บาลีวันละคำ

หตฺถิยุทฺธ – ยุทธหัตถี (บาลีวันละคำ 2,776)

หตฺถิยุทฺธยุทธหัตถี

ไทยก็มี บาลีก็มี

หตฺถิยุทฺธ” เป็นคำบาลี อ่านว่า หัด-ถิ-ยุด-ทะ ประกอบด้วยคำว่า หตฺถิ + ยุทฺธ

(๑) “หตฺถิ

รูปคำเดิมของบาลีเป็น “หตฺถี” (หัด-ถี) รากศัพท์มาจาก หตฺถ + อี ปัจจัย

(ก) “หตฺถ” (หัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) หสฺ (ธาตุ = ร่าเริง) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (หสฺ > หตฺ)

: หสฺ + = หสฺถ > หตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องเล่นสนุก” (เช่นใช้ปรบ ฟ้อนรำ) = มือ “อวัยวะเป็นที่เล่นสนุก” = ศอก

(2) หนฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, แปลง นฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (หนฺ > หตฺ)

: หนฺ + = หนฺถ > หตฺถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะเป็นเครื่องเบียดเบียนอวัยวะอื่น” (เช่นเกา ตบตี) = มือ (2) “เป็นที่ไปถึงแห่งอวัยวะทั้งหลาย” (หมายถึงมือเอื้อมถึง) = มวยผม

(3) หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (หรฺ > หตฺ)

: หรฺ + = หรฺถ > หตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องนำของไป” = มือ

(4) หตฺถ (มือ) + ปัจจัย, ลบ

: หตฺถ + = หตฺถณ > หตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่เหมือนมือเพราะทำหน้าที่มือให้สำเร็จประโยชน์ได้” = งวงช้าง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “หตฺถ” ดังนี้ –

(1) hand (มือ)

(2) the hand as measure, a cubit (มือในฐานเป็นเครื่องวัด, ระยะหนึ่งศอก)

(3) a handful, a tuft of hair (เต็มมือ, ปอยผม)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

หัตถ-, หัตถ์ : (คำนาม) มือ; ศอกหนึ่ง; งวงช้าง. (ป.; ส. หสฺต).”

(ข) หตฺถ + อี ปัจจัย

: หตฺถ + อี = หตฺถี แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่มีมือ” “สัตว์ที่ประกอบด้วยมือ” หมายถึง ช้าง (an elephant)

(๒) “ยุทฺธ

อ่านว่า ยุด-ทะ (มีจุดใต้ ทฺ) รากศัพท์มาจาก ยุธฺ (ธาตุ = รบ, ต่อสู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺต เป็น ทฺธ

: ยุธฺ + = ยุธฺต (ธฺต > ทฺธ) = ยุทฺธ แปลตามศัพท์ว่า “การต่อสู้กัน” หมายถึง สงคราม, การรบ, การต่อสู้ (war, battle, fight)

ในภาษาไทยเขียนเป็น “ยุทธ” (ไม่มีจุดใต้ ) มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า ยุด-ทะ- อยู่ท้ายคำ อ่านว่า ยุด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ยุทธ-, ยุทธ์ : (คำนาม) สงคราม, การรบพุ่ง. (ป., ส.).”

หตฺถี + ยุทฺธ รัสสะ อี ที่ –ถี เป็น อิ เพราะมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย (หตฺถี > หตฺถิ-)

: หตฺถี + ยุทฺธ = หตฺถียุทฺธ > หตฺถิยุทฺธ แปลตามศัพท์ว่า “การรบกันแห่งช้าง” (ช้างกับช้างชนกัน) หรือ “การรบกันด้วยช้าง” (คนขี่ช้างสู้กัน)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “หตฺถิยุทฺธ” ว่า combat of elephants (as a theatrical show) (การต่อสู้ด้วยช้าง [เป็นการแสดงการละเล่น])

หตฺถิยุทฺธ” ในบาลีหมายถึงการแสดงหรือการละเล่นก็มี หมายถึงการรบก้นจริงๆ ก็มี

หตฺถิยุทฺธ” ในบาลี เราเอามาใช้ในภาษาไทยเป็น “ยุทธหัตถี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ยุทธหัตถี : (คำนาม) การต่อสู้กันด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นวิธีการรบอย่างกษัตริย์ในสมัยโบราณ เช่น พระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา, การชนช้าง ก็ว่า.”

ดูเพิ่มเติม:

ยุทธหัตถี” บาลีวันละคำ (975) 18-1-58 975

หัสดีรณเรศ” บาลีวันละคำ (2,046) 18-1-61

———-

เมื่อวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงได้รับชัยชนะจากการกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี

วันที่เกิดเหตุการณ์ “ยุทธหัตถี” นี้ตามการคำนวณทางสุริยคติ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2135

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แพ้ด้วยวิธีสู้กันซึ่งหน้า

: มีเกียรติกว่าชนะด้วยวิธีลอบกัด

#บาลีวันละคำ (2,776)

18-1-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *