บาลีวันละคำ

อะมิตาพะพุด ไม่ใช่ อะมิดตะพุด (บาลีวันละคำ 2,807)

อะมิตาพะพุด ไม่ใช่ อะมิดตะพุด

เวลานี้คนไทยออกเสียงเรียกพระนามพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งผิดเพี้ยนเป็นอันมาก

พระนามที่ถูกต้อง ออกเสียงว่า อะ-มิ-ตา-พะ-พุด

แต่คนส่วนมากเรียกเป็น อะ-มิด-ตะ-พุด

อะมิตาพะพุด กับ อะมิดตะพุด เมื่อเขียนเป็นคำบาลีตามอักขรวิธีที่ถูกต้อง รูปคำจะต่างกัน และความหมายก็ต่างกัน

(๑) “อะมิตาพะพุด” เขียนเป็นคำไทยว่า “อมิตาภพุทธ” เขียนแบบบาลีเป็น “อมิตาภพุทฺธ” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า อะ-มิ-ตา-พะ-พุด-ทะ แยกคำเป็น + มิต + อาภา + พุทฺธ

(ก) “” (อะ) แปลงมาจาก “” (นะ) แปลว่า ไม่, ไม่ใช่

เมื่อประสมกับคำอื่น มีกฎว่า

– ถ้าคำนั้นขึ้นต้นด้วยสระ ต้องแปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

– ถ้าคำนั้นขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ต้องแปลง “” เป็น “

ในที่นี้ + มิต (มิ– เป็นพยัญชนะ) จึงต้องแปลง เป็น

(ข) “มิต” (มิ-ตะ) แปลว่า “สิ่งที่ถูกนับนับแล้ว, นับได้

: + มิต = นมิต > อมิต แปลว่า “นับไม่ได้” หรือ “ไม่มีประมาณ

(ค) “อาภา” แปลว่า แสงสว่าง, การส่องแสง, ความงดงาม, ความรุ่งโรจน์

: อมิต + อาภา = อมิตาภา แปลว่า “แสงส่องสว่างที่นับไม่ได้” หรือ “แสงส่องสว่างที่ไม่มีประมาณ

อมิตาภา + พุทฺธ (พระพุทธเจ้า) ใช้สูตร “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ –ภา (อมิตาภา > อมิตาภ)

: อมิตาภา + พุทฺธ = อมิตาภาพุทฺธ > อมิตาภพุทฺธ (อะ-มิ-ตา-พะ-พุด-ทะ) เขียนแบบไทยเป็น “อมิตาภพุทธ” (ไม่มีจุดใต้ ) อ่านว่า อะ-มิ-ตา-พะ-พุด แปลว่า “พระพุทธเจ้าผู้มีแสงส่องสว่างที่นับไม่ได้” หรือ “พระพุทธเจ้าผู้มีแสงส่องสว่างไม่มีประมาณ” = สุดความสามารถที่จะบอกได้ว่ารุ่งโรจน์งดงามปานไร

(๒) “อะมิดตะพุด” เขียนเป็นคำไทยว่า “อมิตตพุทธ” เขียนแบบบาลีเป็น อมิตฺตพุทฺธ” อ่านว่า อะ-มิด-ตะ-พุด-ทะ แยกคำเป็น + มิตฺต + พุทฺธ

(ก) “” (อะ) แปลงมาจาก “” (นะ) แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (ดูกฎข้างต้น)

(ข) “มิตฺต” บาลีอ่านว่า มิด-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) มิทฺ (ธาตุ = รักใคร่, ผูก) + ปัจจัย, แปลง ทฺ ที่ (มิ)-ทฺ เป็น ตฺ (มิทฺ > มิต)

: มิทฺ + = มิทต > มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้รักใคร่กัน” (คือต่างคนต่างรู้สึกรักใคร่มีไมตรีต่อกัน) (2) “ผู้ผูกคนอื่นไว้ในตน” (คือมีลักษณะชวนให้คนอื่นรักโดยที่เจ้าตัวอาจจะยังไม่ทันได้รู้จักผู้ที่มารักตนนั่นเลยด้วยซ้ำ)

(2) มิ (ธาตุ = ใส่เข้า) + ปัจจัย, ซ้อน

: มิ + ตฺ + = มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ควรแก่การที่จะใส่ความลับเข้าไป” (คือคนที่เพื่อนสามารถบอกความลับให้รู้ได้ทุกเรื่อง) (2) “ผู้ใส่เข้าข้างใน” (คือคนที่เก็บความลับของเพื่อนไว้ได้)

มิตฺต” (ปุงลิงค์) หมายถึง เพื่อน (friend) บางครั้งใช้เป็นนปุงสกลิงค์ หมายถึง “ความเป็นเพื่อน” (friendship)

: + มิตฺต = นมิตฺต > อมิตฺต แปลว่า “ผู้มิใช่มิตร” หรือทับศัพท์ว่า “อมิตร” คือ ศัตรู

: อมิตฺต + พุทฺธ = อมิตฺตพุทฺธ (อะ-มิด-ตะ-พุด-ทะ) เขียนแบบไทยเป็น “อมิตตพุทธ” (ไม่มีจุดใต้ และ ) อ่านว่า อะ-มิด-ตะ-พุด แปลว่า “พระพุทธเจ้าผู้ไม่เป็นมิตรกับมาร” (จึงทรงชนะมารแล้วได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

…………..

ถามว่า เมื่อรู้ความหมายเช่นนี้แล้ว ผู้เรียกพระนามพระพุทธเจ้าประเภทนี้ตั้งเจตนาจะเรียกพระนามไหน “พระพุทธเจ้าผู้มีแสงส่องสว่างไม่มีประมาณ” หรือ“พระพุทธเจ้าผู้ไม่เป็นมิตรกับมาร

ถ้าตั้งใจจะหมายถึง “พระพุทธเจ้าผู้มีแสงส่องสว่างไม่มีประมาณ” ก็จงเรียกว่า อะ-มิ-ตา-พะ-พุด นั่นคือ “อมิตาภพุทธ

ถ้าตั้งใจจะหมายถึง “พระพุทธเจ้าผู้ไม่เป็นมิตรกับมาร” ก็จงเรียกว่า อะ-มิด-ตะ-พุด นั่นคือ “อมิตตพุทธ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนคำ

: ก็จำต้องเปลี่ยนความ

(จาก อมิตาภพุทธ = “พระพุทธเจ้าผู้มีแสงส่องสว่างไม่มีประมาณ” เป็น อมิตตพุทธ = “พระพุทธเจ้าผู้ไม่เป็นมิตรกับมาร”)

: แต่ถ้าไม่อยากเปลี่ยนความ

: ก็จงพยายามเปลี่ยนคำ

(จาก อะ-มิด-ตะ-พุด เป็น อะ-มิ-ตา-พะ-พุด)

ใจหมายถึง “พระพุทธเจ้าผู้มีแสงส่องสว่างไม่มีประมาณ” (อมิตาภพุทธ)

แต่ปากเรียกว่า อะ-มิด-ตะ-พุด (อมิตตพุทธ)

แปลว่าปากกับใจไม่ตรงกัน

#บาลีวันละคำ (2,807)

18-2-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย