บาลีวันละคำ

ปวารณา ไม่ใช่ “ปราวณา” (บาลีวันละคำ 2,711)

ปวารณา ไม่ใช่ “ปราวณา”

ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยได้ยินคนพูดคำว่า “ปวารณา” เป็น “ปราวณา” มาแล้ว และเคยเห็นมีคนเขียนคำนี้เป็น “ปราวนา” ด้วย

คำนี้สะกด ป-วา– (-วา แหวน)

ไม่ใช่ ป-รา– (-รา เรือ)

จำง่ายๆ ก็ได้ว่า ป-วาร– (-วา-ระ เช่น เรื่องนี้ควรเป็น “วาระแห่งชาติ”)

ไม่ใช่ ป-ราว– (เช่น ราวตากผ้า)

พยางค์ท้าย –รณาณา เณร

ไม่ใช่ –วนา ไม่ใช่ – เรือ ไม่ใช่ แหวน –ณา เณร ไม่ใช่ –นา หนู

รากศัพท์ของคำ “ปวารณา” มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า) + วรฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา, ห้าม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น , ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (วรฺ > วาร), + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: + วรฺ = ปวร + ยุ > อน = ปวรน > ปวารน > ปวารณ + อา = ปวารณา

ในสันสกฤต สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ปฺรวารณ” บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปฺรวารณ : (คำนาม) ‘ประวารณะ, ประวารณ์,’ ทานหรือของให้อันเปนที่พอใจ; การห้าม, การขัดขวาง, การต่อต้าน; a desirable gift; prohibition, objection, opposition.”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปวารณา” ไว้ดังนี้ –

(1) the Pavāraṇā, a ceremony at the termination of the Vassa (ปวารณา, พิธีกรรมที่กระทำในวันออกพรรษา)

(2) satisfaction (ความพอใจ)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของ “ปวารณา” ไว้ว่า –

1. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ

2. ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า วันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือนได้ (มีรายละเอียดต่อไปอีก)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปวารณา : (คำกริยา) ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความเต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).”

แถลง :

คำว่า “ปวารณา” กับ “ปราวนา” นี้ ได้เคยเขียนไว้ครั้งหนึ่งแล้ว (“ปราวนาตัวเองเป็นพุทธมามะกะ” บาลีวันละคำ (1,250) 31-10-58) ที่นำมาเขียนอีกครั้งหนึ่งก็เพราะเผอิญได้ยินคนพูดคำนี้ออกเสียงเป็น “ปราวนา” อย่างมั่นใจเต็มปากเต็มคำ และผู้พูดอยู่ในฐานะสูงอันผู้ใดจะไปทักท้วงมิได้

จึงนับเป็นศุภนิมิตว่า ชะรอยเทพยดาท่านประสงค์จะได้อ่านคำนี้อีกครั้งกระมัง

สรุปหลักความรู้ในคำนี้ก็คือ –

๑ “ปวารณา” ไม่ใช่ “ปราวนา”

๒ “ปราวนา” ไม่มีในภาษาบาลี (โดยเฉพาะ “ปราวนา” ที่หมายถึง “ปวารณา” ยิ่งไม่มีเด็ดขาด)

๓ ถ้าไม่แน่ใจ หรือยังหลับตามองไม่เห็นตัวสะกดที่ถูกต้อง อย่าพูดหรือเขียนคำนี้ออกไป-ปลอดภัยที่สุด

๔ “ปวารณา” มีความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) ออกปากยอมให้ขอ คือต้องการอะไรหรือจะให้ช่วยอะไร ก็บอกมา ยินดีจัดให้

(2) ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา เรียกว่า “วันมหาปวารณา” สาระสำคัญก็คือ เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้-ถ้ารู้เห็นหรือแม้แต่สงสัยว่าภิกษุที่อยู่ด้วยกันทำอะไรผิดไป

ตามหลักความรู้ดังกล่าว แม้วันนี้หรือช่วงเวลานี้จะไม่ใช่วันมหาปวารณา แต่ก็ไม่มีข้อขัดข้องที่เราจะหาความรู้จากคำนี้ไม่ได้

ไม่ใช่พูดเรื่อง “ปวารณา” กันวันเดียว แล้วก็ลืมไปตลอดปี หรือบางที-ตลอดชีวิต

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เพื่อนแท้

: ไม่รอให้เพื่อนออกปาก

#บาลีวันละคำ (2,711)

14-11-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย