บาลีวันละคำ

ณัฐรวี (บาลีวันละคำ 2,587)

ณัฐรวี

ในฐานะเป็นวิสามานยนาม

มีญาติมิตรท่านหนึ่งขอร้องให้วิเคราะห์ศัพท์ว่า “ณัฐรวี” ซึ่งผู้เขียนบาลีวันละคำเข้าใจว่าน่าจะเป็นชื่อคน (proper name) ความประสงค์ก็คงจะให้ช่วยแปลชื่อนี้นั่นเอง

ณัฐรวี” ประกอบด้วยคำว่า ณัฐ + รวี

(๑) “ณัฐ

บาลีเป็น “ณฏฺฐ” อ่านว่า นัด-ถะ รากศัพท์มาจาก = ญาณ (ความรู้) + ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ปัจจัย, ลบ , ซ้อน ฏฺ ระหว่างบทหน้ากับธาตุ ( + ฏฺ + ), ลบสระที่สุดธาตุ (ฐา > )

: + + ฐา = ณฏฺฐา + = ณฏฺฐาณ > ณฏฺฐา > ณฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ตั้งอยู่ในความรู้” หมายถึง มีปัญญา, ฉลาด, สันทัด, รอบคอบ, เฉียบแหลม (wise, clever, skilled, circumspect, intelligent)

ณฏฺฐ” ในภาษาไทยสะกดเป็น “ณัฐ” อ่านว่า นัด

ณัฐ” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

ในภาษาบาลีมีศัพท์อีกคำหนึ่ง ออกเสียงเหมือนกัน (ตามสะดวกปากของนักเรียนบาลีในไทยส่วนมาก) ว่า นัด-ถะ แต่สะกดเป็น นฏฺฐ (ฏฺ- หนู)

นฏฺฐ” รากศัพท์มาจาก นสฺ (ธาตุ = พินาศ, ฉิบหาย) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ฏฺฐ

: นสฺ + = นสต ( + = ฏฺฐ) > นฏฺฐ เป็นคำกริยา แปลว่า “ฉิบหายแล้ว” เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า “ผู้ฉิบหาย” หมายถึง สูญหาย, เสียหาย, สาบสูญ (perished, destroyed; lost)

คนชื่อ “ณัฐ” หรือ “ณัฏฐ์” หรือ “ณัฏฐา” จึงต้องระวังให้ดี อย่าให้ เณร กลายเป็น หนู

(๒) “รวี

บาลีเป็น “รวิ” (ระ-วิ) รากศัพท์มาจาก รุ (ธาตุ = ส่งเสียง; รุ่งเรือง) + อิ ปัจจัย, แผลง อุ ที่ รุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (รุ > โร > รว)

: รุ > โร > รว + อิ = รวิ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุร้องแห่งเหล่าสัตว์เพราะถูกแผดเผา” “สิ่งที่รุ่งโรจน์” หมายถึง ดวงอาทิตย์ (the sun)

บาลี “รวิ” ภาษาไทยใช้เป็น “รวิ” และ “รวี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รวิ ๑, รวี : (คำนาม) พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รําไพ ก็ได้. (ป., ส.).”

ณัฐ + รวี = ณัฐรวี อ่านตามหลักภาษาว่า นัด-ถะ-ระ-วี แปลตามประสงค์ว่า “นักปราชญ์ผู้รุ่งโรจน์ปานดังดวงตะวัน

อภิปราย :

ผู้เขียนบาลีวันละคำแสดงความเห็นเสมอมาว่า ชื่อคนเป็นชื่อเฉพาะ (proper name) จะอ่านอย่างไร แปลอย่างไร ต้องเป็นไปตามเจตนาของผู้ตั้งหรือเจ้าของชื่อ ผู้อื่นไปอ่านหรือแปลเข้าอาจผิดไปจากความประสงค์

ที่ผู้เขียนบาลีวันละคำอ่านและแปลไว้ข้างต้นนั้นเป็นการอ่านตามหลักภาษา และแปลตามความเห็นส่วนตัว ผู้ตั้งหรือเจ้าของชื่อไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย

โปรดทราบว่า ผู้เขียนบาลีวันละคำไม่มีนโยบายที่จะรับแปลชื่อให้ท่านผู้ใดเผยแพร่ในที่สาธารณะ ที่ยกคำนี้มาเขียนก็ด้วยมีความประสงค์จะแสดงความเห็นบางประการเกี่ยวกับการตั้งชื่อ

เกี่ยวกับการตั้งชื่อ ผู้เขียนบาลีวันละคำมีความเห็นดังต่อไปนี้ –

(๑) ผู้จะตั้งชื่อให้ใครควรบอกคำอ่านและความหมายของชื่อให้ชัดเจนไปตั้งแต่ต้นทาง ไม่ควรปล่อยให้เกิดปัญหาที่ปลายทาง

(๒) ในกรณีที่เจ้าของชื่อเป็นคนเลือกหาชื่อเอาเอง ควรเลือกชื่อที่ตนรู้ความหมายอยู่แล้ว ไม่ใช่เลือกแล้วไปเที่ยวตระเวนถามหาความหมายเอาทีหลัง วิธีที่จะรู้ความหมายได้ดีที่สุดก็คือพยายามศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง ไม่ควรนั่งรอคำตอบอย่างเดียว

(๓) ชื่อที่ตั้งควรเป็นคำที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้ เวลานี้มีความนิยมตั้งชื่อตามตำราที่บอกว่าอักษรตัวไหนเป็นมงคล แล้วก็เอาอักษรตัวนั้นๆ มาผสมกันเอาเอง เกิดเป็นรูปคำแปลกๆ อ่านก็ยาก ความหมายก็อยู่เหนือความคาดหมาย เจ้าของชื่อรู้คนเดียว นับว่าเป็นค่านิยมที่ประหลาดมาก

(๔) โปรดระลึกว่า มงคลของชื่ออยู่ที่เมื่อเรียกขานแล้วคนเรียกก็ตาม คนที่ได้ยินก็ตาม คนที่ได้เห็นตัวอักษรก็ตาม เกิดความรู้สึกชื่นชมยินดี จึงควรตั้งชื่อให้เกิดผลดังว่านี้

(๕) ชื่อที่ตั้งควรเป็นทั้งชื่อจริงและชื่อเล่น คือตั้งแล้วเอาไปเรียกขานได้จริงๆ เช่นตัดคำใดคำหนึ่งไปเรียก หรือถ้าไม่ยาวนักก็เรียกได้ทั้งคำ

ที่เป็นไปอยู่ทุกวันนี้ ตั้งชื่อกันไพเราะเพราะพริ้ง แต่เวลาเรียกขานกันจริงกลับเอาชื่ออื่นมาเรียก ชื่อที่ตั้งเพราะๆ นั้น มีค่าเพียงแค่เอาไว้เขียนเท่านั้น ไม่ใช่ตั้งไว้ให้เรียกขานกันจริง

ความจริงค่านิยมแบบนี้มีมาเก่าก่อนนมนานแล้ว เหมือนกับเป็นวัฒนธรรมชนิดหนึ่ง ที่ยกมาพูดไม่ได้มีความประสงค์จะมาชวนให้ยกเลิก กับอีกประการหนึ่ง การตั้งชื่อเรียกชื่อเป็นเรื่องส่วนตัว ใครชอบอย่างไรก็เป็นสิทธิ์ของคนนั้น คนอื่นไม่ควรเข้าไปก้าวก่าย กล่าวตามสำนวนนิยมในเวลานี้ก็ว่า “ควรเคารพความคิดเห็นของกันและกัน” (ในความหมายที่ว่า เห็นชอบด้วย พูดได้ แต่เห็นแย้ง ห้ามพูด)

ผู้เขียนบาลีวันละคำประสงค์เพียงเสนอแนวคิดสู่สาธารณะเท่านั้น เป็นอย่างที่เรียกว่า “จุดประกาย” แต่ไม่หวังว่าจะต้องมีคนทำตาม

อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณท่านเจ้าของชื่อ “ณัฐรวี” ที่ถามมา ทำให้ผู้เขียนบาลีวันละคำมีโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็นไว้ ณ ที่นี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อาหารโอชารสล้ำเลิศโลก

แต่ไม่มีใครบริโภคจะมีประโยชน์อันใด

: ตั้งชื่อเป็นมงคลเพริศพริ้ง

แต่ไม่เรียกขานกันในชีวิตจริง

จะรอให้เกิดมงคลกันเมื่อไร

—————–

(ตามคำขอของ อนาริยชน คนพลัดถิ่น)

#บาลีวันละคำ (2,587)

13-7-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย