บาลีวันละคำ

ห้องน้ำ – ห้องสุขา (บาลีวันละคำ 3,160)

ห้องน้ำห้องสุขา

บาลีว่าอย่างไร

วิธีหาคำบาลีที่มีความหมายตรงกับคำไทย สำหรับคนที่ไม่รู้บาลี แต่พอรู้อังกฤษ ก็คือค้นจากพจนานุกรมอังกฤษ-บาลี

แต่เบื้องต้นควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาความหมายของคำไทยก่อน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ห้องน้ำ : (คำนาม) ห้องอาบนํ้า, ส้วม.”

ส่วนคำว่า “ห้องสุขา” พจนานุกรมฯ ไม่ได้เก็บไว้ แต่เก็บคำว่า “สุขา” ไว้ บอกไว้ว่า –

สุขา : (ภาษาปาก) (คำนาม) ห้องนํ้าห้องส้วม, เป็นคำที่มักใช้เรียกตามสถานที่บางแห่ง เช่นโรงภาพยนตร์ สถานีรถไฟ, ห้องสุขา ก็เรียก.”

พอได้ความชัดเจนว่า “ห้องน้ำห้องสุขา” ในภาษาไทยหมายถึงอะไร ต่อไปก็นึกถึงคำอังกฤษที่มีความหมายตรงกับคำไทย

ตามความหมายในคำไทย “ห้องน้ำห้องสุขา” น่าจะตรงกับคำอังกฤษ 2 คำ คือ bathroom และ lavatory

คราวนี้ก็ตามไปดูพจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ว่าแปล bathroom และ lavatory เป็นบาลีว่าอย่างไร

(๑) พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล bathroom เป็นบาลีว่า

nahānakoṭṭhaka นหานโกฏฺฐก (นะ-หา-นะ-โกด-ถะ-กะ) = ห้องสำหรับอาบน้ำ

นหานโกฏฺฐก” ประกอบด้วยคำว่า นหาน + โกฏฺฐก

(ก) “นหาน” (นะ-หา-นะ) รากศัพท์มาจาก นหฺ (ธาตุ = สะอาด) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ทีฆะ อะ ที่ (น)-หฺ เป็น อา (นหฺ > นหา)

: นหฺ + ยุ > อน = นหน > นหาน แปลตามศัพท์ว่า “การทำให้สะอาด” หมายถึง การอาบน้ำ (bath)

(ข) “โกฏฺฐก” รากศัพท์มาจาก กุสฺ ธาตุ = เต็ม) + ปัจจัย, ทีฆะ อุ ที่ กุ-(สฺ) เป็น โอ (กุสฺ > โกส), แปลง เป็น , แปลง เป็น + สกรรถ (กะ-สะ-กัด)

: กุสฺ + = กุสต > โกสต > โกฏฺต > โกฏฺฐ + = โกฏฺฐก แปลตามศัพท์ว่า “ที่พึงให้เต็มด้วยข้าวเปลือก” หมายถึง ป้อมเหนือซุ้มประตู ใช้เป็นที่เก็บของต่างๆ, ห้อง, คลัง, ยุ้ง (the stronghold over a gateway, used as a store-room for various things, a chamber, treasury, granary)

นหาน + โกฏฺฐก = นหานโกฏฺฐก แปลว่า “ห้องอาบน้ำ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นหานโกฏฺฐก” ตรงกันว่า bath-room

บาลีมีอีกศัพท์หนึ่งที่มีความหมายเหมือนกับ “นหานโกฏฺฐก” คือศัพท์ว่า “อุทกโกฏฺฐก” (อุ-ทะ-กะ-โกด-ถะ-กะ) นักเรียนบาลีแปลกันว่า “ซุ้มน้ำ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุทกโกฏฺฐก” ว่า a bath-room, bath cabinet (ห้องน้ำ, ที่สำหรับอาบน้ำ)

(๒) พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล lavatory เป็นบาลีว่า

vaccakuṭi วจฺจกุฏิ (วัด-จะ-กุ-ติ) = ห้องถ่ายอุจจาระ

วจฺจกุฏิ” ประกอบด้วยคำว่า วจฺจ + กุฏิ

(ก) “วจฺจ” (วัด-จะ) รากศัพท์มาจาก วรฺ (ธาตุ = ห้าม, ป้องกัน) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น จฺ (วรฺ > วจฺ)

: วรฺ + = วรฺจ > วจฺจ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ห้ามความสุข” (เมื่อมีอาการอันเนื่องมาจากสิ่งนี้ ความสุขจะถูกห้ามไว้ คือจะรู้สึกไม่เป็นสุข) หมายถึง คูถ, อุจจาระ (excrement, faeces)

วจฺจ” ในภาษาไทยสะกดเป็น “วัจ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “วัจจะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วัจ-, วัจจะ : (คำนาม) อุจจาระ. (ป.; ส. วรฺจสฺ).”

(ข) “กุฎี

บาลีเป็น “กุฏิ” (กุ-ติ) (-ฏิ ปฏัก อนึ่ง ศัพท์นี้เป็น “กุฏี” ก็มี) รากศัพท์มาจาก กุฏฺ (ธาตุ = ตัด; อยู่อาศัย) + อิ ปัจจัย

: กุฏฺ + อิ = กุฏิ แปลตามศัพท์ว่า (1) “โรงเรือนที่ตัด” (คือตัดความกังวล เนื่องจากเป็นกระท่อมเล็กๆ ไม่ต้องบำรุงรักษามาก และไม่มีราคาค่างวด) (2) “โรงเรือนเป็นที่อยู่อาศัย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กุฏิ” ว่า any single-roomed abode, a hut, cabin, cot, shed (ที่อาศัยที่มีห้องเดียว, กระท่อม, เพิง, สิ่งปลูกสร้างเล็กๆ สำหรับอาศัย)

ภาษาไทยเขียนทับศัพท์เป็น “กุฏิ” ออกเสียงว่า กุ-ติ ก็มี (คนเก่าๆ ออกเสียงตามสะดวกปากว่า กะ-ติ ก็มี) ออกเสียงว่า กุด ก็มี เปลี่ยน ปฏักเป็น ชฎา เขียนเป็น “กุฎี” (กุ-ดี) ก็มี แผลงเป็น “กระฎี” ก็มี

ความหมายที่เข้าใจกันในภาษาไทย “กุฏิกุฎี” ก็คือ “เรือนหรือตึกสําหรับพระภิกษุสามเณรอยู่”

วจฺจ + กุฏิ = วจฺจกุฏิ แปลตามศัพท์ว่า “กระท่อมเป็นที่ขับถ่ายอุจจาระ” ทับศัพท์ว่า “วัจกุฎี” หมายถึง ที่ถ่ายอุจจาระ (a privy)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วัจกุฎี : (คำนาม) ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), เวจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).”

ขยายความ :

ความแตกต่างระหว่าง “วจฺจกุฏิ” กับ “นหานโกฏฺฐก” และ “อุทกโกฏฺฐก” ก็คือ

– “วจฺจกุฏิ” เป็นที่สำหรับถ่ายอุจจาระปัสสาวะเท่านั้น

– “นหานโกฏฺฐก” และ “อุทกโกฏฺฐก” โดยทั่วไปเป็นที่สำหรับอาบน้ำ แต่บางกรณีก็ทำที่สำหรับถ่ายอุจจาระปัสสาวะเอาไว้ในที่เดียวกันด้วย ใช้เป็นที่อาบน้ำก็ได้ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ได้ คือตรงกับที่เราเรียกควบกันว่า “ห้องนํ้าห้องส้วม”

แถม :

นี่เป็นวิธีรู้คำบาลีแบบเรียนลัด รู้เป็นคำๆ ไป พอแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้บ้าง

วิธีที่จะรู้บาลีได้ดีขึ้นก็คือ ต้องเรียนโดยตรง ปัจจุบันนี้มีผู้เขียนตำราบาลีแพร่หลาย อาจเรียนได้ด้วยตนเอง และถ้าติดขัดก็มีผู้รู้บาลีอยู่ทั่วไป อาศัยเป็นที่ปรึกษาไม่ยาก

ที่ยากคือ ไม่ค่อยมีฉันทะอุตสาหะที่จะเรียน!

…………..

ดูก่อนภราดา!

อะไรเอ่ย? —

: เวลาเอาเข้า พูดจาเย้าหยอก

: เวลาเอาออก ต้องแอบทำคนเดียว

#บาลีวันละคำ (3,160)

5-2-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย