บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย

………………………………….

บทความชุด: ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย

………………………………….

บวชเรียน (๐๐๔)

…………………………………………

เราไม่ได้เป็นพระเป็นเณรมาตั้งแต่เกิด

ถ้าเช่นนั้น เราบวชเพื่ออะไร

……………………………..

ผมบวชเณรเมื่อปี ๒๕๐๔ อายุ ๑๖

กำลังทำนาอยู่ดีๆ ก็เกิดเบื่อขึ้นมา ไม่ใช่เบื่อหน่ายในสังสาร แต่เบื่องานที่ต้องทำซ้ำซาก ประกอบกับอยากเรียนหนังสือ

จบ ป.๔ แล้ว ฐานะทางบ้านไม่สามารถส่งให้เรียนสูงขึ้นไปได้ คิดว่าบวชแล้วเรียนทางพระก็น่าจะพอไปได้

นั่นเป็นเหตุผลที่ผมบวช

บวชแล้วก็ได้เรียนสมใจ

พอเรียนบาลี โอกาสที่จะเรียนรู้พระธรรมวินัยก็เปิดกว้างขึ้น นั่นแหละจึงได้รู้ว่าเหตุผลที่แท้จริงของการออกบวชในพระพุทธศาสนาคืออะไร

ขออนุญาตอัญเชิญพระบาลีมาให้ศึกษากัน ณ ที่นี้

ขอเชิญศึกษาไปพร้อมๆ กันนะครับ ไม่ถนัดบาลีก็อ่านเฉพาะคำแปล แต่ขอแนะนำให้อ่านบาลีด้วย

ก็เหมือนสวดมนต์แปลไงครับ เวลาสวดมนต์แปลเราก็ว่าคำบาลีก่อน แล้วจึงว่าคำแปล

คำบาลีที่ยกมานี้ก็อัญเชิญมาจากพระไตรปิฎกแบบเดียวกับบทสวดมนต์หลายๆ บทที่เรานิยมสวดกันนั่นแหละ

ผมชอบยกคำบาลีมากำกับไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้สัมผัสกับภาษาต้นฉบับ และอีกประการหนึ่งก็เป็นการยืนยันไปในตัวว่าผมไม่ได้คิดเอาเองว่าเอาเอง

เวลานี้มีเยอะครับ แสดงความคิดความเห็นของตัวเอง แล้วบอกคนฟังว่านั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า!

…………….

(ความต่อไปนี้เป็นพระพุทธดำรัสตรัสแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ณ สวนมะม่วงของหมอชีวก ทรงแสดงถึงบุคคลที่สนใจพระพุทธศาสนาจนถึงได้ฟังธรรมแล้วออกบวช)

โส  ตํ  ธมฺมํ  สุตฺวา  ตถาคเต  สทฺธํ  ปฏิลภติ  ฯ 

ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต

โส  เตน  สทฺธาปฏิลาเภน  สมนฺนาคโต  อิติ  ปฏิสญฺจิกฺขติ  

เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า

สมฺพาโธ  ฆราวาโส 

ฆราวาสคับแคบ

รชาปโถ 

เป็นทางมาแห่งธุลี

อพฺโภกาโส  ปพฺพชฺชา 

บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง

นยิทํ  สุกรํ  อคารํ  อชฺฌาวสตา  เอกนฺตปริปุณฺณํ  เอกนฺตปริสุทฺธํ  สํขลิขิตํ  พฺรหฺมจริยํ  จริตุํ  

การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย

ยนฺนูนาหํ  เกสมสฺสุํ  โอหาเรตฺวา  กาสายานิ  วตฺถานิ  อจฺฉาเทตฺวา  อคารสฺมา  อนคาริยํ  ปพฺพเชยฺยนฺติ  ฯ 

อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด

โส  อปเรน  สมเยน  อปฺปํ  วา โภคกฺขนฺธํ  ปหาย  มหนฺตํ  วา  โภคกฺขนฺธํ  ปหาย  อปฺปํ  วา  ญาติปริวฏฺฏํ  ปหาย  มหนฺตํ  วา  ญาติปริวฏฺฏํ  ปหาย  เกสมสฺสุํ  โอหาเรตฺวา  กาสายานิ  วตฺถานิ  อจฺฉาเทตฺวา  อคารสฺมา  อนคาริยํ  ปพฺพชติ  ฯ 

สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีบ้านเรือน

โส  เอวํ  ปพฺพชิโต  สมาโน  ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต  วิหรติ  

เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์

อาจารโคจรสมฺปนฺโน 

ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร (คือความประพฤติปฏิบัติอันสมแก่ภูมิเพศบรรพชิต)

อณุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี 

โทษผิดเพียงเล็กน้อยก็เห็นว่าเป็นภัยน่ากลัว

สมาทาย  สิกฺขติ  สิกฺขาปเทสุ 

สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

กายกมฺมวจีกมฺเมน  สมนฺนาคโต  กุสเลน 

ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล

ปริสุทฺธาชีโว 

เลี้ยงชีพอย่างบริสุทธิ์

สีลสมฺปนฺโน 

ถึงพร้อมด้วยศีล

อินฺทฺริเยสุ  คุตฺตทฺวาโร 

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

สติสมฺปชญฺเญน  สมนฺนาคโต  สนฺตุฏฺโฐ  ฯ 

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.

ที่มา: สามัญญผลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระไตรปิฎกเล่ม ๙ ข้อ ๑๐๒

…………….

นอกจากแสดงเหตุผลที่แท้จริงในการออกบวชแล้ว บวชแล้วมีลักษณาการอย่างไร มีคุณธรรมอย่างไร ท่านก็แสดงไว้ให้รู้ด้วย

ผมเชื่อว่า พวกเราส่วนมาก-รวมทั้งพระภิกษุสามเณร-ไม่เคยได้ศึกษาพระสูตรนี้ โดยเฉพาะข้อความที่ยกมาให้อ่านกันนี้หลายท่านจะต้องบอกว่าเพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก

นี่คือความจริง-อันเป็นช่องโหว่ขนาดมหึมา

มีคนเป็นอันมากบวชเข้ามาในพระศาสนาโดยที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า เหตุผลที่แท้จริงของการออกบวชในพระพุทธศาสนาคืออะไร บวชแล้วต้องทำอะไร

…………….

เอาละ บัดนี้ได้รู้แล้ว

ถามว่า-แล้วคิดอย่างไร?

ผมเชื่อว่า เวลานี้มีหลายท่านอินทรีย์แก่กล้าแล้ว คือกล้าที่จะพูดว่า รู้แล้วก็ไม่เห็นแปลกอะไรนี่ คนไทยออกบวชด้วยเหตุผลนั่นนี่โน่นหลายหลากมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว จะต้องยกพระไตรปิฎกมาอ้างทำไมกันอีก

บวชเล่น

บวชลอง

บวชครองประเพณี

บวชหนีทหาร (บวชหนีสงสาร)

บวชผลาญข้าวสุก

บวชสนุกตามเพื่อน

หรือจะเอาแบบชุดที่มีคำบาลีด้วย (บูชาเชิดชูบาลีนักมิใช่เรอะ! ฮะ ฮะฮ้า)

อุปทูสิกา

อุปมุยฺหิกา

อุปชีวิกา

อุปนิสฺสรณิกา

ใครเก่งบาลีนักก็แปลเอาเองได้เลย

มันเป็นอย่างนี้มาตั้งหลายชั่วคนแล้ว จะต้องยกพระไตรปิฎกมาอ้างเพื่อให้เกิดอะไรขึ้นมา

…………….

น่ากลัวนะครับ-แนวคิดแบบนี้ แนวคิดที่ไม่แคร์พระธรรมวินัย ปล่อยให้ทุกอย่างไหลไปตามกระแส

เมื่อผู้ไม่เรียนไม่ศึกษาพระธรรมวินัยมีมากขึ้นเรื่อยๆ และอินทรีย์ในทางโต้แย้งแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ

พระธรรมวินัยพระไตรปิฎกจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๗ วัน ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวขึ้นว่า –

…………….

สุมุตฺตา  มยํ  เตน  มหาสมเณน  อุปทฺทูตา  จ  มยํ  โหม  อิทํ  โว  กปฺปติ  อิทํ  โว  น  กปฺปตีติ  อิทานิ  ปน  มยํ  ยํ  อิจฺฉิสฺสาม  ตํ  กริสฺสาม  ยํ  น  อิจฺฉิสฺสาม  น  ตํ  กริสฺสาม.

ที่มา: ปัญจสติกขันธกะ วินัยปิฎก จุวรรค ภาค ๒

พระไตรปิฎกเล่ม ๗ ข้อ ๖๑๔

แปลตามสำนวนนักเลงปากท่อว่า –

สุมุตฺตา  มยํ  เตน  มหาสมเณน 

พวกเราเป็นอิสระแล้วจากการกดขี่ –

อุปทฺทูตา  จ  มยํ  โหม  อิทํ  โว  กปฺปติ  อิทํ  โว  น  กปฺปตีติ

ที่มีคนคอยชี้นิ้วว่า นี่ทำได้ นี่ทำไม่ได้

อิทานิ  ปน  มยํ  ยํ  อิจฺฉิสฺสาม  ตํ  กริสฺสาม 

ตอนนี้เราอยากทำอะไรก็ทำ

ยํ  น  อิจฺฉิสฺสาม  น  ตํ  กริสฺสาม.

ไม่อยากทำอะไรก็ไม่ต้องทำ

…………….

นี่ก็เป็นเรื่องราวอีกตอนหนึ่งที่พวกเราส่วนมากไม่เคยรู้ ไม่เคยศึกษา

คำพูดเพียงเท่านี้ ทำให้พระเถระสมัยพุทธกาลต้องรีบทำสังคายนา รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ขึ้นไว้เป็นหลักแห่งพระศาสนา เพื่อเป็นหลักฐานว่า อะไรบ้างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และอะไรที่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า

กล่าวอีกนัยหนึ่ง – อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ มาตัดสินกันที่นี่

ผมเชื่อว่าเวลานี้ผู้ที่คิดเหมือน “ภิกษุรูปหนึ่ง” ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาน่าจะมีมากขึ้น

ต่างกันตรงที่ ณ เวลานี้ไม่มีใครกล้าหาญพอที่จะทำสังคายนา

ซึ่งก็มีผลเท่ากับปล่อยให้บุคคลประเภท – “อยากทำอะไรก็ทำ ไม่อยากทำอะไรก็ไม่ต้องทำ” – มีจำนวนเพิ่มขึ้น และแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ

ลองคิดดู

ถ้าพระอรหันตเถระในครั้งกระโน้นท่านไม่มีความกล้าหาญที่จะทำสังคายนา จะมีพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ตกทอดมาถึงพวกเราละหรือ

และถ้าพวกเราในวันนี้ไม่มีความกล้าหาญที่จะทำสังคายนา จะมีพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ส่งมอบเป็นมรดกให้แก่หมู่ชนในภายหน้าละหรือ

ถ้าผู้รับภารธุระการพระศาสนาของเราท่านไม่กล้าหาญพอที่จะทำสังคายนา ก็เป็นความบกพร่องของท่าน

เราไม่จำเป็นต้องบกพร่องตามไปด้วย

หากแต่เราควรมีความกล้าหาญ คือมีความอุตสาหะให้มากพอที่จะอุทิศชีวิต สละเวลาศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัย

เมื่อเรียนแล้ว รู้แล้ว ก็จะเกิดความมั่นใจว่า ในพระพุทธศาสนานี้ อะไรบ้างที่ห้ามทำ และอะไรบ้างที่ต้องทำ

ไม่ใช่นึกเอาเอง

คิดเอาเอง

เข้าใจเอาเอง

ตีความเอาเอง

ทำหรือไม่ทำเอาเองตามที่เข้าใจ

ต่อจากนั้นก็ควรจะเกิดอุตสาหะ ลด ละ เลิก ไม่ทำสิ่งที่ห้ามทำ พร้อมไปกับมีธรรมฉันทะตั้งใจทำสิ่งที่ต้องทำมิให้ย่อหย่อนบกพร่อง

ทำอย่างนี้ มีจะมีค่าเท่ากับได้สังคายนาพระธรรมวินัยอีกวิธีหนึ่ง-สังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อให้รู้ถูกปฏิบัติถูกสำหรับตัวเราเอง

วันนี้ท่านศึกษาพระธรรมวินัยบ้างหรือยัง

ถ้ายัง

เริ่มด้วยการแปลคำบาลี ๒ บรรทัดนี่เลย

……………………..

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ

โก ชญฺญา มรณํ สุเว.

……………………..

ถ้าแปลไม่ออก

เรียนบาลีซะ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๗ กันยายน ๒๕๖๒

๑๓:๓๒

————

โส  ตํ  ธมฺมํ  สุตฺวา  ตถาคเต  สทฺธํ  ปฏิลภติ  ฯ  โส  เตน  สทฺธาปฏิลาเภน  สมนฺนาคโต  อิติ  ปฏิสญฺจิกฺขติ  สมฺพาโธ  ฆราวาโส  รชาปโถ  อพฺโภกาโส  ปพฺพชฺชา  นยิทํ  สุกรํ  อคารํ  อชฺฌาวสตา  เอกนฺตปริปุณฺณํ  เอกนฺตปริสุทฺธํ  สํขลิขิตํ  พฺรหฺมจริยํ  จริตุํ  ยนฺนูนาหํ  เกสมสฺสุํ  โอหาเรตฺวา  กาสายานิ  วตฺถานิ  อจฺฉาเทตฺวา  อคารสฺมา  อนคาริยํ  ปพฺพเชยฺยนฺติ  ฯ  โส  อปเรน  สมเยน  อปฺปํ  วา โภคกฺขนฺธํ  ปหาย  มหนฺตํ  วา  โภคกฺขนฺธํ  ปหาย  อปฺปํ  วา  ญาติปริวฏฺฏํ  ปหาย  มหนฺตํ  วา  ญาติปริวฏฺฏํ  ปหาย  เกสมสฺสุํ  โอหาเรตฺวา  กาสายานิ  วตฺถานิ  อจฺฉาเทตฺวา  อคารสฺมา  อนคาริยํ  ปพฺพชติ  ฯ  โส  เอวํ  ปพฺพชิโต  สมาโน  ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต  วิหรติ  อาจารโคจรสมฺปนฺโน  อณุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี  สมาทาย  สิกฺขติ  สิกฺขาปเทสุ  กายกมฺมวจีกมฺเมน  สมนฺนาคโต  กุสเลน  ปริสุทฺธาชีโว  สีลสมฺปนฺโน  อินฺทฺริเยสุ  คุตฺตทฺวาโร  สติสมฺปชญฺเญน  สมนฺนาคโต  สนฺตุฏฺโฐ  ฯ 

ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร โทษผิดเพียงเล็กน้อยก็เห็นว่าเป็นภัยอยู่โดยปรกติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล เลี้ยงชีพอย่างบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.

ที่มา: สามัญญผลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระไตรปิฎกเล่ม ๙ ข้อ ๑๐๒

——–

วินย. จุลฺลวคฺโค (๒) – หน้าที่ 379

                       ปญฺจสติกกฺขนฺธกํ  

     [๖๑๔]  อถโข  อายสฺมา  มหากสฺสโป  ภิกฺขู อามนฺเตสิ เอกมิทาหํ 

อาวุโส    สมยํ    ปาวาย    กุสินารํ    อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน   มหตา 

ภิกฺขุสงฺเฆน    สทฺธึ    ปฺจมตฺเตหิ    ภิกฺขุสเตหิ   อถขฺวาหํ   อาวุโส  

มคฺคา    โอกฺกมฺม   อฺตรสฺมึ   รุกฺขมูเล   นิสีทึ   เตน   โข   ปน  

สมเยน    อฺตโร   อาชีวโก   กุสินารายํ   มนฺทารวปุปฺผํ   คเหตฺวา  

ปาวํ   อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน   โหติ   อทฺทสํ   โข   อหํ   อาวุโส   ตํ 

อาชีวกํ   ทูรโต   ว   อาคจฺฉนฺตํ   ทิสฺวาน   ตํ   อาชีวกํ  เอตทโวจํ  

อปาวุโส     อมฺหากํ    สตฺถารํ    ชานาสีติ    อามาวุโส    ชานามิ 

อชฺช    สตฺตาหปรินิพฺพุโต    สมโณ    โคตโม    ตโต    เม    อิทํ  

มนฺทารวปุปฺผํ    คหิตนฺติ    ตตฺราวุโส   เย   เต   ภิกฺขู   อวีตราคา 

อปฺเปกจฺเจ    พาหา   ปคฺคยฺห   กนฺทนฺติ   ฉินฺนปาทาว   ปตนฺติ   ๑ 

อาวฏฺฏนฺติ     วิวฏฺฏนฺติ    อติขิปฺปํ    ภควา    ปรินิพฺพุโต    อติขิปฺปํ 

สุคโต    ปรินิพฺพุโต    อติขิปฺปํ    จกฺขุํ    โลเก   อนฺตรหิตนฺติ   เย 

ปน    เต   ภิกฺขู   วีตราคา   เต   สตา   สมฺปชานา   อธิวาเสนฺติ  

อนิจฺจา    สงฺขารา    ตํ    กุเตตฺถ    ลพฺภาติ   อถขฺวาหํ   อาวุโส 

เต   ภิกฺขู   เอตทโวจํ   อลํ   อาวุโส  มา  โสจิตฺถ  มา  ปริเทวิตฺถ 

นเนฺวตํ   อาวุโส   ภควตา   ปฏิกจฺเจว   อกฺขาตํ   สพฺเพเหว  ปิเยหิ  

#๑ ม. ฉินฺนปาตํ ปปตนฺติ ฯ ยุ. ฉินฺนปปาตํ ปปตนฺติ ฯ 

วินย. จุลฺลวคฺโค (๒) – หน้าที่ 380

มนาเปหิ    นานาภาโว    วินาภาโว    อฺถาภาโว    ตํ   กุเตตฺถ  

อาวุโส   ๑   ลพฺภา   ยนฺตํ   ชาตํ  ภูตํ  สงฺขตํ  ปโลกธมฺมํ  ตํ  วต  

มา   ปลุชฺชีติ   เนตํ   €านํ   วิชฺชตีติ   เตน  โข  ปนาวุโส  สมเยน 

สุภทฺโท    นาม    วุฑฺฒปพฺพชิโต    ตสฺสํ    ปริสายํ   นิสินฺโน   โหติ  

อถโข    อาวุโส    สุภทฺโท   วุฑฺฒปพฺพชิโต   เต   ภิกฺขู   เอตทโวจ  

อลํ   อาวุโส   มา   โสจิตฺถ   มา   ปริเทวิตฺถ   สุมุตฺตา  มยํ  เตน 

มหาสมเณน    อุปทฺทูตา   จ   มยํ   โหม   อิทํ   โว   กปฺปติ   อิทํ  

โว   น   กปฺปตีติ   อิทานิ   ปน   มยํ   ยํ  อิจฺฉิสฺสาม  ตํ  กริสฺสาม  

ยํ    น    อิจฺฉิสฺสาม   น   ตํ   กริสฺสามาติ   หนฺท   มยํ   อาวุโส  

ธมฺมฺจ    วินยฺจ    สงฺคายาม    ปุเร    อธมฺโม   ทิปฺปติ   ธมฺโม 

ปฏิพาหิยติ     อวินโย     ทิปฺปติ     วินโย     ปฏิพาหิยติ     ปุเร  

อธมฺมวาทิโน    พลวนฺโต    โหนฺติ    ธมฺมวาทิโน    ทุพฺพลา   โหนฺติ 

อวินยวาทิโน พลวนฺโต โหนฺติ วินยวาทิโน ทุพฺพลา โหนฺตีติ ฯ 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *