็นับว่าเป็นชื่อที่ไพเราะ และมีความหมายดี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รูปงามนามเพราะ กำไรเหนาะๆ ไปแล้วครึ่งหนึ่ง

: แต่ถ้าประมาท ก็ยังมีโอกาสขาดทุนอีกครึ่งหนึ่ง

——————

(ตามคำขอของ Ronbanchob Ron Apiratikul)

#บาลีวันละคำ (2,396)

3-1-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *