บาลีวันละคำ

พิรุณศาสตร์ (บาลีวันละคำ 2,835)

พิรุณศาสตร์

หลักวิชาว่าด้วยฝน

อ่านตามหลักภาษาว่า พิ-รุน-นะ-สาด

อ่านตามสะดวกปากว่า พิ-รุน-สาด

ประกอบด้วยคำว่า พิรุณ + ศาสตร์

(๑) “พิรุณ

บาลีเป็น “วรุณ” (วะ-รุ-นะ) รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ว่า “นาค” = นาค, ช้าง) + รุ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปล เป็น

: + รุ = วรุ + ยุ > อน = วรุน > วรุณ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เบียดเบียนนาค” (คือทำให้นาคต้องพ่นน้ำ) หมายถึง ฝน, ห่าฝน (rain, shower); เทพเจ้าแห่งฝน (the deity of the rain)

บาลี “วรุณ” สันสกฤตก็เป็น “วรุณ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

วรุณ : (คำนาม) เจ้าน้ำและศาสตฤประจำทิศตวันตก; น้ำหรือสมุทร์; นามพระอาทิตย์; the deity of the water and regent of the west; water or the ocean; a name of the sun.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วรุณ : (คำนาม) พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.).”

ในที่นี้ ภาษาไทยแผลง “วรุณ” เป็น “พิรุณ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิรุณ : (คำนาม) ฝน; ชื่อเทวดาแห่งนํ้า เทวดาแห่งฝน เรียกว่า พระพิรุณ. (ป., ส. วรุณ).”

(๒) “ศาสตร์

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “สตฺถ” (สัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่ (ส)-สฺ เป็น ตฺ

: สสฺ + = สสฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุเป็นเครื่องเบียดเบียนสัตว์” คำเดิมหมายถึง “ของมีคม” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “ศสฺตฺร” แปลว่า ดาบ, มีด, อาวุธ ใช้ในภาษาไทยว่า ศัสตรา หรือ ศาสตรา บางทีก็พูดควบกันว่า ศาสตราวุธ หรือ ศาสตราอาวุธ (weapon, sword, knife)

(2) สรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย แปลง รฺ เป็น ตฺ

: สรฺ + = สรฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “หมู่เป็นที่เป็นไปแห่งส่วนย่อยทั้งหลาย” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “สารฺถ” หมายถึง กองเกวียนของพ่อค้า, กองคาราวาน, ขบวนยานพาหนะ (caravan)

(3) สาสฺ (ธาตุ = สอน) + ปัจจัย, รัสสะ (หดเสียง) อา ที่ สา-(สฺ) เป็น อะ (สาสฺ > สสฺ), แปลง สฺ เป็น ตฺ

: สาสฺ + = สาสฺถ > สสฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องสอนเนื้อความ” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “ศาสฺตฺร” หมายถึง คัมภีร์, ตำรา, ศิลปะ, วิชาความรู้ (science, art, lore)

ในที่นี้หมายถึง “วิชาความรู้” ตามบาลี “สตฺถ” ในข้อ (3) ความหมายนี้สันสกฤตเป็น “ศาสฺตฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศาสฺตฺร : (คำนาม) ‘ศาสตร์’ คำสั่งหรือบัญชา; เวท, วิทยา, ธรรมศาสตร์, กฎหมาย; หนังสือทั่วไป; an order or command; scripture or Veda, science, institutes of religion, law; a book in general.”

ความหมายนี้ในภาษาไทยสะกดเป็น “ศาสตร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศาสตร-, ศาสตร์ : (คำนาม) ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์. (ส.).”

พิรุณ + ศาสตร์ = พิรุณศาสตร์ แปลว่า “หลักวิชาว่าด้วยฝน

ขยายความ :

คำว่า “พิรุณศาสตร์” มีปรากฏในข้อความประกาศสงกรานต์

ขอนำข้อความในประกาศสงกรานต์ พุทธศักราช 2563 มาเสนอเป็นข้อมูล ดังนี้ –

…………..

ประกาศสงกรานต์

พุทธศักราช 2563 จุลศักราช 1382 รัตนโกสินทรศก 239 ปีชวด โทศก จันทรคติเป็น ปกติมาส อธิกวาร สุริยคติเป็นอธิกสุรทิน

วันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันจันทร์ที่ 13 เมษายน เวลา 21 นาฬิกา 27 นาที 0 วินาที จันทรคติตรงกับวันจันทร์ แรม ๖ ค่ำ เดือนห้า (๕) ปีชวด นางสงกรานต์นามว่า นางโคราคะเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกปีบ (กาสะลอง) อาภรณ์แก้วมุกดาหาร ภักษาหารน้ำมัน พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังพยัคฆ์ (เสือ) เป็นพาหนะ

เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ ศุกร์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า

เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีมิถุน ชื่อวาโย (ธาตุลม) น้ำพอประมาณ พายุจัด

เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีนี้ นาคราชให้น้ำ 1 ตัว ทำนายว่า ฝนทราม

เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในไร่นาจะได้ 1 ส่วน เสีย 10 ส่วน คนทั้งหลายจะตกทุกข์ได้ยากลำบากแค้น เพราะกันดารอาหารบ้าง จะฉิบหายเป็นอันมากแล ฯ

วันเถลิงศก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน เวลา 1 นาฬิกา 24 นาที 36 วินาที จันทรคติตรงกับวันพุธ แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า (๕) ปีชวด

คำทำนาย

วันจันทร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย, วันอังคาร เป็นวันเนา หมากพลู ข้าวปลาจะแพง จะแพ้อำมาตย์มนตรีทั้งปวง, วันพุธ เป็นวันเถลิงศก ราชบัณฑิต ปุโรหิตโหราจารย์ จะมีสุขสำราญเป็นอันมากแล ฯ, นางสงกรานต์ ไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข

หมายเหตุ: โปรดตรวจสอบก่อนนำไปอ้างอิง

…………..

ปีพุทธศักราช 2563 ประกาศสงกรานต์บอกว่า “เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ ศุกร์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า”

คำว่า “พิรุณศาสตร์” ยังไม่ได้เก็บไว้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ฝนตกกี่ห่าเป็นหลักวิชาพิรุณศาสตร์

: เวียนว่ายตายเกิดอีกกี่ชาติ ต้องใช้หลักวิชาของพระพุทธองค์

#บาลีวันละคำ (2,835)

17-3-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย