บาลีวันละคำ

อนรรฆ (บาลีวันละคำ 3,000)

อนรรฆ

คำที่มีค่า

อ่านว่า อะ-นัก

อนรรฆ” เขียนแบบบาลีเป็น “อนคฺฆ” อ่านว่า อะ-นัก-คะ ประกอบขึ้นจาก + อคฺฆ

(๑) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ –

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ)

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “อคฺฆ” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ – จึงแปลง เป็น อน

(๒) “อคฺฆ” อ่านว่า อัก-คะ รากศัพท์มาจาก อคฺฆฺ (ธาตุ = มีค่า; บูชา) + (อะ) ปัจจัย

: อคฺฆฺ + = อคฺฆ

อคฺฆ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่มีค่า” (ปุงลิงค์) หมายถึง ราคา, ค่า, มูลค่า (price, value, worth)

(2) แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องบูชา” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ของที่ให้แขก (an oblation made to a guest)

บาลี “อคฺฆ” สันสกฤตเป็น “อรฺฆ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อรฺฆ : (คำนาม) ราคา; วิธีบูชา; cost or price; mode of worship; – (สกรรมกริยา) มีราคา, เปนราคา, มีมูลค่า; be cost, to be worth.”

+ อคฺฆ แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

: > อน + อคฺฆ = อนคฺฆ (อะ-นัก-คะ) (นปุงสกลิงค์; คุณศัพท์) แปลว่า “หาค่ามิได้” หมายถึง ความหาค่ามิได้ หรือ หาค่าบ่มิได้ (pricelessness)

บาลี “อนคฺฆ” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “อนรรฆ” (อะ-นัก) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนรรฆ : (คำวิเศษณ์) หาค่ามิได้, เกินที่จะประมาณราคาได้. (ส. อนรฺฆ).”

อนรรฆ” แผลงเป็น “อำนรรฆ” (อำ-นัก) ได้อีกคำหนึ่ง

อภิปราย :

คำว่า “อนคฺฆ” หรือ “อนรรฆ” ตามศัพท์จริงๆ แปลว่า “ไม่มีค่า” ซึ่งควรจะหมายถึง ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ แต่กลับเป็นตรงกันข้าม คือหมายถึง ไม่สามารถประมาณค่า (invaluable) จึง = หาค่ามิได้ (priceless) กลายเป็นว่า มีค่ามากจนไม่มีอะไรจะเทียบได้

ถ้าเช่นนั้น สิ่งที่ “ไม่มีค่า” จริงๆ จะใช้คำบาลีว่าอย่างไร?

คำที่พบคือ “อปฺปคฺฆ” (อับ-ปัก-คะ) แปลตามศัพท์ว่า “มีค่าน้อย” (of little value) หมายความว่า ทุกอย่างที่ปรากฏให้เรารู้เห็นล้วนมี “ค่า” อยู่ในตัวมันเอง การที่มันมีอยู่นั่นแหละคือ “ค่า” ของมัน สุดแต่ว่าจะเอาค่าที่มันมีอยู่นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรได้บ้าง ถ้าใช้อะไรไม่ได้เลย มันก็เป็น “อปฺปคฺฆ” คือมีค่าเฉพาะ “ความมีอยู่” ของมันเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วไม่มี จึงเรียกว่า “มีค่าน้อย” ก็เท่ากับไร้ค่านั่นเอง

อปฺปคฺฆ” เป็นคำคู่กับ “มหคฺฆ” (มะ-หัก-คะ, ภาษาไทยใช้เป็น “มหรรฆ”) แปลตามศัพท์ว่า “มีค่ามาก” (of great value) คือนอกจากค่าคือ “ความมีอยู่” ของมันแล้ว ยังสามารถเอาไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีกด้วย

แนวคิดทางธรรมจากคำว่า “อนรรฆ:

ถามว่า อะไรจะมีค่าหรือไม่มีค่า เอาอะไรเป็นเกณฑ์? เอาตัวของสิ่งนั้นเอง หรือเอาคนที่มองสิ่งนั้น?

เช่น ค่าของเพชรพลอยอยู่ที่ไหน ถ้าให้ไก่มอง ไก่ก็ต้องบอกว่ามีค่าสู้ข้าวเปลือกไม่ได้ ถ้าให้ลิงมอง ลิงก็จะบอกว่ามีค่าสู่กล้วยผลเดียวไม่ได้ แต่ถ้าให้คนมอง คนก็จะบอกว่าเพชรพลอยมีค่ากว่าข้าวเปลือกกว่ากล้วยเป็นไหนๆ

ตกลงค่าจริงๆ ของเพชรพลอยอยู่ที่ไหน อยู่ที่ตัวเพชรพลอยเอง หรืออยู่ที่ว่าเพชรพลอยไปอยู่กับใคร

แนวคิดที่คนยอมรับกันมากคือ “จงอยู่ในที่ที่คนเห็นค่าของเรา” จากแนวคิดนี้จึงทำให้คนพากันดิ้นรนขวนขวายด้วยประการต่างๆ เพื่อให้ตนได้ไปอยู่ในสังคมที่คนจะเห็นค่าของตน

ที่ว่ามานี้มองในมุมที่จะให้สังคมเห็นค่าของเรา แต่ถ้ามองในมุมที่เราจะให้คุณค่าแก่สังคม ก็อาจจะเป็นอีกแบบหนึ่ง

ขอให้ลองดูประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชาการที่ประเทศยุโรปหลายพระองค์โดยมีพระราชประสงค์จะให้พระราชโอรสเหล่านั้นนำความรู้มาพัฒนาสยามประเทศ มิใช่เพื่อประโยชน์ของตัวพระราชโอรสเอง พูดเป็นหลักว่า-ไปเรียนเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม

แล้วดูคนไทยรุ่นหลังๆ จนถึงรุ่นเรา ไปศึกษาวิชาการจากต่างประเทศเพื่ออะไร เพื่อกลับมาทำประโยชน์ให้สังคม หรือว่า-เพื่อกลับมาเอาประโยชน์จากสังคม?

ถ้าเราจะให้สังคมเห็น “ค่า” ของเรา เราอาจจะต้องปรับตัว เหมือนอยู่กับไก่ เราก็ต้องเป็นข้าวเปลือกจึงจะมีค่า อยู่กับลิง เราก็ต้องเป็นผลไม้จึงจะมีค่า ถ้าเราเป็นเพชรพลอยก็ต้องไปอยู่กับคนที่รู้ค่า

สรุปว่า ถ้าไม่ปรับตัวก็ต้องเปลี่ยนสังคม

แต่ถ้าเราจะทำคุณค่าให้แก่สังคม เราก็ไม่ต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นข้าวเปลือกหรือเป็นผลไม้ตามสภาพสังคม เรายังคงเป็นอย่างที่เราเป็น เพียงแต่เร่งพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถที่จะสร้าง “ค่า” ให้แก่สังคมตามแนวทางที่เราถนัดหรือตามอุดมคติของเราว่า-สังคมควรจะเป็นอย่างไร และสังคมควรจะได้ค่าแบบไหนจากเราจึงจะดีที่สุด

ดังเช่นที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีมาเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มิใช่เพื่อให้โลกเห็น “ค่า” ของพระองค์ แต่เพื่อมอบ “ค่า” ที่ดีที่สุดให้แก่โลก

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ให้ค่าแก่สังคม

: แล้วสังคมจะให้ค่าแก่ท่าน

—————

ผู้เขียนบาลีวันละคำเขียน “บาลีวันละคำ” มาตั้งแต่คำที่ 1 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 จนถึงวันนี้ วันที่ 29 สิงหาคม 2563 เป็นคำที่ 3,000 นับว่านานเกินกว่าที่จะคาดคิด ขอขอบพระคุณญาติมิตรทั้งปวงที่ให้กำลังใจกันมาจนถึงวันนี้ และหวังว่าจะให้กำลังใจกันต่อไปจนกว่าแต่ละคนจะหมดกำลัง – กราบขอบพระคุณทุกท่าน

#บาลีวันละคำ (3,000)

29-8-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *