บาลีวันละคำ

คาถา (บาลีวันละคำ 44)

คาถา

อ่านตรงตัวว่า คา-ถา

ในภาษาบาลี คำว่า “คาถา” หมายถึงคําประพันธ์ประเภท “ร้อยกรอง” อย่างที่ภาษาไทยเรียกว่า กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์

คาถาบทหนึ่งจะมี 4 บาท หรือ 4 วรรค จำนวนคำแต่ละวรรคและตำแหน่งคำภายในวรรคที่จะต้องใช้เสียงสั้น-ยาว หนัก-เบา เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของคาถาแต่ละชนิด ทำนองเดียวกับกาพย์กลอนของไทยที่กำหนดว่าคำไหนต้องสัมผัสกับคำไหน

คาถา ในความหมายว่า “ร้อยกรอง” นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ฉันท์

ตัวอย่างคาถาหรือฉันท์ 1 บท ในภาษาบาลี เช่น –

อาโรคฺยปรมา  ลาภา

สนฺตุฏฺฐีปรมํ  ธนํ

วิสฺสาสปรมา  ญาติ  

นิพฺพานปรมํ  สุขํ.

ในภาษาไทย คำว่า “คาถา” มักเข้าใจกันว่า เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้เสกเป่าหรือร่ายมนต์ขลังให้เกิดเป็นอิทธิฤทธิ์บันดาลผลที่ต้องการ อย่างที่เรียกว่า “คาถาอาคม” เช่นพูดว่า “เสกคาถา

: ในพระพุทธศาสนา (ที่ถูกต้อง) ไม่มีคาถาที่จะเสกเป่าดลบันดาลผลที่ต้องการ นอกจากต้องลงมือทำเอาเอง

บาลีวันละคำ (44)

16-6-55

ห้องพระ

7-9-55

ข้อมูล

คาถา ๑

  น. คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.

คาถา ๒, คาถาอาคม

  น. คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.

คาถา 1. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี ตรงข้ามกับ จุณณิยบท

        คาถาหนึ่งๆ มี ๔ บาท เช่น

        อาโรคฺยปรมา ลาภา    สนฺตุฏฺฐีปรมํ ธนํ

        วิสฺสาสปรมา ญาติ      นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ

2. พุทธพจน์ที่เป็นคาถา (ข้อ ๔ ในนวังคสัตถุศาสน์) เทียบไวยากรณ์ 2.

3. ในภาษาไทย บางทีใช้ในความหมายว่า คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ อย่างที่เรียกว่า คาถาอาคม

ฉันท- ๑, ฉันท์ ๑

  [ฉันทะ-] น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคํา ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. (ป.).

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย