บาลีวันละคำ

หิตูปเทศจิต (บาลีวันละคำ 2,532)

หิตูปเทศจิต

ศัพทกรีฑาในภาษาไทย

อ่านว่า หิ-ตู-ปะ-เทด-สะ-จิด

แยกศัพท์เป็น หิต + อุปเทศ + จิต

(๑) “หิต

บาลีอ่านว่า หิ-ตะ รากศัพท์มาจาก ทหฺ (ธาตุ = ทรงไว้, ตั้งไว้) + ปัจจัย, ลบ – ต้นธาตุ (ทหฺ > ), ลง อิ อาคมหน้าปัจจัย (ทหฺ + อิ + )

: ทหฺ + อิ + = ทหิต > หิต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาตั้งไว้

หิต” ในบาลี ถ้าเป็นคำนาม (ปุงลิงค์) หมายถึง เพื่อน, ผู้มีบุญคุณ (a friend, benefactor) และคำนาม (นปุงสกลิงค์) หมายถึง คุณประโยชน์, พร, ความดี (benefit, blessing, good)

หิต” ถ้าใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง มีประโยชน์, เหมาะสม, เป็นประโยชน์, เป็นมิตร (useful, suitable, beneficial, friendly)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

หิต, หิต– : (คำนาม) ความเกื้อกูล, ประโยชน์. (ป., ส.).”

(๒) “อุปเทศ

บาลีเป็น “อุปเทส” อ่านว่า อุ-ปะ-เท-สะ รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ทิสฺ (ธาตุ = แสดง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: อุป + ทิสฺ = อุปทิสฺ + = อุปทิสณ > อุปทิส > อุปเทส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เข้าไปหาอาจารย์แล้วแสดง” หมายถึง การชี้แจง, การบ่งชี้, การแนะนำ, การสั่งสอน (pointing out, indication, instruction, advice)

(๓) “จิต

บาลีเป็น “จิตฺต” อ่านว่า จิด-ตะ มีความหมายหลายอย่างตามรากศัพท์ต่อไปนี้ –

(1) จิตฺตา (ดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง) + ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อา ที่-ตา (จิตฺตา > จิตฺต) และลบ

: จิตฺตา + = จิตฺตาณ > จิตฺตา > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เดือนที่กำหนดด้วยดาวจิตตา” (คือดาวที่คู่กับดวงจันทร์เต็มดวง) หมายถึง จิตรมาส คือเดือนห้า

(2) จิ (ธาตุ = สะสม) + ปัจจัย, ซ้อน ตฺ

: จิ + ตฺ + = จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “สีอันเขาผสมกันไว้” (คือเขียนระบายไว้) หมายถึง สีระบาย, ลวดลาย (2) “สิ่งที่สะสมการสืบต่อของตนไว้” หมายถึง จิต, ใจ อันเป็นที่เก็บสั่งสมบุญบาปไว้

(3) จินฺต (ธาตุ = คิด) + ปัจจัย, ลบ นฺ

: จินฺต + = จินฺตต > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ทำหน้าที่คิด” (2) “สิ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์” หมายถึง จิต, ใจ, ความคิด

(4) จิตฺต (ความวิจิตรพิสดารต่างๆ) + ปัจจัย, ลบ

: จิตฺต + = จิตฺตณ > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ทำให้วิจิตรไปต่างๆ” หมายถึง จิต, ใจ ซึ่งมีลักษณะคิดเรื่องราวจินตนาการต่างๆ สุดจะบรรยาย

(5) จิตฺต (สิ่งที่งดงาม) + ปัจจัย

: จิตฺต + = จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งามวิจิตรเพราะสร้างขึ้นด้วยจิต” หมายถึง จิตรกรรม, ความวิจิตรต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จิตฺต” ไว้ดังนี้ –

(1) the heart (psychologically), i. e. the centre & focus of man’s emotional nature as well as that intellectual element which inheres in & accompanies its manifestations; i. e. thought (หัวใจ [ทางจิตวิทยา] คือศูนย์และจุดรวมของธรรมชาติที่เกี่ยวกับความรู้สึกของมนุษย์ กับส่วนของสติปัญญาซึ่งอยู่ในการแสดงออกเหล่านั้น; กล่าวคือ ความคิด)

(2) variegated, manifold, beautiful; tasty, sweet, spiced (of cakes) (วิจิตร, มีลวดลายหลายหลาก, สวยงาม, อร่อย, หวาน, ใส่เครื่องเทศ [พูดถึงขนม])

(3) painting (ภาพเขียน)

ในที่นี้ “จิตฺต” ใช้ในความหมายตามรากศัพท์ในข้อ (3) คือ จิต, ใจ, ความคิด

การประสมคำ :

หิต + อุปเทส ทีฆะ อุ เป็น อู = หิตูปเทส แปลว่า “การแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์

คำเทียบเคียงที่นักเลงหนังสือน่าจะรู้จักกันดีคือ “หิโตปเทศ” หนังสือแปลจากวรรณคดีสันสกฤต ฝีปากพากย์ไทยของ “เสฐียรโกเศศ” และ “นาคะประทีป”

คำว่า “หิโตปเทศ” กับ “หิตูปเทส” มีความหมายเหมือนกัน

หิตูปเทส + จิตฺต = หิตูปเทสจิตฺต (หิ-ตู-ปะ-เท-สะ-จิด-ตะ) แปลว่า “จิตที่คิดแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์” หมายถึง ความคิดที่จะแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น, มีหัวใจใฝ่ปรารถนาที่จะบอกกล่าวเล่าขานเรื่องที่เป็นประโยชน์ให้คนอื่นๆ ได้รู้ด้วย ในวงกว้างหมายถึง ทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์

หิตูปเทสจิตฺต” เขียนในภาษาไทยเป็น “หิตูปเทศจิต

หิตูปเทศจิต” เป็นคำหนึ่งจากความตอนหนึ่งใน “ประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562” ซึ่งทรงอาราธนาให้พระพรหมมุนี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม อ่านถวาย ณ วันเริ่มแห่งการ 3 พฤษภาคม 2562

ความตอนนี้มีว่า –

…………..

อนึ่ง ขออานุภาพเทพยมเหศวรศักดิ์

แลเทพผู้อภิรักษ์พระมหานครราชธานีนี้,

มีพระสยามเทวาธิราช พระกาฬไชยศรี,

แลพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง

เทพารักษ์หลักพระนครเป็นต้นไป,

จงบันดาลบรรดาไพรัชประเทศ

ต่างเขตขัณฑสีมา,

ให้มีหิตูปเทศจิต ไกลจากวิหิงสา,

อย่าตั้งตนเป็นอมิตรมารันทำ,

กลับเป็นสัมพันธมิตรสนิทสนม,

นิยมนำประโยชน์มาสู่ราชอาณาจักร,

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จงไปอยู่คนเดียวในป่าหิมพานต์

: ถ้าในสันดานไม่คิดจะทำประโยชน์ให้ใคร

#บาลีวันละคำ (2,532)

19-5-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *