บาลีวันละคำ

ดุษณีภาพ (บาลีวันละคำ 3,154)

ดุษณีภาพ

ไม่ใช่ “ดุษฎีภาพ”

อ่าน ดุด-สะ-นี-พาบ

ประกอบด้วยคำว่า ดุษณี + ภาพ

(๑) “ดุษณี

อ่านว่า ดุด-สะ-นี ตรงกับบาลีว่า “ตุณฺหี” (ตุน-นฮี ณ สะกดและเป็นกึ่งตัวนำพยางค์หลัง) รากศัพท์มาจาก ตุณฺห + อี ปัจจัย

(ก) “ตุณฺห” รากศัพท์มาจาก ตุหฺ (ธาตุ = ข่มเหง, เบียดเบียน) + ณฺห ปัจจัย, ลบ หฺ ที่สุดธาตุ (ตุหฺ > ตุ)

: ตุหฺ + ณฺห = ตุหณฺห > ตุณฺห แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ข่มความเงียบ” (คือนิ่งเงียบ) หมายถึง เงียบ (silent)

(ข) ตุณฺห + อี ปัจจัย = ตุณฺหี แปลว่า “ผู้มีความนิ่ง

ตุณฺหี” เป็นคำพิเศษ คือมักใช้คงรูป ไม่แจกด้วยวิภัตติ ใช้ในความหมายว่า อย่างเงียบ ๆ (silently) เช่นในข้อความว่า “ตุณฺหี อโหสิ” = เขานิ่งเงียบ (he remained silent) เป็นเครื่องหมายว่า เห็นด้วย ยินยอม หรือตอบรับ

บาลี “ตุณฺหี” สันสกฤตเป็น “ตูษฺณีมฺ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

ตูษฺณีมฺ : (คำวิเศษณ์) นิ่ง, เฉย, ขรึม; silent; – (กริยาวิเศษณ์) นิ่ง, เฉย; silently.”

ในภาษาไทย เราใช้อิงสันสกฤตเป็น “ดุษณี” (ดุด-สะ-นี)

(๒) “ภาพ

บาลีเป็น “ภาว” (พา-วะ) รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

ภาว” หมายถึง ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ (being, becoming, condition, nature)

ภาว แปลง เป็น : ภาว > ภาพ เมื่อใช้ต่อท้ายคำอื่น แปลว่า “การ–” หรือ “ความ–” แบบเดียวกับภาษาอังกฤษที่ลงท้ายว่า -ness, -tion หรือ -ty

ภาพ” ในภาษาไทย นอกจากคงตามบาลีแล้ว ความหมายยังเคลื่อนที่ไปอีก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาพ, ภาพ– : (คำนาม) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).”

ตุณฺหี + ภาว = ตุณฺหีภาว (ตุน-นฮี -พา-วะ) แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นผู้นิ่ง” หมายถึง ความเงียบ, การมีท่าทียินยอม, ดุษณีภาพ (silence, attitude of consent)

คำที่มักพบในประโยคบาลีคือ “ตุณฺหีภาเวน” แปลตามศัพท์ “โดยดุษณีภาพ” มีความหมายว่า “เห็นด้วย” คือตกลงตามนั้น (he agreed) เช่นมีผู้นิมนต์พระไปฉันที่บ้าน พระจะไม่เอ่ยปากตอบรับ แต่จะใช้วิธี “ตุณฺหีภาเวน

บาลี “ตุณฺหีภาว” สันสกฤตเป็น “ตูษฺณีมฺภาว” และ “ตูษฺณีภาว

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

ตูษฺณีมฺภาว, ตูษฺณีภาว : (คำนาม) ‘ดุษณีภาพ,’ ความนิ่ง, ความเฉย, ความขรึม, อภาษณ์; silence, absence of speech.”

บาลี “ตุณฺหีภาว” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ดุษณีภาพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ดุษณี, ดุษณีภาพ : (คำนาม) อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ส. ตูษฺณีมฺ; ป. ตุณฺหี).”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความนิ่งช่วยปกปิดความโง่ได้ชั่วคราว

: แต่ความใฝ่ศึกษาช่วยขจัดความโง่ได้อย่างถาวร

#บาลีวันละคำ (3,154)

30-1-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย