บาลีวันละคำ

นิพพานะปัจจะโย โหตุ (บาลีวันละคำ 2,783)

นิพพานะปัจจะโย โหตุ

นิพพานะปัจจะโย โหตุ” เขียนแบบคำอ่าน

ถ้าเขียนตามอักขรวิธีที่เขียนภาษาบาลีเป็นอักษรไทยในปัจจุบัน ก็เขียนเป็น “นิพฺพานปจฺจโย โหตุ

เขียนแบบบาลี “นิพฺพานปจฺจโย โหตุ

เขียนแบบคำอ่าน “นิพพานะปัจจะโย โหตุ

อ่านว่า นิบ-พา-นะ-ปัด-จะ-โย โห-ตุ

มีคำที่ควรรู้ 3 คำ คือ “นิพฺพาน” “ปจฺจโย” และ “โหตุ

(๑) “นิพฺพาน

เขียนแบบบาลี (มีจุดใต้ พฺ ตัวหน้า) อ่านว่า นิบ-พา-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) นิ (คำอุปสรรค = ไม่มี, ออก) + วาน (ตัณหา, เครื่องร้อยรัด), แปลง เป็น , ซ้อน พฺ ระหว่างอุปสรรคและบทหลัง

: นิ + วาน = นิวาน > นิพาน : นิ + พฺ + พาน = นิพฺพาน แปลตามศัพท์ว่า “สภาวธรรมที่ออกพ้นจากตัณหาที่เรียกว่า วานะ

(2) นิ (คำอุปสรรค = ไม่มี, ออก) + วา (ธาตุ = ดับ, สงบ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ซ้อน วฺ ระหว่างอุปสรรคและธาตุ (นิ + + วา), แปลง วฺว (คือ ที่ซ้อนเข้ามาและ ที่เป็นธาตุ) เป็น พฺพ

: นิ + + วา = นิววา + ยุ > อน = นิววาน > นิพฺพาน แปลตามศัพท์ว่า “สภาวธรรมเป็นเหตุดับไปแห่งไฟราคะเป็นต้น

(3) (คำนิบาต = ไม่, ไม่มี) + วาน (ตัณหา, เครื่องร้อยรัด), แปลง อะ ที่ เป็น อิ ( > นิ), แปลง ที่ วาน เป็น , ซ้อน พฺ ระหว่างนิบาตและบทหลัง

: + วาน = นวาน > นิวาน > นิพาน : นิ + พฺ + พาน = นิพฺพาน แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะธรรมเป็นที่ไม่มีตัณหา หรือสภาวธรรมที่เมื่อบุคคลได้บรรลุแล้วย่อมไม่มีตัณหา

นิพฺพาน” (นปุงสกลิงค์) มีความหมายดังนี้ –

(1) การดับของตะเกียงหรือไฟ (the going out of a lamp or fire)

(2) อนามัย, ความรู้สึกว่าร่างกายมีความผาสุกสวัสดี (health, the sense of bodily well-being)

(3) การดับไฟทางใจ 3 กอง คือ ราค, โทส และ โมห (The dying out in the heart of the threefold fire of rāga, dosa & moha: ความกำหนัด, ความโกรธ และความหลง lust, ill-will & stupidity)

(4) ความรู้สึกมีสุขภาพในด้านดี, ความมั่นคง, ความถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ, ชัยชนะและความสงบ, ความพ้นจากอบายมุข, ความสุขสำราญ (the sense of spiritual well-being, of security, emancipation, victory and peace, salvation, bliss)

นิพฺพาน” ในภาษาไทยเขียนเป็น “นิพพาน” (ไม่มีจุดใต้ ตัวหน้า)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

นิพพาน : การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิพพาน : (คำนาม) ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. (คำกริยา) ดับกิเลสและกองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).”

(๒) “ปจฺจโย

อ่านว่า ปัด-จะ-โย รูปคำเดิมเป็น “ปจฺจย” (ปัด-จะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก ปฏิ หรือ ปติ (คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ปฏิ เป็น ปจฺจ หรืออีกนัยหนึ่ง แปลง อิ ที่ ปติ เป็น , แปลง ตย (คือ ปตย) เป็น ปจฺจ, แปลง อิ ธาตุเป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ปฏิ > ปจฺจ (ปติ > ปตย > ปจฺจ) + อิ > เอ > อย : ปจฺจ + อย + = ปจฺจย

พิสูจน์การกลายรูปและเสียง :

ลองออกเสียง ปะ-ติ-อะ-ยะ (ปฏิ + อิ) ทีละพยางค์ช้าๆ แล้วเพิ่มความเร็วขึ้นทีละน้อยจนเร็วที่สุด ปะ-ติ-อะ-ยะ จะกลายเสียงเป็น ปัด-จะ-ยะ ได้ การกลายรูปจึงมาจากธรรมชาติของการกลายเสียงนั่นเอง

ปจฺจย” (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เหตุเป็นแดนอาศัยเป็นไปแห่งผล” “เหตุเป็นเครื่องเป็นไปแห่งผล” มีความหมายว่า –

(1) อาศัย, หันไปพึ่ง, รากฐาน, เหตุ, สาเหตุ (resting on, falling back on, foundation, cause, motive)

(2) สิ่งสนับสนุน, ของที่จำเป็น, ปัจจัย, วิถีทาง, เครื่องค้ำจุน (support, requisite, means, stay)

(3) เหตุผล, วิธี, เงื่อนไข (reason, ground, condition)

(4) เหตุผลสำหรับ, ความเชื่อ, ความมั่นใจ, ความเชื่อมั่น, การเชื่อถือหรืออาศัย (ground for, belief, confidence, trust, reliance)

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปคือ ปัจจัย, เหตุ, สาเหตุ, ที่พึ่ง, ความช่วยเหลือ ฯลฯ

ปจฺจย” ภาษาไทยใช้ว่า “ปัจจัย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คํา “ปัจจัย” กับ คํา “เหตุ” มักใช้แทนกันได้.

(2) เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร).

(3) (คำที่ใช้ในไวยากรณ์) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).

(๓) “โหตุ

เป็นคำกริยา (ปฐมบุรุษ [ = ผู้ที่ถูกพูดถึง], เอกพจน์) มาจาก หุ (ธาตุ = มี, เป็น) + ตุ วิภัตติอาขยาต แผลง อุ ที่ หุ เป็น โอ (หุ > โห)

: หุ > โห + ตุ = โหตุ แปลว่า “จงเป็น

โปรดสังเกต:

กรณีที่ประธานเป็นเอกพจน์ กริยาเป็น “โหตุ

ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ โหตุ ต้องเปลี่ยนรูปเป็น “โหนฺตุ

(เอกพจน์ :-ตุ, พหูพจน์ :-นฺตุ, สูตรสั้นๆ : “ตุอันตุ”)

บททดสอบ : ทำไมจึงเป็น “โหตุ” บ้าง “โหนฺตุ” บ้าง –

อิทํ เม ญาตินํ โหตุ

สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย.

(คำกรวดน้ำอย่างย่อ)

ประกอบคำเข้าเป็นประโยค :

นิพฺพาน + ปจฺจย = นิพฺพานปจฺจย (นิบ-พา-นะ-ปัด-จะ-ยะ) แปลว่า “ปัจจัยแห่งพระนิพพาน” “ปัจจัยแก่พระนิพพาน” หมายถึง เหตุหรือองค์ประกอบที่ทำให้บรรลุพระนิพพาน

๒ “นิพฺพานปจฺจย” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “นิพฺพานปจฺจโย” (นิบ-พา-นะ-ปัด-จะ-โย)

โปรดสังเกตว่า “นิพฺพาน” กับ“ปจฺจย” ซึ่งแต่เดิมเป็นคนละคำกัน บัดนี้ได้สมาสเป็นคำเดียวกันแล้ว จึงต้องเขียนติดกันเป็นคำเดียวกัน คือเขียนเป็น “นิพฺพานปจฺจย

ไม่ใช่ “นิพฺพาน  ปจฺจย” (นิพฺพาน / ปจฺจย)

นิพฺพานปจฺจโย” จึงต้องเขียนติดกันเป็นคำเดียวกัน

เขียนแบบบาลี “นิพฺพานปจฺจโย

เขียนแบบคำอ่าน “นิพพานปัจจะโย” (ไม่มีจุดใต้ และใต้ )

ไม่ใช่ “นิพฺพาน  ปจฺจโย” (นิพฺพาน -เว้นวรรค- ปจฺจโย ผิด)

ไม่ใช่ “นิพพานะ  ปัจจะโย” (นิพพานะ -เว้นวรรค- ปัจจะโย ผิด)

๓ เอาคำกริยา “โหตุ” มาประกอบเข้าข้างท้ายเป็นรูปประโยค

เขียนแบบบาลี “นิพฺพานปจฺจโย  โหตุ

เขียนแบบคำอ่าน “นิพพานปัจจะโย  โหตุ

โปรดสังเกตว่า “โหตุ” เขียนแยกเป็นอีกคำหนึ่ง เป็นคนละคำกัน

๔ ภาษาบาลีเขียนแยกเป็นคำๆ แบบเดียวกับภาษาอังกฤษ

ถ้าเขียนติดกัน ก็ไม่เป็นภาษา

Longlivetheking

ทีฆายุโกโหตุมหาราชา

ถ้าแยกคำไม่ถูกต้อง ก็อ่านไม่ได้ความ

Lon gli vet hek ing

ที  ฆายุ  โกโห  ตุม  หารา  ชา

ทีฆายุโกโหตุ / มหาราชาผิด

ทีฆายุโก / โหตุมหาราชาผิด

แยกคำถูกต้อง จึงอ่านได้ความ

ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา

Long live the king

ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา” ฉันใด

นิพฺพานปจฺจโย  โหตุ” ก็ฉันนั้น

คำแปล :

นิพฺพานปจฺจโย โหตุ” (นิพพานปัจจะโย  โหตุ) แปลว่า “จงเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน

หมายความว่า ขอความดีหรือบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญนี้จงเป็นเหตุสนับสนุนให้ได้บรรลุถึงพระนิพพาน

เป็นประโยคภาษาบาลีที่ติดปากคนไทยทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นเก่า เมื่อทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งและกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญเสร็จแล้ว ก็จะกล่าวข้อความนี้เป็นการอธิษฐาน หรือตั้งความปรารถนา

ข้อความเต็มๆ ที่เคยได้ยินกล่าวกัน มีว่า –

นิพฺพานปจฺจโย  โหตุ  เม  อนาคเต  กาเล

มีความหมายว่า ขอความดีที่ได้บำเพ็ญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าบรรลุพระนิพพานในอนาคตกาลโน้นเทอญ

เป็นการตั้งความปรารถนาที่สูงส่ง ตรงเป้าหมายของพระพุทธศาสนา และถือว่าเป็นอุดมคติของชาวพุทธที่ทำความดีเพื่อผลสูงสุดนี้ ผลอื่นๆ เป็นเรื่องรองลงมา

โปรดสังเกตว่า แม้จะปรารถนาสิ่งสูงสุด แต่ก็มิใช่ในชาติปัจจุบัน หากแต่ “ในอนาคตกาลโน้นเทอญ” เป็นการตั้งความปรารถนาแบบเจียมตัวและรู้ประมาณศักยภาพของตัวเอง แต่กระนั้นก็ไม่ละทิ้งความพยายาม ด้วยตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจน

สำหรับผู้ที่เชื่อว่าตนสามารถบรรลุพระนิพพานได้ในชาตินี้ คือบรรลุก่อนจะตายในชาตินี้ หรือเข้าใจว่านิพพานบรรลุได้ทุกขณะที่จิตว่างจากกิเลส คำตั้งความปรารถนานี้ คำว่า “อนาคเต  กาเล” ก็ไม่ได้ขัดแย้งหรือขัดข้องแต่ประการใด เพราะขณะจิตต่อจากที่กำลังตั้งความปรารถนา ก็ยังเป็น “อนาคต” อยู่นั่นเอง

คำร้องขอ :

ทุกครั้งที่พูดหรือเขียนคำบาลี ให้ถามตัวเองไปพร้อมๆ กันว่า คำที่เราพูดหรือเขียนลงไปนี้ถูกต้องแน่แล้วหรือ

โดยเฉพาะการเขียนเพื่อเผยแพร่เป็นสาธารณะ ซึ่งจะมีคนเห็นได้ทั่วไปและปรากฏอยู่ได้นาน โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่า การสะกดคำและการแบ่งวรรคถูกต้องแน่แล้ว

ถ้าสงสัยหรือไม่แน่ใจ โปรดตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือสอบถามบุคคลที่เชื่อถือได้

นึกถึงใครไม่ออก

บอกผู้เขียนบาลีวันละคำ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จงยอมเสียเวลาทั้งชีวิต

เพื่อทำสิ่งที่ถูกต้องแม้เรื่องเดียว

: แต่อย่ายอมเสียเวลาแม้แต่นิดเดียว

เพื่อทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องไปทั้งชีวิต

#บาลีวันละคำ (2,783)

25-1-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย