บาลีวันละคำ

พุทธศิลป์ (บาลีวันละคำ 2,643)

พุทธศิลป์

คนไม่มีศิลป์ทำเพชรให้เป็นขยะ

คนมีศิลปะทำขยะให้เป็นเพชร

อ่านว่า พุด-ทะ-สิน

ประกอบด้วยคำว่า พุทธ + ศิลป์

(๑) “พุทธ

บาลีเขียน “พุทฺธ” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า พุด-ทะ รากศัพท์มาจาก พุธฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ, แปลง เป็น ธฺ (นัยหนึ่งว่า แปลง ธฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ทฺธ)

: พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺต > พุทฺธ (พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺธ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้ทุกอย่างที่ควรรู้

พุทฺธ” แปลตามศัพท์ได้เกือบ 20 ความหมาย แต่ที่เข้าใจกันทั่วไปมักแปลว่า –

(1) ผู้รู้ = รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง

(2) ผู้ตื่น = ตื่นจากกิเลสนิทรา ความหลับไหลงมงาย

(3) ผู้เบิกบาน = บริสุทธิ์ผ่องใสเต็มที่

ความหมายที่เข้าใจกันเป็นสามัญ หมายถึง “พระพุทธเจ้า

(๒) “ศิลป์

เป็นรูปคำสันสกฤต “ศิลฺป” บาลีเป็น “สิปฺป” (สิบ-ปะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สปฺปฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลง อิ อาคมต้นธาตุ (สปฺป > สิปฺป)

: สปฺป > สิปฺป + = สิปฺป แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องดำเนินไปแห่งชีวิต” = อาศัย “สิ่งนั้น” จึงเลี้ยงชีวิต คือทำชีวิตให้ดำเนินไปได้

(2) สิ (ธาตุ = เสพ) + ปัจจัย, ซ้อน ปฺ

: สิ + ปฺ + = สิปฺป แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ปรารถนาประโยชน์แห่งตนเสพอาศัย” = ถ้าต้องการประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องอาศัยศึกษาเรียนรู้ “สิ่งนั้น” จนทำได้ทำเป็น แล้วใช้สิ่งนั้นยังประโยชน์ให้เกิดตามต้องการ

สิปฺป” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ศิลปะ, แขนงของความรู้, การช่าง (art, branch of knowledge, craft)

สิปฺป ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น ศิลป

(ก) คำนี้ถ้าอยู่คำเดียว

– ต้องการให้อ่านว่า สิน-ละ-ปะ เขียนว่า “ศิลปะ” (ประวิสรรชนีย์ที่ )

– ต้องการให้อ่านว่า สิน เขียนว่า “ศิลป์” (การันต์ที่ )

– เขียนว่า “ศิลป” จะอ่านว่า สิน-ละ-ปะ ไม่ได้ อ่านว่า สิน ก็ไม่ได้

(ข) ถ้าสมาสกับคำอื่น อยู่ต้นหรือกลางคำ และอ่านว่า สิน-ละ-ปะ ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ที่ เช่น ศิลปศาสตร์ (สิน-ละ-ปะ-สาด) ไม่ใช่ ศิลปะศาสตร์

คำว่า สิปฺป > ศิลป หมายถึงอะไรได้บ้าง :

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สิปฺป” คำหนึ่งว่า art

พจนานุกรมสอ เสถบุตร แปล art ว่า วุฒิสามารถ, เล่ห์กระเท่ห์, อุบาย

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล art กลับเป็นบาลีว่า –

(1) sippa สิปฺป (สิบ-ปะ) = หลักความรู้

(2) kosalla โกสลฺล (โก-สัน-ละ) = ความฉลาด

(3) nepuñña เนปุญฺญ (เน-ปุน-ยะ) = ความจัดเจน

(4) cittakamma จิตฺตกมฺม (จิด-ตะ-กำ-มะ) = ภาพวาด, การวาดภาพ

(5) kalā กลา (กะ-ลา) = ชั้นเชิง > กล

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศิลป-, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : (คำนาม) ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์ เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น วิจิตรศิลป์ ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).”

สิปฺป” (สิบ-ปะ) ในบาลี หมายถึง ความรู้ความสามารถที่จะจัดจะทำอะไรๆ ได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นๆ จะเป็นอะไรก็ตาม ชั้นที่สุดเอาใบไม้มาเป่ากับปากให้เป็นเพลง ก็เรียกว่า “สิปฺป” หรือ “ศิลปะ” ได้เช่นกัน

พุทธ + ศิลป์ = พุทธศิลป์ เป็นคำที่บัญญัติขึ้นเมื่อกล่าวถึงศิลปะเกี่ยวกับพระพุทธปฏิมาในด้านต่างๆ เช่น พระอิริยาบถที่เรียกว่า “ปาง” ต่างๆ พุทธลักษณะคือรายละเอียดส่วนต่างๆ เช่น วงรูปพระพักตร์ ลักษณะพระกรรณ พระศก พระเกตุมาลา พระเพลา นิ้วพระหัตถ์ ตลอดจนลักษณะของสบงจีวรที่ทรงเป็นต้น ยุคสมัยที่สร้าง สกุลช่าง และวัสดุที่ใช้สร้าง เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นประติมากรรมหรือจิตรกรรม รวมเรียกว่า “พุทธศิลป์

ในวงกว้าง “พุทธศิลป์” อาจหมายรวมไปถึงสถาปัตยกรรมและวรรณกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอีกด้วย

คำว่า “พุทธศิลป์” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนโลภ ใช้พุทธศิลป์ได้เพียงแค่อุปกรณ์หาทรัพย์

: คนมีปัญญาถึงระดับ ใช้พุทธศิลป์เป็นอุปกรณ์ดำเนินถึงพระนฤพาน

#บาลีวันละคำ (2,643)

7-9-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย