บาลีวันละคำ

ฉายาพระ กับการันต์ในบาลี (บาลีวันละคำ 3,202)

ฉายาพระ กับการันต์ในบาลี

จับหลักได้ก็เข้าใจได้

ฉายาพระมักเป็น “อะ-การันต์” คือคำที่ลงท้ายด้วยเสียงสระ อะ เช่น “ชุตินฺธร” (ชุ-ติน-ทะ-ระ) “ภูริทตฺต” (พู-ริ-ทัด-ตะ) “ปยุตฺต” (ปะ-ยุด-ตะ) เมื่อแจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง พยางค์ท้ายก็จะเปลี่ยนรูปเป็น “สระ-โอ” ดังที่เราเห็นกันทั่วไป เช่น –

ชุตินฺธร” เป็น “ชุตินฺธโร” (ชุ-ติน-ทะ-โร)

ภูริทตฺต” เป็น “ภูริทตฺโต” (พู-ริ-ทัด-โต)

ปยุตฺต” เป็น “ปยุตฺโต” (ปะ-ยุด-โต)

อนาลย” เป็น “อนาลโย” (อะ-นา-ละ-โย)

แต่ก็มีฉายาพระบางรูปไม่ได้ลงท้ายด้วย “สระ-โอ” เหมือนพระทั่วไป แต่ลงท้ายด้วย “สระ-อี” หรือ “สระ-อิ” เช่น “เทสรํสี” “เขมรํสี” “วชิรเมธี” “ญาณสิริ” เป็นต้น

ถามว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยาก ถ้าเข้าใจเรื่อง “การันต์ในบาลี”

“การันต์ในบาลี” หมายถึง เสียงสระท้ายคำนาม คำนามในภาษาบาลีมีเสียงสระท้ายคำอยู่ 6 เสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู

(1) เสียงสระ อะ ท้ายคำ

เช่น “ปุริส” อ่านว่า ปุ-ริ-สะ พยัญชนะตัวท้ายคือ

: – + อะ = –สะ คำว่า “ปุริส” จึงเป็น “อะ-การันต์” (ภาษาบาลีเมื่อเขียนเป็นอักษรไทย เสียง อะ ไม่มีรูปสระ คงเขียนแต่พยัญชนะตัวเดียว แต่อ่านอย่างมีสระ อะ กำกับอยู่ด้วย เช่น อ่านว่า “สะ” ไม่ใช่ “สอ”)

(2) เสียงสระ อา ท้ายคำ

เช่น “กญฺญา” อ่านว่า กัน-ยา พยัญชนะตัวท้ายคือ

: – + อา = –ญา คำว่า “กญฺญา” จึงเป็น “อา-การันต์”

(3) เสียงสระ อิ ท้ายคำ

เช่น “มุนิ” อ่านว่า มุ-นิ พยัญชนะตัวท้ายคือ

: – + อิ = –นิ คำว่า “มุนิ” จึงเป็น “อิ-การันต์”

(4) เสียงสระ อี ท้ายคำ

เช่น “เสฏฺฐี” อ่านว่า เสด-ถี พยัญชนะตัวท้ายคือ

: – + อี = –ฐี คำว่า “เสฏฺฐี” จึงเป็น “อี-การันต์”

(5) เสียงสระ อุ ท้ายคำ

เช่น “ครุ” อ่านว่า คะ-รุ พยัญชนะตัวท้ายคือ

: – + อุ = –รุ คำว่า “ครุ” จึงเป็น “อุ-การันต์”

(6) เสียงสระ อู ท้ายคำ

เช่น “วิญฺญู” อ่านว่า วิน-ยู พยัญชนะตัวท้ายคือ

: – + อู = –ญู คำว่า “วิญฺญู” จึงเป็น “อู-การันต์”

ขยายความ :

พึงทราบหลักของคำนามในบาลีอีกอย่างหนึ่งคือ คำนามทุกคำมีรูป “ศัพท์เดิม” คือคำที่ยังไม่ได้แจกด้วยวิภัตติ เช่น “ชุตินฺธร” อ่านว่า ชุ-ติน-ทะ-ระ นี่คือ คำว่า “ชุตินฺธร” เป็นรูป “ศัพท์เดิม” และเสียงท้ายคำคือ -ระ เป็นเสียงสระ อะ คำว่า “ชุตินฺธร” จึงเป็น อะ-การันต์

ชุตินฺธร” เมื่อแจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “ชุตินฺธโร” (ชุ-ติน-ทะ-โร)

ที่ต้องเป็น “เอกวจนะ” (เอกพจน์) เพราะในที่นี้หมายถึงพระที่มีฉายาว่า “ชุตินฺธร” รูปเดียว

ที่ต้องเป็น “ปุงลิงค์” เพราะพระภิกษุเป็นเพศชาย คำนามที่เป็นฉายาจึงต้องเป็นเพศชายคือ “ปุงลิงค์” ไปด้วย

คำนามที่เป็นการันต์อื่นๆ ก็ใช้หลักเดียวกัน คือแจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง เอกวจนะ ปุงลิงค์ แต่ละการันต์มีกฎการเปลี่ยนรูปแตกต่างกันไปตามลิงค์นั้นๆ (เรื่อง “ลิงค์” เป็นกฎสำคัญอีกข้อหนึ่งในภาษาบาลี พึงศึกษาต่อไป แต่ในที่นี้รู้ไว้เพียงแค่นี้ก่อน)

เมื่อจับหลัก “การันต์ในบาลี” ได้แล้ว ต่อไปก็ดูที่คำอันเป็นฉายาของพระที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย “สระ-โอ” เช่น –

“เทสรํสี” อ่านว่า เท-สะ-รัง-สี “-รํสี” ศัพท์เดิมเป็น “-รํสิ” เป็น อิ-การันต์ แต่นำไปประกอบ อี-ปัจจัยในตัทธิต “เทสรํสิ” เปลี่ยนรูปเป็น “เทสรํสี” กลายเป็น อี-การันต์ แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง เอกวจนะ ปุงลิงค์ ได้รูปเป็น “เทสรํสี” เท่าศัพท์เดิม

“เขมรํสี” อ่านว่า เข-มะ-รัง-สี ก็ทำนองเดียวกับ “เทสรํสี

“วชิรเมธี” อ่านว่า วะ-ชิ-ระ-เม-ที “-เมธี” ศัพท์เดิมเป็น “-เมธีอี-การันต์ แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง เอกวจนะ ปุงลิงค์ ได้รูปเป็น “วชิรเมธี” เท่าศัพท์เดิม

“ญาณสิริ” อ่านว่า ยา-นะ-สิ-ริ ศัพท์เดิมเป็น “-สิริอิ-การันต์ แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง เอกวจนะ ปุงลิงค์ ได้รูปเป็น “ญาณสิริ” เท่าศัพท์เดิม

คงพอจะเข้าใจได้แล้วว่า ฉายาตามตัวอย่างนี้ไม่เป็น “เทสรํโ” “เขมรํโส” “วชิรเมโธ” และ “ญาณสิโร” ก็เพราะศัพท์เดิมของคำกลุ่มนี้ไม่ใช่ อะ-การันต์ ตามหลัก “การันต์ในบาลี” ดังที่แสดงมา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ฉายาเป็นคำที่คนอื่นเขาตั้งให้

: แต่ชั่วหรือดีนั้นไซร้เราต้องทำของเราเอง

—————

(ตามคำขอของ C-Mon Amonsak Sreesukglang)

……………………………

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/297759476984463

……………………………

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/994580853968985

……………………………

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/1740932259333837

……………………………

#บาลีวันละคำ (3,202)

19-3-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย