บาลีวันละคำ

มงคลบพิตร (บาลีวันละคำ 2,627)

มงคลบพิตร

คำนี้อ่านกันทั่วไปว่า มง-คน-บอ-พิด ว่าตามหลักภาษาแล้วต้องอ่านว่า มง-คน-ละ-บอ-พิด (มีคำว่า –ละ– ระหว่าง มงคล– กับ –พิตร) เพราะตามหลักการอ่านคำสมาสสนธิท่านให้ออกเสียงพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำหน้าเสมือนประกอบด้วยสระ อะ

ในที่นี้ พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำหน้า (มงค) คือ “” นอกจากทำหน้าที่เป็นตัวสะกด คือ มง + = มงคล (-คน) แล้วท่านให้อ่านเสมือนมี + = ละ อีกพยางค์หนึ่ง คือ มง-คน-ละ- แล้วต่อด้วย + บพิตร = บอ-พิด

มงคลบพิตร” จึงอ่านว่า มง-คน-ละ-บอ-พิด

แต่หลักดังว่ามานี้ไม่มีใครปฏิบัติตาม คนทั้งหลายพอใจที่จะอ่านตามสะดวกปากว่า มง-คน-บอ-พิด

เช่นเดียวกับคำว่า “บรมนาถบพิตร” จะต้องอ่านว่า บอ-รม-มะ-นาด-ถะ-บอ-พิด (มีคำว่า –ถะ– ระหว่าง นา– กับ –พิตร) คนทั้งหลายพอใจที่จะอ่านตามสะดวกปากว่า บอ-รม-มะ-นาด-บอ-พิด (ไม่มี –ถะ-)

นี่คือคนไทย-ชาติที่ถือคติว่า ทำอะไรได้ตามใจคือไทยแท้

มงคลบพิตร” ประกอบด้วยคำว่า มงคล + บพิตร

(๑) “มงคล

เขียนแบบบาลีเป็น “มงฺคล” (มีจุดใต้ งฺ) อ่านว่า มัง-คะ-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) มคิ (ธาตุ = ถึง, ไป, เป็นไป) + อล ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ -(คิ) แล้วแปลงนิคหิตเป็น งฺ (มคิ > มํคิ > มงฺคิ), ลบสระที่สุดธาตุ (มคิ > มค)

: มคิ > มํคิ > มงฺคิ > มงฺค + อล = มงฺคล แปลตามศัพท์ว่า (1) “เหตุให้ถึงความเจริญ” (2) “เหตุเป็นเครื่องถึงความบริสุทธิ์แห่งเหล่าสัตว์

(2) มงฺค (บาป) + ลุ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, ลบสระหน้า (คือ อุ ที่ ลุ ที่อยู่หน้า ปัจจัย : ลุ > )

: มงฺค + ลุ = มงฺคลุ > มงฺคล + = มงฺคล แปลตามศัพท์ว่า “เหตุที่ตัดความชั่ว

มงฺคล” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) มีฤกษ์งามยามดี, รุ่งเรือง, มีโชคดี, มีมหกรรมหรืองานฉลอง (auspicious, prosperous, lucky, festive)

(2) ลางดี, ศุภมงคล, งานรื่นเริง (good omen, auspices, festivity)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มงคล, มงคล– : (คำนาม) เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).”

มงคล” ตามหลักพระพุทธศาสนาหมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ

(๒) “บพิตร

มาจากสันสกฤตว่า “ปวิตฺร” บาลีเป็น “ปวิตฺต” (ปะ-วิด-ตะ) รากศัพท์มาจาก ปุ (ธาตุ = สะอาด) แผลง อุ ที่ ปุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (ปุ > โป > ปว) + ปัจจัย, ลง อิ อาคมหน้าปัจจัย, ซ้อน

: ปุ > โป > ปว + อิ = ปวิ + ตฺ + = ปวิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้สะอาด” คือ ผู้หมดจด, ผู้บริสุทธิ์

บาลี “ปวิตฺต” สันสกฤตเป็น “ปวิตฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปวิตฺร : (คุณศัพท์) บริสุทธิ์, สะอาด, หมดจด; pure, clean; น. ผู้หรือสิ่งที่ชำระให้สะอาด; หญ้ายัญ; ทองแดง; น้ำ; ฝน; การขัดสี, การชำระ; เนยใส; น้ำผึ้ง; who or what cleans; sacrificial grass; copper; water; rain; rubbing, cleansing; ghee or clarified butter; honey.”

ในภาษาไทย > และ > : ปวิตฺต > ปวิตฺร > บพิตร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “บพิตร” ในภาษาไทยไว้ดังนี้ –

บพิตร : (ราชาศัพท์; คำแบบ คือคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำนาม) พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย ซึ่งใช้คำเปลี่ยนไปตามพระอิสริยยศของเจ้านาย เช่น สมเด็จพระราชภคินีบพิตร สมเด็จพระบรมวงศบพิตร บรมวงศบพิตร พระเจ้าวรวงศบพิตร พระวรวงศบพิตร.”

โปรดสังเกตว่า “ปวิตฺต” บาลี กับ “ปวิตฺร” สันสกฤต ความหมายตรงกัน แต่ “บพิตร” ไทยใช้ในความหมายที่แปลกออกไปจนน่าสงสัยว่าเป็นศัพท์เดียวกันแน่หรือ น่าจะศึกษาสืบค้นต่อไป

มงคล + บพิตร = มงคลบพิตร มีความหมายว่า – พระพุทธองค์ผู้ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง อันผู้นำไปประพฤติปฏิบัติถูกถ้วนดีแล้วย่อมอำนวยความสุขความเจริญอย่างประเสริฐสูงสุด

มงคลบพิตร” แปลความสั้นๆ ว่า “พระผู้เป็นมงคลอย่างประเสริฐ

มงคลบพิตร” เป็นพระนามพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง เรียกกันว่า “พระมงคลบพิตร” ประดิษฐานในพระวิหารที่เรียกกันว่า “วิหารพระมงคลบพิตร” ในบริเวณพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

…………..

ดูก่อนภราดา!

ไปหา “พระมงคลบพิตร” ได้อะไร?

: ไปดู ได้สะเก็ด

: ไปไหว้ ได้เปลือก

: ไปนั่งทำใจให้สงบ ได้กระพี้

: ไปเจริญวิปัสสนา ได้แก่น

: ไปทำพิธี

: ไปขอพร

: ไปถ่ายรูป

ไม่ได้อะไร

#บาลีวันละคำ (2,627)

22-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย