บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย

………………………………….

บทความชุด: ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย

………………………………….

ไม่ศึกษาพระธรรมวินัยก็ไม่เห็นจะเสียหายอะไร (๐๐๗)

——————————-

ผมเข้าใจว่า ตกมาถึงกาลบัดนี้ แนวคิดหรือความคิดคำนึงที่ว่า “ไม่ศึกษาพระธรรมวินัยก็ไม่เห็นจะเสียหายอะไร” ได้ฟักตัวมาจนเติบโตขึ้นแล้ว ทั้งในหมู่ชาวบ้านและชาววัด

ในหมู่ชาวบ้านนั้นไม่ต้องสงสัย ชาวบ้านทั่วไปคิดเห็นกันอย่างนี้มาช้านานแล้ว ผลที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ก็คือ ชาวพุทธระดับรากหญ้าในสังคมไทยขาดความรู้ในหลักพระศาสนาโดยสิ้นเชิง

ทำทุกอย่างเกี่ยวกับวัด เกี่ยวกับพระ เกี่ยวกับ “งานบุญ” ด้วยความศรัทธาอย่างเต็มที่

แต่ไม่มีปัญญาที่จะวินิจฉัยหาเหตุผลที่ถูกต้องว่า เรื่องนั้นๆ ที่ถูกต้องจะต้องทำอย่างไร ทำทำไม

เมื่อเช้าใส่บาตร ลืมกรวดน้ำ มานึกได้เอาตอนเย็น จะได้บุญไหม?

ร้อยทั้งร้อยตอบตามความเข้าใจของตัวเอง

หลักพระธรรมวินัยว่าไว้อย่างไร ไม่รู้ (และคิดต่อไปว่า) ไม่รู้จะรู้ไปทำไม

นี่เป็นเพียงตัวอย่างนิดเดียว-ของผลที่กำลังเกิดขึ้น

ส่วนในหมู่ชาววัด เมื่อครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การเอาใจใส่ในการศึกษาพระธรรมวินัยยังพอมีให้เห็นเป็นที่น่าอนุโมทนาอยู่บ้าง

คำว่า “บวชเรียน” อันเป็นคำเก่าที่บ่งบอกถึงภาระหน้าที่ของผู้บวชเข้ามาในพระศาสนา ยังเป็นที่กล่าวอ้างรับรู้กันทั่วไป

แต่ตกมาถึงกาลบัดนี้ คำว่า “บวชเรียน” แทบไม่มีใครพูดถึง

…………….

ขออนุญาตเชิญชวนให้ศึกษาพระธรรมวินัยกันอีกเรื่องหนึ่ง คือ ผู้ที่บวชเข้ามาในพระศาสนานี้แล้วต้องทำ “ธุระ” อะไรบ้าง

หรือถามว่า งานของพระภิกษุสามเณรคืออะไร?

คิดเอาเอง นึกเอาเอง หาเหตุผลมาตอบเอาเอง ไม่ได้

คำตอบมีอยู่ในคัมภีร์ “ธัมมปทัฏฐกถา” (ทำ-มะ-ปะ-ทัด-ถะ-กะ-ถา)

…………….

ในพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎกมีคัมภีร์หนึ่งอยู่ในหมวดพระสูตร ชื่อ “ธมฺมปท” (ทำ-มะ-ปะ-ทะ) หรือ “ธรรมบท” (ทำ-มะ-บด) เป็นพระพุทธพจน์คำกลอน คือข้อความเป็น “คาถา” ล้วนๆ

ภาษาไทยเรียกว่ากาพย์กลอน

ภาษาบาลีเรียกว่า “คาถา”

คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาเป็นคัมภีร์อธิบายขยายความคัมภีร์ “ธรรมบท” นั้น

และแน่นอน ท่านเรียบเรียงไว้เป็นภาษาบาลี

คำว่า “ธัมมปทัฏฐกถา” แปลว่า “คำอธิบายความแห่งคัมภีร์ธรรมบท” หรือเรียกทับศัพท์ว่า “อรรถกถาธรรมบท

ความจริงคัมภีร์นี้มีชื่อเฉพาะว่า “ปรมัตถโชติกา” แต่นักเรียนบาลีแทบทั้งหมดจะไม่รู้จักชื่อนี้ จึงมักเรียกกันว่า “ธัมมปทัฏฐกถา

คัมภีร์ “ธัมมปทัฏฐกถา” ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๓ ส่วน คือ –

(๑) เรื่องเล่าถึงความเป็นมาหรือเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์ตรัสคาถาบทนั้นๆ ส่วนนี้นิยมเรียกกันว่า “ท้องนิทาน

(๒) ตัวคาถาที่ยกมาจากคัมภีร์ “ธมฺมปท” ในพระไตรปิฎก เรียกกันว่า “คาถา

(๓) คำอธิบายความหมายของคาถา เรียกกันว่า “แก้อรรถ

วิธีเรียบเรียงในคัมภีร์ “ธัมมปทัฏฐกถา” คือ ยกคาถาจากคัมภีร์ “ธมฺมปท” ในพระไตรปิฎกมาตอนหนึ่ง (ซึ่งอาจเป็นคาถาบทเดียวหรือหลายบท) โดย (๑) เล่า “ท้องนิทาน” ประกอบ (๒) แล้วอ้างคาถาบทนั้น และ (๓) อธิบายความหมายของคาถา จบลงด้วยการสรุปว่าเมื่อตรัสคาถาจบแล้วผู้ฟังบรรลุผลเช่นไร

รวมทั้ง ๓ ส่วนนี้เรียกว่า “วตฺถุ” (แปลว่า “เรื่อง-”) เช่น “จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ” = เรื่องพระเถระชื่อว่าจักขุบาล

ธัมมปทัฏฐกถา” ประกอบด้วย “วตฺถุ” คือ“เรื่อง-” ดังกล่าวนี้ทั้งหมด ๓๐๒ เรื่อง

คัมภีร์ “ธัมมปทัฏฐกถา” ที่พิมพ์เป็นบาลีอักษรไทยฉบับที่ยุติเป็นมาตรฐานในเมืองไทย คือฉบับที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดพิมพ์ แบ่งเป็น ๘ เล่ม เรียกว่า “ภาค” ตั้งแต่ “ปฐโม ภาโค” = ภาค ๑ จนถึง “อฏฺฐโม ภาโค” = ภาค ๘

วงการบาลีในเมืองไทยถ้าพูดว่า “ธรรมบท” จะเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง “ธัมมปทัฏฐกถา” หรือ “อรรถกถาธรรมบท” ดังกล่าวนี้ ไม่ได้หมายถึง “ธมฺมปท” ในพระไตรปิฎก

หลักสูตรการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยกำหนดให้ใช้คัมภีร์ “ธัมมปทัฏฐกถา” เป็นแบบเรียนวิชาแปลมคธเป็นไทย ชั้นประโยค ๑-๒ และชั้นประโยค ป.ธ. ๓ และวิชาแปลไทยเป็นมคธ ชั้นประโยค ป.ธ.๔ (เฉพาะเล่ม ปฐโม ภาโค เล่มเดียว)

กล่าวได้ว่า มหาเปรียญทั้งหมดในเมืองไทยต้องผ่านคัมภีร์ “ธัมมปทัฏฐกถา” หรือ “ธรรมบท” มาแล้วจึงจะมีสิทธิ์ใช้คำนำหน้าชื่อว่า “พระมหา”

…………….

รู้จักหน้าตาของคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาแล้ว ต่อไปนี้มาเจาะเข้าจุดที่ต้องการ

คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑ เรื่องแรกชื่อ “จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ” แปลเป็นไทยว่า “เรื่องพระเถระชื่อว่าจักขุบาล” สรุปใจความที่ต้องการว่า มีพี่น้อง ๒ คนชาวเมืองสาวัตถี เป็นพ่อค้า วันหนึ่ง พี่ชายไปฟังพระธรรมเทศนาที่วัดเชตวัน เกิดศรัทธา เลยออกบวช

หัวใจของเรื่องอยู่ตรงนี้ คือเมื่อบวชแล้วท่านทูลถามพระพุทธองค์ว่า –

…………….

ภนฺเต  อิมสฺมึ  สาสเน  กติ  ธุรานิ.

พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้มีธุระกี่อย่าง?

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า –

คนฺถธุรํ  วิปสฺสนาธุรนฺติ  เทฺวเยว  ธุรานิ  ภิกฺขุ.

ดูก่อนภิกษุ มีธุระ ๒ อย่างเท่านั้น คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ

ทูลถามอีกว่า –

กตมํ  ปน  ภนฺเต  คนฺถธุรํ  กตมํ  วิปสฺสนาธุรํ.

พระเจ้าข้า คันถธุระเป็นอย่างไร? วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร?

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า –

อตฺตโน  ปญฺญานุรูเปน  เอกํ  วา  เทฺว  วา  นิกาเย  สกลํ  วา  ปน  เตปิฏกํ  พุทฺธวจนํ  อุคฺคณฺหิตฺวา  ตสฺส  ธารณํ  กถนํ  วาจนนฺติ  อิทํ  คนฺถธุรํ  นาม.

การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตน แล้วทรงจำไว้ บอกกล่าวสั่งสอน นี้ชื่อว่าคันถธุระ

สลฺลหุกวุตฺติโน  ปน  ปนฺตเสนาสนาภิรตสฺส  อตฺตภาเว  ขยวยํ  ปฏฺฐเปตฺวา  สาตจฺจกิริยาวเสน  วิปสฺสนํ  วฑฺเฒตฺวา  อรหตฺตคฺคหณนฺติ  อิทํ  วิปสฺสนาธุรํ  นาม. 

การที่ภิกษุมีความประพฤติปลอดโปร่ง (ไม่ติดข้องอยู่ด้วยภาระหรือความปรารถนาต่างๆ) ยินดีพอใจอยู่ในที่สงบสงัด กำหนดพิจารณาความความแตกดับของสังขาร จำเริญวิปัสสนาติดต่อกันไปไม่ขาดสาย จนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัตผล นี้ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ

…………….

ธุระหน้าที่ของผู้ที่บวชเข้ามาในพระศาสนามีแค่ ๒ อย่างเท่านี้

ถ้าผู้ที่บวชเข้ามาในพระศาสนายังทำธุระ ๒ อย่างนี้อยู่อย่างเข้มแข็งมั่นคง พระศาสนาก็ยังดำเนินสืบทอดต่อไปได้

ถ้าผู้ที่บวชเข้ามาในพระศาสนาไม่ทำธุระ ๒ อย่างนี้ พระศาสนาก็ไปไม่รอด

อันที่จริง พระภิกษุสามเณรที่เรียนบาลีก็ได้เรียนเรื่องนี้กันมาแล้วทั้งนั้น แต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งในกระบวนการเรียนบาลีของเราก็คือ เพ่งเน้นไปที่การแปลศัพท์ให้ได้ เดินประโยคถูกต้อง แปลออกแปลได้ ทำข้อสอบถูกต้อง ก็จบภารกิจเพียงแค่นั้น

เนื้อหาเรื่องราวที่แปลว่าด้วยเรื่องอะไร มีแง่คิด มีข้อที่ควรคำนึงน้อมนำไปปฏิบัติอย่างไรบ้าง – ไม่ได้อยู่ในความสนใจ

คือเรียนภาษา แต่ไม่ได้มุ่งเรียนพระธรรมวินัย

ผมเข้าใจว่าแม้เวลานี้ก็ยังคงเป็นแบบนั้นอยู่

นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่สมควรปรับทัศนคติกันใหม่ มิเช่นนั้นเราจะหลงทางกันอยู่อย่างนี้

คือต้องปรับแก้เป็น-มุ่งเรียนพระธรรมวินัยโดยใช้ภาษาบาลีเป็นสะพาน

ไม่ใช่เรียนแต่ภาษาบาลี แล้วจบอยู่แค่นั้น ไม่ต่อไปให้ถึงพระธรรมวินัย

…………….

บทความชุดนี้มุ่งแบ่งปันความรู้ พร้อมกับปลุกจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของการศึกษาพระธรรมวินัย

ถ้าพระภิกษุสามเณรพากันคิดเห็นไปว่า-ไม่ศึกษาพระธรรมวินัยก็ไม่เห็นจะเสียหายอะไร

พระพุทธศาสนาในบ้านเมืองเราก็ถึงกาลอวสาน

จะศึกษาเรื่องอื่นๆ กันอย่างไร ก็ไม่ว่า

แต่ขออาราธนาให้ศึกษาพระธรรมวินัยด้วย-อย่างน้อยก็อย่าให้น้อยไปกว่าที่ศึกษาเรื่องอื่น

พระไตรปิฎกมีอยู่แล้วทุกวัด วัดละหลายชุด

เวลานี้ไม่ต้องเปิดเล่มกระดาษก็ยังได้ เปิดทางอินเตอร์เน็ตอ่านได้สะดวกสบาย

ภาษาบาลีก็เรียนกันมาแล้ว พอจะจับจะคลำใช้งานได้

ถ้ายังไม่เคยเรียน ก็ยังไม่สายที่จะลงมือเรียนรู้

ธุระที่จะต้องทำในพระศาสนา ก็เรียนรู้มาแล้วว่าคืออะไรบ้าง

การไม่ศึกษาพระธรรมวินัยคือความบรรลัยของพระศาสนา – ความจริงข้อนี้ก็มีผู้บอกกล่าวเตือนสติกันอยู่เสมอ

แล้วยังจะรออะไรอยู่อีก

กราบอาราธนาด้วยความเคารพขอรับ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒ ตุลาคม ๒๕๖๒

๑๑:๔๐

……….

คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธรรมบท แห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสาจารย์นำเนื้อความในอรรถกถาเก่าที่ใช้ศึกษาและรักษาสืบต่อกันมาในลังกาทวีป อันเป็นภาษาสิงหฬ เอามาเรียบเรียงกลับขึ้นเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ ดังที่ท่านเล่าไว้ในปณามคาถาของคัมภีร์นี้ว่า พระกุมารกัสสปเถระ (พระเถระรูปหนึ่งในลังกาทวีป ไม่ใช่ท่านที่เป็นมหาสาวกในพุทธกาล) คิดหวังว่า “อรรถกถาแห่งพระธรรมบทอันละเอียดลึกซึ้ง ที่นำสืบกันมาในตามพปัณณิทวีป ดำรงอยู่โดยภาษาของชาวเกาะ ไม่ช่วยให้ประโยชน์สำเร็จพร้อมบูรณ์แก่คนพวกอื่นที่เหลือได้ ทำอย่างไรจะให้อรรถกถาแห่งพระธรรมบทนั้นยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่โลกทั้งปวงได้” จึงได้อาราธนาท่านให้ทำงานนี้ และท่านก็ได้นำอรรถกถานั้นออกจากภาษาสิงหฬ ยกขึ้นสู่ตันติภาษา (ภาษาที่มีแบบแผน ในที่นี้หมายถึงภาษาบาลี), ธัมมปทัฏฐกถานี้ รวมอยู่ในชุดที่มีชื่อเฉพาะว่า ปรมัตถโชติกา

————

ธัมมปทัฏฐกถา

คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธรรมบท แห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสาจารย์นำเนื้อความในอรรถกถาเก่าที่ใช้ศึกษาและรักษาสืบต่อกันมาในลังกาทวีป อันเป็นภาษาสิงหฬ เอามาเรียบเรียงกลับขึ้นเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ ดังที่ท่านเล่าไว้ในปณามคาถาของคัมภีร์นี้ว่า พระกุมารกัสสปเถระ (พระเถระรูปหนึ่งในลังกาทวีป ไม่ใช่ท่านที่เป็นมหาสาวกในพุทธกาล) คิดหวังว่า “อรรถกถาแห่งพระธรรมบทอันละเอียดลึกซึ้ง ที่นำสืบกันมาในตามพปัณณิทวีป ดำรงอยู่โดยภาษาของชาวเกาะ ไม่ช่วยให้ประโยชน์สำเร็จพร้อมบูรณ์แก่คนพวกอื่นที่เหลือได้ ทำอย่างไรจะให้อรรถกถาแห่งพระธรรมบทนั้นยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่โลกทั้งปวงได้” จึงได้อาราธนาท่านให้ทำงานนี้ และท่านก็ได้นำอรรถกถานั้นออกจากภาษาสิงหฬ ยกขึ้นสู่ตันติภาษา (ภาษาที่มีแบบแผน ในที่นี้หมายถึงภาษาบาลี), ธัมมปทัฏฐกถานี้ รวมอยู่ในชุดที่มีชื่อเฉพาะว่า ปรมัตถโชติกา; ดู ปรมัตถโชติกา, อรรถกถา, โปราณัฏฐกถา

ปรมัตถโชติกา

ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความใน ขุททกปาฐะ ธรรมบท สุตตนิบาต และชาดก แห่งพระสุตตันตปิฎก ซึ่งพระพุทธโฆสาจารย์นำเนื้อความในอรรถกถาเก่าที่ใช้ศึกษาและรักษาสืบต่อกันมาในลังกาทวีป อันเป็นภาษาสิงหฬ เอามาเรียบเรียงกลับขึ้นเป็นภาษาบาลี เพื่อให้ใช้ประโยชน์ในที่อื่นนอกจากลังกาทวีปได้ด้วย เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐, มีบางท่านสันนิษฐานว่า พระพุทธโฆสาจารย์อาจจะมีคณะทำงาน โดยท่านเป็นหัวหน้าในการดำเนินงานแปลและเรียบเรียงทั้งหมดนั้น; ดู อรรถกถา, โปราณัฏฐกถา

————

๑. จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ [๑] ธมฺมปทฏฐกถา (ปฐโม ภาโค) – หน้าที่ 7

ปพฺพชิสฺสาเมวาหํ  ตาตาติ.  ตสฺส  วิรวนฺตสฺเสว  สตฺถุ  สนฺติกํ  คนฺตฺวา  ปพฺพชฺชํ  ยาจิตฺวา  ลทฺธปพฺพชฺชูปสมฺปโท  อาจริยุปชฺฌายานํ  สนฺติเก  ปญฺจ  วสฺสานิ  วสิตฺวา  วุตฺถวสฺโส  ปวาเรตฺวา  สตฺถารํ  อุปสงฺกมิตฺวา  วนฺทิตฺวา  ปุจฺฉิ  ภนฺเต  อิมสฺมึ  สาสเน  กติ  ธุรานีติ.  คนฺถธุรํ  วิปสฺสนาธุรนฺติ  เทฺวเยว  ธุรานิ  ภิกฺขูติ.  กตมํ  ปน  ภนฺเต  คนฺถธุรํ  กตมํ  วิปสฺสนาธุรนฺติ.  อตฺตโน  ปญฺญานุรูเปน  เอกํ  วา  เทฺว  วา  นิกาเย  สกลํ  วา  ปน  เตปิฏกํ  พุทฺธวจนํ  อุคฺคณฺหิตฺวา  ตสฺส  ธารณํ  กถนํ  วาจนนฺติ  อิทํ  คนฺถธุรํ  นาม.  สลฺลหุกวุตฺติโน  ปน  ปนฺตเสนาสนาภิรตสฺส  อตฺตภาเว  ขยวยํ  ปฏฺฐเปตฺวา  สาตจฺจกิริยาวเสน  วิปสฺสนํ  วฑฺเฒตฺวา  อรหตฺตคฺคหณนฺติ  อิทํ๑  วิปสฺสนาธุรํ  นามาติ.  ภนฺเต  อหํ  มหลฺลกกาเล  ปพฺพชิโต  คนฺถธุรํ  ปูเรตุํ  น  สกฺขิสฺสามิ  วิปสฺสนาธุรํ  ปน  ปูเรสฺสามิ  กมฺมฏฺฐานํ  เม  กเถถาติ.  อถสฺส  สตฺถา  ยาว  อรหตฺตา  กมฺมฏฺฐานํ  กเถสิ.  โส  สตฺถารํ  วนฺทิตฺวา  อตฺตนา  สหคามิโน  ภิกฺขู  ปริเยสนฺโต  สฏฺฐี  ภิกฺขู  ลภิตฺวา  เตหิ  สทฺธึ  นิกฺขมิตฺวา  วีสโยชนสตมคฺคํ  คนฺตฺวา  เอกํ  มหนฺตํ  ปจฺจนฺตคามํ  ปตฺวา  ตตฺถ  สปริวาโร  ปิณฺฑาย  ปาวิสิ. 

        มนุสฺสา  วตฺตสมฺปนฺเน  ภิกฺขู  ทิสฺวา  ปสนฺนจิตฺตา  อาสนานิ   ปญฺญาเปตฺวา  นิสีทาเปตฺวา  ปณีเตนาหาเรน  ปริวิสิตฺวา  ภนฺเต  กุหึ  อยฺยา  คจฺฉนฺตีติ  ปุจฺฉิตฺวา  ยถาผาสุกฏฺฐานํ  อุปาสกาติ 

 ๑. กตฺถจิ อิติ อิทนฺติ น ทิสฺสติ.

ธมฺมปทฏฐกถา (ปฐโม ภาโค) – หน้าที่ 8

วุตฺเต  ปณฺฑิตมนุสฺสา  วสฺสาวาสํ  เสนาสนํ  ปริเยสนฺติ  ภทนฺตาติ  ญตฺวา  ภนฺเต  สเจ  อยฺยา  อิมํ  เตมาสํ  อิธ  วเสยฺยุํ   มยํ  สรเณสุ  ปติฏฺฐาย  สีลานิ  คณฺเหยฺยามาติ  อาหํสุ.  เตปิ  มยํ  อิมานิ  กุลานิ  นิสฺสาย  ภวนิสฺสรณํ  กริสฺสามาติ  อธิวาเสสส.  มนุสฺสา  เตสํ  ปฏิญฺญํ  คเหตฺวา  วิหารํ  ปฏิชคฺคิตฺวา  รตฺติฏฺฐานทิวาฏฺฐานานิ  สมฺปาเทตฺวา  อทํสุ.  เต  นิพทฺธํ  ตเมว  คามํ  ปิณฺฑาย  ปวิสนฺติ.  อถ  เน  เอโก  เวชฺโช  อุปสงฺกมิตฺวา  ภนฺเต  พหุนฺนํ  วสนฏฺฐาเน  อผาสุกํปิ  นาม  โหติ  ตสฺมึ  อุปฺปนฺเน  มยฺหํ  กเถยฺยาถ  เภสชฺชํ  กริสฺสามีติ  ปวาเรสิ. 

        เถโร    วสฺสูปนายิกาทิวเส   เต   ภิกฺขู   อามนฺเตตฺวา   ปุจฺฉิ

อาวุโส   อิมํ   เตมาสํ  กตีหิ  อิริยาปเถหิ  วีตินาเมสฺสถาติ.  จตูหิ

ภนฺเตติ.   กึ   ปเนตํ  อาวุโส  ปฏิรูปํ  นนุ  อปฺปมตฺเตหิ  ภวิตพฺพํ

มยํ   หิ  ธรมานสฺส  พุทฺธสฺส  สนฺติกา  กมฺมฏฺฐานํ  คเหตฺวา  อาคตา

พุทฺธา   จ   นาม   น  สกฺกา  สเฐน  อาราเธตุํ  กลฺยาณชฺฌาสเยน 

เหเต   อาราเธตพฺพา   ปมตฺตสฺส   จ   นาม   จตฺตาโร   อปายา

สกเคหสทิสา   อปฺปมตฺตา   โหถาวุโสติ.   ตุมฺเห   ปน   ภนฺเตติ.

อหํ   ตีหิ   อิริยาปเถหิ   วีตินาเมสฺสามิ   ปิฏฺฐึ   น  ปสาเรสฺสามิ

อาวุโสติ. สาธุ ภนฺเต อปฺปมตฺตา โหถาติ. 

        เถรสฺส  นิทฺทํ  อโนกฺกมนฺตสฺส  ปฐมมาเส  อติกฺกนฺเต อกฺขิโรโค

อุปฺปชฺชิ.   ฉิทฺทฆฏโต   อุทกธารา   วิย   อกฺขีหิ   ธารา  ปคฺฆรนฺติ.

โส  สพฺพรตฺตึ  สมณธมฺมํ  กตฺวา  อรุณุคฺคมเน  คพฺภํ  ปวิสิตฺวา  นิสีทิ.

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๑ – หน้าที่ 10

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ถวายบังคมแล้ว  ทูลถามว่า  “พระเจ้าข้า  ใน

พระศาสนานี้  มีธุระกี่อย่าง ?”

                              [ธุระ ๒  อย่างในพระศาสนา]

        พระศาสนาตรัสตอบว่า   “ภิกษุ  ธุระมี ๒ อย่าง คือ  คันถธุระ

(กับ)  วิปัสสนาธุระ  เท่านั้น.”

        พระมหาปาละทูลถามว่า  “พระเจ้าข้า  ก็คันถธุระเป็นอย่างไร ?

วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร ?”

        ศ.  ธุระนี้  คือ  การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี  สองนิกายก็ดี  จบ

พุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี  ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรง

ไว้  กล่าว  บอก  พุทธวจนะนั้น  ชื่อว่าคันถธุระ. ส่วนการเริ่มตั้งความ

สิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ  ยังวิปัสสนาให้เจริญ  ด้วยอำนาจ

แห่งการทำการติดต่อแล้ว  ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติ

แคล่วคล่อง  ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะอันสงัด  ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ.

         ม.  พระเจ้าข้า  ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่  ไม่สามารถจะ

บำเพ็ญคัณถธุระให้บริบูรณ์ได้,  แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์,

ขอพระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด.

                    [พระมหาปาละเดินทางไปบ้านปลายแดน]

        ลำดับนั้น  พระศาสดา ได้ตรัสบอกพระกรรมฐานตลอดถึงพระ

อรหัตแก่พระมหาปาละ. ท่านถวายบังคมพระศาสดาแล้ว  แสวงหา

ภิกษุผู้จะไปกับตน  ได้ภิกษุ ๖๐ รูปแล้ว  ออกพร้อมกับเธอทั้งหลาย

ไปตลอดทาง  ๑๒๐ โยชน์  ถึงบ้านปลายแดนหมู่ใหญ่ตำบลหนึ่ง  จึง

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๑ – หน้าที่ 11

พร้อมด้วยบริวาร  เข้าไปบิณฑบาต ณ  บ้านนั้น.

               [ชาวบ้านเสื่อมใสอาราธนาให้อยู่จำพรรษา]

        หมู่มนุษย์  เห็นภิกษุทั้งหลาย  ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร  มีจิต

เสื่อมใส  แต่งอาสนะแล้วนิมนต์ให้นั่ง  อังคาสด้วยอาหารอันประณีต

แล้ว ถามว่า ” ท่านเจ้าข้า  พระผู้เป็นเจ้าจะไปที่ไหน ?”  เมื่อเธอ

ทั้งหลายกล่าวตอบว่า  “อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย  เราจะไปสู่ที่

ตามผาสุก”  ดังนี้แล้ว,  มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตรู้ว่า  “ท่านผู้เจริญ  ทั้งหลาย

แสวงหาเสนาสนะที่จำพรรษา,”  จึงกล่าวอาราธนาว่า  “ท่านผู้เจริญ

ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย  พึงอยู่ ณ  ที่นี่ตลอดไตรมาสนี้  ข้าพเจ้า

ทั้งหลาย  จะพึงตั้งอยู่ในสรณะแล้วถือศีล.”  แม้เธอทั้งหลายก็คิดเห็น

ว่า  “เราได้อาศัยตระกูลเหล่านี้  จักทำการออกไปจากภพได้” ดังนี้

จึงรับนิมนต์. หมู่มนุษย์รับปฏิญญาของเธอทั้งหลายแล้ว ได้  (ช่วย

กัน)  ปัดกวาดวิหาร  จัดที่อยู่ในกลางคืน  และที่อยู่ในกลางวันแล้วมอบ

ถวาย.  เธอทั้งหลาย  เข้าไปบิณฑบาตบ้านนั้นตำบลเดียวเป็นประจำ.

ครั้งนั้น  หมอผู้หนึ่งเข้าไปหาเธอทั้งหลาย  ปวารณาว่า  “ท่านผู้เจริญ

ธรรมดาในที่อยู่ของคนมาก  ย่อมมีความไม่ผาสุกบ้าง.  เมื่อความไม่

ผาสุกนั้นเกิดขึ้นแล้ว  ท่านทั้งหลายพึงบอกแก่ข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าจักทำ

เภสัชถวาย.”

                            [พระมหาปาละถือเนสัชชิกธุดงค์]

        ในวันจำพรรษา   พระเถระเรียกภิกษุเหล่านั้นมา  (พร้อมกัน)

๑.  วสฺสูปนายิกทิวเส.

——–

[26] ธุระ 2 (หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา — Dhura: burden; task; business; responsibility in the Dispensation)

1. คันถธุระ (ธุระฝ่ายคัมภีร์, กิจด้านการเล่าเรียน — Gantha-dhura: burden of study; task of learning)

2. วิปัสสนาธุระ (ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนา, กิจด้านการบำเพ็ญภาวนา หรือเจริญกรรมฐาน อันรวมทั้งสมถะที่เป็นเบื้องต้น ซึ่งเรียกรวมเข้าไว้ด้วยโดยฐานมีวิปัสสนาเป็นส่วนสำคัญและคลุมยอด — Vipassanā-dhura: burden of insight development; task of meditation practice)

ธุระ 2 นี้ มาในอรรถกถา

DhA.I.7. ธ.อ.1/7.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *