บาลีวันละคำ

สเตกิจฉา – อเตกิจฉา (บาลีวันละคำ 2,628)

สเตกิจฉาอเตกิจฉา

คนรักพระศาสนาควรจำไปพูดให้ติดปาก

อ่านว่า สะ-เต-กิด-ฉา – อะ-เต-กิด-ฉา

รากศัพท์มาจาก –

+ เตกิจฉา

+ เตกิจฉา

(๑) “” อ่านว่า สะ (ไม่ใช่ สอ) ตัดมาจากคำว่า “สห” (สะ-หะ) เป็นคำบุรพบทและอุปสรรค แปลว่า พร้อม, กับ, พร้อมด้วย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สห” ว่า conjunction with, together, accompanied by (ต่อเนื่อง, ด้วยกัน, ติดตามด้วย)

สห” เมื่อไปประสมข้างหน้าคำอื่น ตัดคำเหลือเพียง “” มีความหมายว่า “พร้อมกับ-(สิ่งนั้น)” หรือ “มี-(สิ่งนั้น)” เช่น –

ชีว” (ชี-วะ) = ชีวิต

+ ชีว = สชีว แปลว่า “พร้อมกับชีวิต” “มีชีวิต” หมายถึง สิ่งมีชีวิต, สิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ตาย, สิ่งมีชีวิตที่ยังเป็นๆ อยู่ (ตรงข้ามกับ-ที่ตายแล้ว)

(๒) “” อ่านว่า อะ (ไม่ใช่ ออ) รูปคำเดิมคือ “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ –

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ)

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “เตกิจฉา” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น

(๓) “เตกิจฉา

เขียนแบบบาลีเป็น “เตกิจฺฉา” (มีจุดใต้ จฺ) อ่านว่า เต-กิด-ฉา รูปคำเดิมเป็น “ติกิจฺฉา” รากศัพท์มาจาก กิตฺ (ธาตุ = เยียวยา) + ปัจจัย, ซ้อน กิ ต้นธาตุแล้วแปลง ตัวหน้าเป็น (กิตฺ > กิกิตฺ > ติกิต), แปลง ตฺ ที่สุดธาตุเป็น จฺ (กิต > กิจฺ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กิต + = กิตฉ > กิกิตฉ > ติกิตฉ > ติกิจฺฉ > อา = ติกิจฺฉา แปลตามศัพท์ว่า “การเยียวยา” หมายถึง การรักษาโรค, การประกอบการแพทย์ (the art of healing, practice of medicine)

การประสมคำ :

+ ติกิจฺฉา แผลง อิ ที่ ติ– เป็น เอ

: + ติกิจฺฉา = สติกิจฺฉา > สเตกิจฺฉา แปลว่า “เป็นไปกับการเยียวยา” “มีการเยียวยา” หมายถึง ยังสามารถเยียวยารักษาได้ หรือยังสามารถแก้ไขได้, ให้อภัยได้ (curable; one who can be helped or pardoned, pardonable)

+ ติกิจฺฉา แปลง เป็น (อะ), แผลง อิ ที่ ติ– เป็น เอ

: + ติกิจฺฉา = นติกิจฺฉา > อติกิจฺฉา > อเตกิจฺฉา แปลว่า “ไม่มีการเยียวยา” หมายถึง เยียวยาไม่ได้, ไม่สามารถแก้ไขได้, ไม่อาจให้อภัยได้ (incurable, unpardonable)

ขยายความ :

สเตกิจฉา” และ “อเตกิจฉา” เป็นศัพท์วิชาการเกี่ยวกับพระวินัย ใช้เรียกการทำความผิดหรือ “ต้องอาบัติ” ที่มีน้ำหนักโทษหนักเบาต่างกันโดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือระดับ “สเตกิจฉา” และระดับ “อเตกิจฉา

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ไขความไว้ดังนี้ –

…………..

สเตกิจฉา : อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้ ได้แก่ อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา คือตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา; คู่กับ อเตกิจฉา

อเตกิจฉา : แก้ไขไม่ได้, เยียวยาไม่ได้ หมายถึงอาบัติมีโทษหนักถึงที่สุดต้องแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ อาบัติปาราชิก; คู่กับ สเตกิจฉา

…………..

คำว่า “สเตกิจฉา” และ “อเตกิจฉา” อาจนำไปใช้ในกรณีทั่วไปได้โดยปริยาย กล่าวคือ –

ปัญหาใดๆ กรณีใดๆ ที่ยังพอมีทางออก ยังพอหาทางช่วยกันเยียวยาแก้ไขได้ หรือผู้เป็นตัวกรณียินดีพอใจที่จะให้มีการแก้ไข ไม่ดื้อด้านดันทุรัง ปัญหานั้นๆ กรณีนั้นๆ ก็เรียกว่า “สเตกิจฉา” ยังพอแก้ไขได้

ถ้าเป็นอาการป่วยไข้ก็คือ ถ้าไม่รักษาอาจตาย แต่ถ้ารักษายังพอมีหวังหาย

ตรงกันข้าม ปัญหาใดๆ กรณีใดๆ ที่มืดมนหมดทางแก้ จะเป็นเพราะสภาพของปัญหาถูกปล่อยปละละเลยจนสุกงอมไม่อาจแก้ไขได้อีกแล้ว หรือผู้เป็นตัวกรณีดื้อด้านดันทุรังไม่ยอมให้ใครเข้ามาแตะต้อง ปัญหานั้นๆ กรณีนั้นๆ ก็เรียกว่า “อเตกิจฉา” หมดทางแก้ไข

ถ้าเป็นอาการป่วยไข้ก็คือ รักษาก็ตาย ก็ไม่รักษาก็ตาย

…………..

ดูก่อนภราดา!

การพระศาสนาในบ้านเรา

: ถ้าวันนี้ยังไม่คิดจะแก้ไข

: อย่าหวังว่าพรุ่งนี้จะเหลืออะไรไว้ให้แก้

#บาลีวันละคำ (2,628)

23-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย