บาลีวันละคำ

อักษรสมัย (บาลีวันละคำ 2,624)

อักษรสมัย

ไม่ได้แปลว่า “วัยเรียน”

อ่านว่า อัก-สอน-สะ-ไหฺม

ประกอบด้วยคำว่า อักษร + สมัย

(๑) “อักษร

บาลีเป็น “อกฺขร” (อัก-ขะ-ระ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขร (ของแข็ง), แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขร = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เป็นของแข็ง

(2) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขรฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขรฺ = นกฺขรฺ + = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่พินาศไป” (คือไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป)

(3) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขี (ธาตุ = สิ้นไป) + อร ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อี ที่ ขี (ขี > ), แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขี = นกฺขี > นกฺข + อร = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่สิ้นไป” (คือใช้ไม่มีวันหมด)

อกฺขร” (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้

– เป็นคำนาม หมายถึง เสียงที่เปล่งออก, เสียงสูงต่ำ, คำ, ถ้อยคำ (sounds, tones, words)

– เป็นคุณศัพท์ หมายถึง มั่นคง, คงเส้นคงวา, ทนทาน, ยั่งยืน (constant, durable, lasting)

อกฺขร” ในภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “อักษร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อักษร, อักษร– : (คำนาม) ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ เช่น ฉลาดรอบรู้ในอักษรสยาม. (ส.; ป. อกฺขร).”

(๒) “สมัย

บาลีเป็น “สมย” (สะ-มะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก

(1) สํ (คำอุปสรรค = บ่อยๆ, พร้อมกัน) + อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (อิ > เอ > อย), แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สม)

: สํ > สม + อิ > เอ > อย : สม + อย + = สมยณ > สมย แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ดำเนินไปเรื่อยๆ” (2) “สิ่งเป็นที่-หรือเป็นเหตุเป็นไปพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย

(2) สม (แทนศัพท์ “สมนฺต” = รอบด้าน) + อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง อิ เป็น (อิ > อย)

: สม + อิ > อย = สมย แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นไปโดยรอบด้านแห่งความคิด

สมย” (ปุงลิงค์) ในบาลีมีความหมายหลายอย่าง กล่าวคือ –

(1) การมาด้วยกัน, การรวมกัน; หมู่ชน, กลุ่มชน (coming together, gathering; a crowd, multitude)

(2) การคบค้าสมาคมกัน, การติดต่อ (consorting with, intercourse)

(3) เวลา, สมัย, ฤดู (time, point of time, season)

(4) เวลาอันบังควร, ฤดูกาล, สมัยหรือโอกาสที่สมควร (proper time, due season, opportunity, occasion)

(5) การประจวบกัน, พฤติการณ์, กาลเทศะ (coincidence, circumstance)

(6) สภาวะ, สถานะ; ขอบข่าย, เขตที่คลุมถึง (condition, state; extent, sphere)

(7) ที่สุด, การลงท้าย, การทำลายล้าง (end, conclusion, annihilation)

(8) ทัศนะ, หลักคำสอน (view, doctrine)

ในที่นี้ “สมย” ใช้ในความหมายตามข้อ (8)

บาลี “สมย” ภาษาไทยใช้เป็น “สมัย” (สะ-ไหฺม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมัย : (คำนาม) เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).”

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมฯ ให้ความหมายคำว่า “สมัย” ในภาษาไทยไว้อย่างเดียว คือ คราว, เวลา (time, point of time, season)

อกฺขร + สมย = อกฺขรสมย (อัก-ขะ-ระ-สะ-มะ-ยะ) แปลว่า “หลักคำสอนเกี่ยวกับหนังสือ” หมายถึง วิชาหนังสือเริ่มตั้งแต่ยังไม่รู้อะไรเลยจนสามารถอ่านออกเขียนได้ รวมทั้งที่สูงกว่านั้นขึ้นไป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อกฺขรสมย” ว่า spelling (การสะกดตัว)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “อักขรสมัย” (อัก-ขะ-หฺระ-สะ-ไหฺม) และ “อักษรสมัย” (อัก-สอน-สะ-ไหฺม) บอกความหมายไว้เหมือนกันทั้ง 2 คำ ว่า “วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน”

เนื่องจากคนไทยคุ้นกับคำว่า “สมัย” ที่หมายถึง คราว, เวลา บางคนพอเห็นคำว่า “อักษรสมัย” ก็เข้าใจไปว่า หมายถึง คราวที่เรียนหนังสือ เวลาที่กำลังเรียนหนังสือ หรือ “วัยเรียน”

ชวนให้เห็นคล้อยตาม แต่โปรดทราบว่านั่นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับความหมายของ “อกฺขรสมย” ในบาลี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้ารู้วิธีทำดีหนีชั่ว

: แม้ไม่รู้หนังสือสักตัวก็เป็นยอดบัณฑิต

#บาลีวันละคำ (2,624)

19-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย