บาลีวันละคำ

ปัญญาประดิษฐ์ (บาลีวันละคำ 2,623)

ปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาของราชบัณฑิตยฯ

อ่านว่า ปัน-ยา-ปฺระ-ดิด

ประกอบด้วยคำว่า ปัญญา + ประดิษฐ์

(๑) “ปัญญา

เขียนแบบบาลีเป็น “ปญฺญา” (มีจุดใต้ ตัวหน้า) อ่านว่า ปัน-ยา รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ญา (ธาตุ = รู้) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ซ้อน ญฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ ( + ญฺ + ญา)

: + ญฺ + ญา = ปญฺญา + กฺวิ = ปญฺญากฺวิ > ปญฺญา แปลตามศัพท์ว่า (1) “ธรรมชาติเป็นเครื่องรู้” (2) “การรู้โดยทั่วถึง

นักอธิบายธรรมะอธิบายลักษณะของ “ปญฺญา” โดยอาศัยความหมายตามรากศัพท์ว่า “ปัญญา” มีความหมายว่า –

(1) “รู้ทั่วถ้วนทั่วถึง

(2) “รู้ล่วงหน้า” (รู้ว่าเหตุอย่างนี้จะเกิดผลอย่างไร, ต้องการผลอย่างนี้จะต้องทำเหตุอย่างไร)

(3) “รู้ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด

(4) “รู้แล้วนำชีวิตหลุดออกจากปัญหา พ้นจากทุกข์ได้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายของ “ปญฺญา” ไว้ดังนี้ –

(1) ความหมายตามตัวอักษร :

“intellect as conversant with general truths” (พุทธิปัญญาอันประกอบด้วยความช่ำชองในเรื่องสัจจะโดยทั่วๆ ไป)

(2) intelligence, comprising all the higher faculties of cognition (ความฉลาด, พุทธิปัญญาประกอบด้วยประติชานหรือความรู้ชั้นสูง)

(3) reason, wisdom, insight, knowledge, recognition (เหตุผล, ปัญญา, การเล็งเห็น, ความรู้, ประติชาน)

ปญฺญา” เขียนแบบไทยเป็น “ปัญญา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัญญา : (คำนาม) ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).”

(๒) “ประดิษฐ์

บาลีเป็น “ปติฏฺฐิต” (ปะ-ติด-ถิ-ตะ) รากศัพท์มาจาก ปฏิ (คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + ฐา (ธาตุ = หยุดการไป, ยืน, ตั้งอยู่, วางไว้) + ปัจจัย, แปลง ปฏิ เป็น ปติ, ซ้อน ฏฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (ปฏิ > ปติ + ฏฺ + ฐา), ลบสระหน้า คือ อา ที่ ฐา (ฐา > ), ลง อิ อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (ฐา > + อิ + )

: ปฏิ > ปติ + ฏฺ + ฐา = ปติฏฺฐา > ปติฏฺฐ + อิ + + ปติฏฺฐิต แปลตามศัพท์ว่า “ตั้งไว้โดยเฉพาะ” 

ปติฏฺฐิต” เป็นคำกริยาและใช้เป็นคุณศัพท์ได้ บางกรณีก็ใช้เป็นคำนามได้ด้วย

ปติฏฺฐิต” เป็นกริยาและคุณศัพท์ หมายถึง ตั้งอยู่เฉพาะ, ตั้งมั่น, จัด, นำมาเรียงกัน, ยืนอยู่, มีที่พึ่งพิง, เป็นหลักฐาน, ตั้งขึ้น (established in, settled, fixed, arrayed, stayed, standing, supported, founded in)

ปติฏฺฐิต” เป็นคำนาม หมายถึง การจัดแจง, การปรับให้เรียบร้อย (arrangement, settling)

ในที่นี้ “ปติฏฺฐิต” ใช้เป็นคำวิเศษณ์

ปติฏฺฐิต” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประดิษฐ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประดิษฐ-, ประดิษฐ์ : (คำกริยา) ตั้งขึ้น, จัดทําขึ้น, คิดทําขึ้น, สร้างขึ้น, แต่งขึ้น. (คำวิเศษณ์) ที่จัดทําขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์, ที่คิดทําขึ้นไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ลายประดิษฐ์. (ส. ปฺรติษฺฐ; ป. ปติฏฺฐ).”

ปัญญา + ประดิษฐ์ = ปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์” เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสภา โดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีประวัติบอกไว้ว่า เป็นมติในการประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ปัญญาประดิษฐ์” บัญญัติขึ้นเทียบคำอังกฤษว่า artificial intelligence (AI) ถ้าเขียนเต็มตามที่ราชบัณฑิตยสภาเผยแพร่ ก็ต้องเขียนว่า “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)”

ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)” มีบทนิยามหรืออธิบายความหมายว่า

…………..

สาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเน้นเรื่องที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น แบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น การแปลภาษาด้วยเครื่อง ระบบผู้เชี่ยวชาญ วิทยาการหุ่นยนต์ การรู้จำแบบ การรับรู้เยี่ยงมนุษย์ (human perception) ฯลฯ

(คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มติเมื่อ ๒๘ มิ.ย. ๖๒)

…………..

อภิปราย :

คำว่า “ประดิษฐ์” (“ปติฏฺฐิต”) ในบาลี ความหมายหลักคือ ตั้งอยู่เฉพาะ, ตั้งมั่น, ยืนอยู่, มีที่พึ่งพิง, เป็นหลักฐาน, ตั้งขึ้น (established in, settled, stayed, standing, supported, founded in)

แต่ในภาษาไทย-โดยเฉพาะในคำนี้-ใช้ในความหมายว่า ที่จัดทําขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ อันเป็นความหมายตามคำอังกฤษว่า artificial

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล artificial เป็นบาลีไว้ดังนี้ –

(1) sippinimmita สิปฺปินิมฺมิต (สิบ-ปิ-นิม-มิ-ตะ) = สิ่งที่ช่างฝีมือทำขึ้น

(2) apākatika อปากติก (อะ-ปา-กะ-ติ-กะ) = สิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามปกติธรรมดา (เป็นสิ่งที่สร้างขึ้น)

จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่ความหมายของ “ปติฏฺฐิต” (“ประดิษฐ์”) ในบาลีแต่ประการใด

แต่นี่ก็เป็นเรื่องปกติอย่างหนึ่งในการยืมคำหรือยืมภาษา คือชาติที่ยืมอาจเปลี่ยนความหมายไปตามที่ต้องการได้เสมอ

ถ้ารู้ความหมายของคำว่า artificial ก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า “ปัญญาประดิษฐ์” ได้ตรงตามเจตนาของราชบัณฑิตยฯ คือต้องแปลจากข้างหน้าไปข้างหลังว่า “ปัญญาที่แสร้งทำขึ้น” (ไม่ใช่ปัญญาจริงของมนุษย์)

แต่ถ้าไม่มีคำอังกฤษกำกับไว้ “ปัญญาประดิษฐ์” อาจมีผู้แปลว่า “สิ่งที่ใช้ปัญญาสร้างสรรค์ขึ้น” ความหมายก็จะแตกต่างไปจาก “ปัญญาที่แสร้งทำขึ้น

ผู้เขียนบาลีวันละคำชอบใจคำว่า “สมองกล” มากกว่า

สมอง” ก็คือ ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็นคนสมองดี หัดใช้สมองเสียมั่งสิ นี่ก็คือ intelligence ตรงตัว

ส่วน “กล” ก็คือ สิ่งที่แสร้งทำหรือประดิษฐ์ขึ้น นี่ก็คือ artificial ตรงตัว

แต่อาจจะเป็นเพราะคำว่า “สมองกล” เราเข้าใจกันเป็นอย่างอื่นไปแล้ว เช่นเอาไปใช้แทนคำว่า computer และอาจเป็นเพราะเป็นคำพื้นๆ ดาดๆ ไม่หรูหราเหมือน “ปัญญาประดิษฐ์” ราชบัณฑิตยฯ จึงไม่ใช้คำนั้น

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอเชิญชวนญาติมิตรให้ใช้ตามที่ราชบัณฑิตยฯ ประกาศ หากไม่เห็นด้วยโดยประการใดๆ ก็สามารถเสนอความเห็นไปยังราชบัณฑิตยฯ ได้ อันเป็นวิถีของชาติที่เจริญแล้ว

ขอความกรุณาอย่าใช้วิธีดื้อแพ่งเหมือนนักเขียนใหญ่ท่านหนึ่ง (ถึงแก่กรรมแล้ว) ท่านสะกดคำว่า “นาที” “วินาที” เป็น “นาฑี” และ “วินาฑี” (-ฑี ฑ มณโฑ) ท่านบอกว่าท่านไม่เห็นด้วยกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพราะคำนี้สันสกฤตสะกดเป็น “นาฑี” และ “วินาฑี” ท่านจึงขอประกาศตัวเป็นอิสระ อีกประการหนึ่ง ท่านอ้างว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่ใช่กฎหมาย ท่านจึงมีสิทธิ์ที่จะไม่ต้องปฏิบัติตาม

ดังนั้น ท่านก็สะกดคำนี้เป็น “นาฑี” และ “วินาฑี” จนตัวตาย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนบางคนสร้างเครื่องจักรกลขึ้นมาใช้ต่างทาส

: แต่คนหลายคนสิน่าอนาถตกเป็นทาสเครื่องจักรกล

#บาลีวันละคำ (2,623)

18-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย