บาลีวันละคำ

ยาว นิพฺพานํ (บาลีวันละคำ 2,595)

ยาว นิพฺพานํ

กราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน?

อ่านว่า ยา-วะ นิบ-พา-นัง

ยาว นิพฺพานํ” เป็นคำบาลี 2 คำ คือ “ยาว” คำหนึ่ง “นิพฺพานํ” คำหนึ่ง

(๑) “ยาว

บาลีอ่านว่า ยา-วะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” ประเภทนิบาตบอกปริจเฉท คือบอกกำหนดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นักเรียนบาลีแปลกันว่า “เพียงใด

ยาว” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) จนถึง (จุดหนึ่ง), ไกลถึง, ไกลเพียงไร, ไกลจนกระทั่ง (up to [a point], as far as, how far, so far that)

(2) อย่างไร, เท่าไร, ขนาดไหน หรือขนาดใด, มากเท่าไร (how, how much, to which or what extent, as great or as much as)

(3) ตราบเท่าที่, ในขณะที่, จนกระทั่ง (so long as, whilst, until)

(๒) “นิพฺพานํ

อ่านว่า นิบ-พา-นัง เป็นรูปคำประกอบวิภัตติแล้ว คำเดิมคือ “นิพฺพาน” (นิบ-พา-นะ) เป็นนปุงสกลิงค์ ลง สิ-ปฐมาวิภัตติ เอกพจน์ เอา อะ ที่ –นะ กับ สิ เป็น อํ (อัง, เขียนตามอักขรวิธีบาลีมีเฉพาะนิคหิตข้างบน ไม่มี อ่าง)

: นิพฺพาน + สิ > อํ = นิพฺพานํ แปลออกวิภัตติว่า “อันว่านิพพาน” (คำว่า “อันว่า” เป็นคำแปลประจำปฐมาวิภัตติ)

(1) “นิพฺพาน” ในแง่ภาษา (แปลตามศัพท์)

1- “สภาวธรรมที่ออกพ้นจากเครื่องร้อยรัด

2- “สภาวธรรมเป็นเหตุดับไปแห่งไฟราคะเป็นต้น

3- “สภาวธรรมเป็นที่ไม่มีตัณหา

4- “สภาวธรรมที่เมื่อบุคคลได้บรรลุแล้วย่อมไม่มีตัณหา

(2) “นิพฺพาน” ในแง่ความหมาย

1- การดับของตะเกียงหรือไฟ (the going out of a lamp or fire)

2- อนามัย, ความรู้สึกว่าร่างกายมีความผาสุกสวัสดี (health, the sense of bodily well-being)

3- การดับไฟทางใจ (The dying out in the heart of the threefold fire of rāga, dosa & moha: lust, ill-will & stupidity)

4- ความรู้สึกมีสุขภาพในด้านดี, ความมั่นคง, ความถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ, ชัยชนะและความสงบ, ความพ้นจากอบายมุข, ความสุขสำราญ (the sense of spiritual well-being, of security, emancipation, victory and peace, salvation, bliss)

(3) “นิพฺพาน” ในแง่ความเข้าใจ

1- นิพพานไม่ใช่สถานที่ ซึ่งมีอยู่แล้ว ณ เวลานี้ แล้วก็พยายามจะไปกันให้ถึง แต่นิพพานเป็นสภาวะหรือคุณภาพของจิตใจ

2- นิพพานเป็นสัจธรรม ไม่ขึ้นกับความเชื่อหรือความเข้าใจของใคร ไม่ว่าใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร นิพพานก็เป็นจริงอย่างที่นิพพานเป็น

3- นิพพานเข้าใจได้ด้วยการสัมผัสของจริง ไม่ใช่ด้วยการอ่านหรือฟังคำบรรยาย เหมือนรสอาหาร ต่อให้พรรณนาหยดย้อยก็รู้ไม่ได้ แต่เมื่อได้ลิ้มรส แม้ไม่ต้องพรรณนาก็รู้ได้เอง

4- ผู้บรรลุนิพพานไม่ต้องออกไปอยู่นอกสังคมหรือนอกโลก พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายซึ่งคือผู้บรรลุนิพพานแล้วท่านก็ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ

อภิปราย :

ยาว นิพฺพานํ” เป็นคำบาลี 2 คำ คือ “ยาว” คำหนึ่ง “นิพฺพานํ” คำหนึ่ง มาอยู่เป็นข้อความเดียวกัน แต่ไม่ใช่เป็นศัพท์เดียวกัน แปลตามศัพท์ว่า “นิพพานเพียงใด

เราจะพบคำว่า “ยาว นิพฺพานํ” ในบทสวดมนต์ทั่วไป เช่น –

…………..

พุทฺธํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ.

(พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ)

ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

จนกว่าจะบรรลุถึงพระนิพพาน

…………..

ในทางไวยากรณ์ “ยาว นิพฺพานํ” ท่านเรียกว่า “ประโยค ” (ประโยค ยะ) จะต้องมี “ประโยค ” (ประโยค ตะ) มารับ กล่าวคือ เมื่อมี “เพียงใด” ก็ต้องมี “เพียงนั้น” แต่ในที่นี้ละประโยค ตะ (“เพียงนั้น”) ไว้ในฐานเข้าใจ

ยาว นิพฺพานํ” จึงแปลสกัดความว่า “ตราบเท่าพระนิพพาน” มีความหมายว่า จะทำสิ่งนั้นๆ จะประพฤติเช่นนั้นๆ ไปจนกว่าจะบรรลุพระนิพพาน

เช่น จะบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ไปทุกภพทุกชาติ “ตราบเท่าพระนิพพาน

คำว่า “ตราบ..” โบราณออกเสียงเป็น “กราบ..” ทำนองเดียวกับคำ เต่า อื่นๆ อีกหลายคำ เช่น –

ผ้าไตร = ผ้าไกร

ไตรปิฎก = ไกรปิฎก

รอก = รอก

จำตรวน = จำกรวน

รมรอม = รมรอม

ดังนั้น “ราบเท่า” จึงเป็น “ราบเท่า”

ตราบเท่าพระนิพพาน” จึงเป็น “กราบเท่าพระนิพพาน

ต่อจาก “กราบเท่า” คำไทยคำนี้ยังงอกออกไปอีกตามวิสัยคนไทยที่ชอบต่อเติมดัดแปลง “กราบเท่าพระนิพพาน” แปลงและขยายออกเป็น “กราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน”

ถ้าอ่านตามที่ตาเห็น คนสมัยนี้จะนึกภาพออกมาเป็น-ใครคนหนึ่งกำลังก้มกราบลงไปแทบเท้าของผู้ที่ตนเคารพนับถือเพื่ออำลาไปสู่นิพพาน-ซึ่งอาจจะตีความว่า-คือลาตาย

อ่านหนังสือเก่าๆ เราจะพบเห็นข้อความสำนวนนี้ — บำเพ็ญทานศีลภาวนาไปจนกราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน —

แต่ถ้ารู้หลักที่ไปที่มา ก็จะเข้าใจภาษาเดิมได้ถูกต้อง

ภาษาเดิมบอกแค่ “ตราบเท่าพระนิพพาน” คือ “ยาว นิพฺพานํ” = จนกว่าจะบรรลุพระนิพพาน

ไม่ได้บอกว่าไป “กราบเท้า” ใครใดทั้งสิ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คำหลอกได้ลึกล้น

: คนหลอกได้ลึกล้ำ

#บาลีวันละคำ (2,595)

21-7-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย