บาลีวันละคำ

กยิรา เจ กยิราเถนํ (บาลีวันละคำ 100)

กยิรา เจ กยิราเถนํ

เป็นธรรมภาษิตของเทวดาตนหนึ่งที่มาเฝ้าพระพุทธองค์แล้วขับลำนำถวาย ข้อความเต็มๆ มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๒๓๙ ดังนี้ –

กยิรา เจ กยิราเถนํ        

ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม 

สิถิโล หิ ปริพฺพาโช        

ภิยฺโย อากิรเต รชํ.

(กะยิรา เจ กะยิราเถนัง

ทัฬหะเมนัง ปะรักกะเม 

สิถิโล หิ ปริพพาโช        

ภิยโย อากิระเต ระชัง)

กยิรา เจ กยิราเถนํ แปล word by word ดังนี้ –

เจ ถ้าว่า

กยิรา จะพึงทำ

กยิราถ ก็พึงทำ

เอนํ ซึ่งความเพียรนั้น

แปลถอดความทั้งบท ดังนี้ –

ถ้าจะทำ พึงเพียรทำจริงๆ

พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น

เพราะการทำดีย่อหย่อน

ยิ่งโปรยปรายโทษให้มากยิ่งขึ้น

แปลเป็นร้อยกรอง –

ถ้าจะทำ ทำทันที

มุ่งทำความดีจงแน่วแน่

ทำหน้าที่ย่อหย่อนอ่อนแอ

มีแต่จะสกปรกรกรุงรัง

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ “เสด็จเตี่ย” องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย ทรงยึดถือธรรมภาษิต “กยิรา เจ กยิราเถนํ” เป็นคติธรรมประจำพระองค์

(Navyblue Abhakara โพสต์คาถาประจำพระองค์เมื่อ 7-8-2555 เป็นแรงบันดาลใจให้เขียน “บาลีวันละคำ” ตอนที่ 100 นี้ – ขอขอบพระคุณ)

บาลีวันละคำ (100)

16-8-55

ห้องพระ

19-5-56

กยิรา เจ กยิราเถนํ       ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม 

สิถิโล หิ ปริพฺพาโช       ภิยฺโย อากิรเต รชํ. 

ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ

พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น

เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน

ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี

กยิรา เจ กยิราเถนนฺติ ยทิ วิริยํ (๔) กเรยฺยาถ ต วิริย น โอสกฺเกยฺย ฯ

บทว่า  กยิรา  เจ  กยิราเถนํ  ความว่า ถ้าบุคคลพึงทำความเพียรไซร้ ก็ไม่พึงลดถอยความเพียรนั้น.    

ทฬฺหเมตํ ปรกฺกเมติ เอนํ ทฬฺหํ  กเรยฺย ฯ

บทว่า  ทฬฺหเมนํ  ปรกฺกเม  ความว่า พึงทำความเพียรนั้นให้มั่นคง.

สิถิโล หิ ปริพฺพาโชติ  สิถิลคหิตา  ปพฺพชฺชา ฯ 

บทว่า  สิถิโล  หิ  ปริพฺพาโช  ได้แก่ บรรพชาที่ถือไว้หย่อน ๆ.  

ภิยฺโย อากิรเต รชนฺติ อติเรก อุปริ กิเลสรช อากิรติ ฯ

บทว่า   ภิยฺโย   อากรเต  รชํ  ความว่า พึงโปรยธุลีคือกิเลสไว้เบื้องบนมากมาย.   

ตายนสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๒๓๘-๒๔๐

สารัตถปกาสินี ภาค ๑ หน้า ๑๔๕-๑๔๗

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลเล่ม ๒๔ หน้า ๓๓๖ –

Navyblue Abhakara

โพสต์เมื่อ 7-8-2555

“กยิราเจ กยิราเถนัง”

อันหมายถึง กระทําสิ่งใดควรทําให้จริง

เป็นคติธรรมกำกับอยู่กับตราประจำพระองค์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ “เสด็จเตี่ย”

สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๒๓๙, ๒๔๐ 

                        อฏฺํมํ ตายนสุตฺตํ 

        [๒๓๘]  อถ  โข  ตายโน  เทวปุตฺโต  ปุราณติตฺถกโร  อภิกฺกนฺตาย 

รตฺติยา    อภิกฺกนฺตวณฺโณ   เกวลกปฺปํ   เชตวนํ   โอภาเสตฺวา   เยน 

ภควา   เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ   อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ 

อฏฺําสิ ฯ 

        [๒๓๙]  เอกมนฺตํ  โต  โข  ตายโน  เทวปุตฺโต  ภควโต สนฺติเก 

อิมา คาถาโย อภาสิ 

                ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม        กาเม ปนูท พฺราหฺมณ 

                นปฺปหาย มุนิ กาเม        เนกตฺตมุปปชฺชติ 

                กยิรา เจ กยิราเถนํ       ทฬฺหเมน ปรกฺกเม 

                สิถิโล หิ ปริพฺพาโช        ภิยฺโย อากิรเต รช 

#๑ สี. ฌานมพุทฺธาพุทฺโธ ฯ  ๒ สี. ยุ. วาปิ วินฺทนฺติ ฯ  

                อกต ทุกฺกฏ เสยฺโย        ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏ 

                กตฺจ สุกต เสยฺโย        ย กตฺวา นานุตปฺปติ 

                กุโส ยถา ทุคฺคหิโต        หตฺถเมวานุกนฺตติ 

                สามฺ ทุปฺปรามฏฺ        นิรยายูปกฑฺฒติ 

                ยงฺกิฺจิ สิถิล กมฺม         สงฺกิลิฏฺฺจ ย วต 

                สงฺกสฺสร พฺรหฺมจริย        น ต โหติ มหปฺผลนฺติ ฯ 

อิทมโวจ   ตายโน   เทวปุตฺโต   อิท   วตฺวา   ภควนฺต  อภิวาเทตฺวา 

ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ 

        [๒๔๐]  อถ  โข  ภควา  ตสฺสา รตฺติยา อจฺจเยน ภิกฺขู อามนฺเตสิ 

อิม    ภิกฺขเว    รตฺตึ   ตายโน   นาม   เทวปุตฺโต   ปุราณติตฺถกโร 

อภิกฺกนฺตาย   รตฺติยา  อภิกฺกนฺตวณฺโณ  เกวลกปฺป  เชตวน  โอภาเสตฺวา 

เยนาห    เตนุปสงฺกมิ    อุปสงฺกมิตฺวา   ม   อภิวาเทตฺวา   เอกมนฺต 

อฏฺาสิ   เอกมนฺต   ิโต   โข   ตายโน   เทวปุตฺโต   มม  สนฺติเก 

อิมา คาถาโย อภาสิ 

                ฉินฺท โสต ปรกฺกมฺม        กาเม ปนูท พฺราหฺมณ 

                นปฺปหาย มุนิ กาเม        เนกตฺตมุปปชฺชติ 

                กยิรา เจ กยิราเถน       ทฬฺหเมน ปรกฺกเม 

                สิถิโล หิ ปริพฺพาโช        ภิยฺโย อากิรเต รช 

                อกต ทุกฺกฏ เสยฺโย        ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏ 

                กตฺจ สุกต เสยฺโย        ย กตฺวา นานุตปฺปติ  

                กุโส ยถา ทุคฺคหิโต        หตฺถเมวานุกนฺตติ 

                สามฺ ทุปฺปรามฏฺ        นิรยายูปกฑฺฒติ 

                ยงฺกิฺจิ สิถิล กมฺม         สงฺกิลิฏฺฺจ ย วต 

                สงฺกสฺสร พฺรหฺมจริย        น ต โหติ มหปฺผลนฺติ ฯ 

อิทมโวจ   ภิกฺขเว   ตายโน  เทวปุตฺโต  อิท  วตฺวา  ม  อภิวาเทตฺวาถ 

ปทกฺขิณ   กตฺวา   ตตฺเถวนฺตรธายิ   อุคฺคณฺหาถ   ภิกฺขเว   ตายนคาถา 

ปริยาปุณาถ    ภิกฺขเว   ตายนคาถา   ธาเรถ   ภิกฺขเว   ตายนคาถา 

อตฺถสฺหิตา ภิกฺขเว ตายนคาถา อาทิพฺรหฺมจริยกาติ ฯ 

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 336

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๒๔ หน้า ๓๓๖-                                     

 ๘.  ตายนสูตร

         [๒๓๘]   ครั้งนั้น    ตายนเทวบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิมาเก่าก่อน    เมื่อสิ้น

ราตรีปฐมยาม  มีวรรณะอันงามยิ่งนัก   ทำพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วแล้ว   เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วได้ยืนอยู่   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

         [๒๓๙]   ตายนเทวบุตร   ยืนอยู่   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว

คาถาเหล่านี้   ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

                             ท่านจงพยายามตักกระแสตัณหา  จง

                   บรรเทากามเสียเถิดพราหมณ์.

                             มุนีไม่ละกาม   ย่อมเข้าไม่ถึงความที่

                   จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้    ถ้าบุคคลจะพึง

                   ทำความเพียร  พึงทำความเพียรนั้นจริง ๆ

                   พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น  เพราะ

                   ว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน  ยิ่งโปรย

                   โทษดุจธุลี.

                             ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า

                   ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.

                             ก็กรรมใดทำแล้ว    ไม่เดือดร้อนใน

                   ภายหลัง    กรรมนั้นเป็นความดี    ทำแล้ว

                   ประเสริฐกว่า     หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี

                   ย่อมบาดมือนั่นเอง  ฉันใด.

                             ความเป็นสมณะ.   อันบุคคลปฏิบัติ

                   ไม่ดี   ย่อมฉุดเข้าไปในนรก  ฉันนั้น.

                             กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง

                   วัตรอันใด  ที่เศร้าหมอง  และพรหมจรรย์ที่

                   น่ารังเกียจ  ทั้งสามอย่างนั้น  ไม่มีผลมาก.

         ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว  ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง.                       

         [๒๔๐]   ครั้งนั้น   โดยล่วงราตรีนั้นไป   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายมาว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    เมื่อคืนนี้    เทวบุตรนามว่าตายนะ

ผู้เป็นเจ้าลัทธิแต่เก่าก่อนเมื่อสิ้นราตรีปฐมยาม  มีวรรณะงามยิ่งนัก  ทำพระวิหาร

เชตวันให้สว่าง   เข้ามาหาเรา    อภิวาทเราแล้ว   ได้ยืนอยู่   ณ   ที่ควรส่วนข้าง-

หนึ่ง   ตายนเทวบุตรกล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของเราว่า

                             ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา   จง

                   บรรเทากามเสียเถิดพราหมณ์.

                             มุนีไม่ละกาม   ย่อมเข้าไม่ถึงความที่

                   จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้    ถ้าบุคคลจะพึง

                   ทำความเพียร   พึงทำความเพียรนั้นจริง ๆ

                   พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น   เพราะ

                   ว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน  ยิ่งโปรย

                   โทษดุจธุลี.

                             ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า

                   ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.

                             ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนใน

                   ภายหลัง   กรรมนั้นเป็นความดี   ทำแล้ว

                   ประเสริฐกว่า  หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี

                   ย่อมบาดมือนั่นเอง  ฉันใด.

                             ความเป็นสมณะ    อันบุคคลปฏิบัติ

                   ไม่ดี  ย่อมฉุดเข้าไปในนรก   ฉันนั้น.

                             กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง

                   วัตรอันใดที่เศร้าหมอง  และพรหมจรรย์ที่

                   น่ารังเกียจ  ทั้งสามอย่างนั้น   ไม่มีผลมาก.

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว     ก็อภิวาท

เราทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้ง

หลาย   จงศึกษา   จงเล่าเรียน    จงทรงจำตายนคาถาไว้    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์  เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

                                           อรรถกถาตายนสูตร

         พึงทราบวินิจฉัยในตายนสูตรที่  ๘  ต่อไป :-

         บทว่า  ปุราณติตฺถกโร  แปลว่า  ผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน.  ในคำว่า

ปุราณติตฺถกโร   นั้น  ทิฎฐิ  ๖๒  ชื่อว่า  ลัทธิ  [ติตถ]. ศาสดาผู้ก่อกำเนิด

ลัทธิเหล่านั้น  ชื่อว่า  เจ้าลัทธิ  คือใคร.  คือ  นันทะ  มัจฉะ  กิสะ  สังกิจจะ

และที่ชื่อว่า  เดียรถีย์ทั้งหลาย  มีปุรณะเป็นต้น.    ถามว่า    ก็ตายนเทพบุตรนี้

ก่อทิฎฐิขึ้นแล้วบังเกิดในสวรรค์ได้อย่างไร.      ตอบว่า    เพราะเป็นกัมมวาที.

ได้ยินว่า  ตายนเทพบุตรนี้  ได้ให้อาหารในวันอุโบสถเป็นต้น     เริ่มตั้งอาหาร

ไว้สำหรับคนอนาถา  ทำที่พัก  ให้ขุดสระโบกขรณีทั้งหลาย ได้ทำความดีมาก

แม้อย่างอื่น.   เพราะผลวิบากแห่งความดีนั้น   เขาจึงบังเกิดในสวรรค์     แต่เขา

ไม่รู้ว่า  พระศาสนาเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์.   เขามายังสำนักพระตถาคต

ด้วยประสงค์จะกล่าวคาถาคำร้อยกรอง ประกอบด้วยความเพียรอันเหมาะแก่

พระศาสนา  จึงกล่าวคาถาว่า  ฉินฺท  โสต   ดังนี้เป็นต้น.

         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ฉินฺท  เป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน.   

บทว่า  โสต  ได้แก่กระแสตัณหา. 

บทว่า   ปรกฺกม   ได้แก่  ทำความเพียร.  

บทว่า  กาเม  ได้แก่  กิเลสกามบ้าง  วัตถุกามบ้าง. 

บทว่า  ปนูท  แปลว่า  จงนำออก.

บทว่า เอกตฺต ได้แก่  ฌาน.  ท่านอธิบายว่า  มุนีไม่ละกามทั้งหลาย  ย่อมไม่

เข้าถึง  คือไม่ได้ฌาน.  

บทว่า  กยิรา  เจ  กยิราเถน   ความว่า   ถ้าบุคคลพึงทำความเพียรไซร้    ก็ไม่พึงท้อถอยความเพียรนั้น.    

บทว่า  ทฬฺหเมน  ปรกฺกเม  ความว่า  พึงทำความเพียรนั้นให้มั่นคง.

บทว่า  สิถิโล  หิ  ปริพฺพาโช  ได้แก่ บรรพชาที่ถือไว้หย่อน ๆ.  

บทว่า   ภิยฺโย  อากรเต  รช  แปลว่า  พึงโปรยธุลีคือกิเลสไว้เบื้องบนมากมาย.   

บทว่า  อกต  ทุกฺกฏ  เสยฺโย  แปลว่า  ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า. 

บทว่า  ยงฺกิญฺจิ  ความว่า  มิใช่แต่สามัญญผล คุณเครื่องเป็นสมณะที่ผู้บวชทำชั่วทำไว้อย่างเดียว แม้กิจกรรมอย่างอื่นอะไร ๆ ที่ผู้บวชทำย่อหย่อน ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.

บทว่า  สงฺกิลิฏฺ  ความว่า วัตรที่ทำได้ยาก คือธุดงควัตรที่สมาทานเพราะ

ปัจจัยลาภเป็นเหตุในพระศาสนานี้  ก็เศร้าหมองทั้งนั้น.   

บทว่า  สงฺกสฺสร  ได้แก่ ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ คือที่สงสัย รังเกียจอย่างนี้ว่า  แม้ข้อนี้ก็จักเป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว  แม้ข้อนี้ก็จักเป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว. 

บทว่า  อาทิพฺรหฺมจริยกา  ได้แก่  เป็นเบื้องต้น  คือ เป็นที่ปรากฏแห่งมรรคพรหมจรรย์.

                                จบอรรถกถาตายนสูตรที่  ๘

———-

ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๓๒

ธมฺมปทคาถาย ทฺวาวีสติโม นิรยวคฺโค 

       [๓๒] ๒๒ อภูตวาที นิรย อุเปติ 

               โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห 

               อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ 

               นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ ฯ 

          กาสาวกณฺา พหโว        ปาปธมฺมา อสฺตา 

          ปาปา ปาเปหิ กมฺเมหิ      นิรยนฺเต อุปปชฺชเร ฯ 

#๑ อฺตฺถ รตฺตึ ขิตฺตาติปิ ทิสฺสติ ฯ  

          เสยฺโย อโยคุโฬ ภุตฺโต     ตตฺโต อคฺคิสิขูปโม 

          ยฺเจ ภุฺเชยฺย ทุสฺสีโล     รฏฺปิณฺฑ อสฺโต ฯ 

               จตฺตาริ านานิ นโร ปมตฺโต 

               อาปชฺชตี ปรทารูปเสวี 

               อปุฺลาภ นนิกามเสยฺย 

               นินฺท ตติย นิรย จตุตฺถ ฯ 

               อปุฺลาโภ จ คตี จ ปาปิกา 

               ภีตสฺส ภีตาย รตี จ โถกิกา 

               ราชา จ ทณฺฑ ครุก ปเณติ 

               ตสฺมา นโร ปรทาร น เสเว ฯ 

          กุโส ยถา ทุคฺคหิโต        หตฺถเมวานุกนฺตติ 

          สามฺ ทุปฺปรามฏฺ        นิรยายูปกฑฺฒติ ฯ 

          ย กิฺจิ สิถิล กมฺม         สงฺกิลิฏฺฺจ ย วต 

          สงฺกสฺสร พฺรหฺมจริย        น ต โหติ มหปฺผล ฯ 

          กยิรฺเจ ๑ กยิรเถน      ทฬฺหเมน ปรกฺกเม 

          สิถิโล หิ ปริพฺพาโช        ภิยฺโย อากิรเต รช ฯ 

          อกต ทุกฺกต เสยฺโย        ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกต 

          กตฺจ สุกต เสยฺโย        ย กตฺวา นานุตปฺปติ ฯ  

          นคร ยถา ปจฺจนฺต         คุตฺต สนฺตรพาหิร 

#๑ กยิรา เจ กยิราเถนนฺติปิ ฯ  

          เอว โคเปถ อตฺตาน       ขโณ โว ๑ มา อุปจฺจคา 

          ขณาตีตา หิ โสจนฺติ        นิรยมฺหิ สมปฺปิตา ฯ 

          อลชฺชิตาเย ลชฺชนฺติ        ลชฺชิตาเย น ลชฺชเร 

          มิจฺฉาทิฏฺิสมาทานา        สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ 

          อภเย ภยทสฺสิโน          ภเย จ อภยทสฺสิโน 

          มิจฺฉาทิฏฺิสมาทานา        สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ 

          อวชฺเช วชฺชมติโน         วชฺเช จ อวชฺชทสฺสิโน 

          มิจฺฉาทิฏฺิสมาทานา        สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ 

          วชฺชฺจ วชฺชโต ตฺวา      อวชฺชฺจ อวชฺชโต 

          สมฺมาทิฏฺิสมาทานา        สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ 

                  นิรยวคฺโค ทฺวาวีสติโม ฯ 

                       __________ 

 ประโยค๓ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๗ – หน้าที่ 197

                       ๕.  เรื่องภิกษุว่ายาก* [ ๒๒๗ ]

                                [ข้อความเบื้องต้น]

        พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่า

ยากรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “กุโส  ยถา”  เป็นต้น.

                           [ภิกษุเด็ดหญ้าแล้วสงสัย]

        ได้สดับมา  ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่แกล้ง  เด็ดหญ้าต้นหนึ่ง  เมื่อความ

รังเกียจเกิดขึ้น,  จึงเข้าไปภิกษุรูปหนึ่ง  บอกความที่กรรมอันตนทำ

แล้ว ถามว่า  “ผู้มีอายุ  ภิกษุใดเด็ดหญ้า,  โทษอะไร  ย่อมมีแก่ภิกษุ

นั้น ?”  ลำดับนั้น  ภิกษุนอกนี้กล่าวกะเธอว่า  “ท่านทำความสำคัญ

ว่า ‘โทษอะไร  ๆ  มี’  เพราะเหตุแห่งหญ้าที่ท่านเด็ดแล้ว,  โทษ

อะไร ๆ  ย่อมไม่มีในที่นี้,  แต่ท่านแสดงแล้ว  ย่อมพ้นได้”  แม้ตน

เองก็ได้เอามือทั้ง ๒ ถอนหญ้าแล้วถือไว้.  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระศาสดา.

                    [กรรมที่บุคคลทำย่อหย่อนไม่มีผลมาก]

        พระศาสดาทรงติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยาย  เมื่อทรงแสดง

ธรรม  ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

        “หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี  ย่อมตามบาดมือนั่น

        เอง ฉันใด,  คุณเครื่องเป็นสมณะ  ที่บุคคล

        ลูบคลำไม่ดี  ย่อมเคร่าเขาไปในนรก  ฉันนั้น.

        การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน,   วัตรใดที่

        เศร้าหมอง,  พรหมจรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ,

        กรรมทั้ง ๓ อย่างนั้น  ย่อมไม่มีผลมาก. หากว่าบุคคล

        พึงทำ  (กรรมใด) ควรทำกรรมนั้น  (จริง),

        ควรบากบั่นทำกรรมนั่นให้มั่น;  เพราะว่าสมณธรรม

        เครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน  ยิ่งเกลี่ยธุลีลง.”

                                       [แก้อรรถ]

        หญ้าที่มีคมชนิดใดชนิดหนึ่ง  โดยที่สุดแม้ในตาล  ชื่อว่า  กุโส

ในพระคาถานั้น.  หญ้าคานั้น  ผู้ใดจับไม่ดี  ย่อมตามบาด คือ  ย่อม

แฉลบมือของผู้นั้น  ฉันใด;  แม้คุณเครื่องเป็นสมณะกล่าวคือสมณธรรม

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าอันบุคคลลูบคลำไม่ดี  เพราะความเป็นผู้มี

ศีลขาดเป็นต้น.

        บาทพระคาถา  นิรยายูปกฑฺฒติ  ความว่า  ย่อมให้เกิดในนรก.

        บทว่า  สิถิล  ได้แก่  การงานไร ๆ ที่บุคคลทำ  ทำให้เป็นการ

ยึดถือไว้ย่อหย่อน  โดยทำหละหลวม.       

        บทว่า  สงฺกิลิฏฺ  ความว่า  ชื่อว่า  เศร้าหมองเพราะการเที่ยว

ไปในอโคจร มีหญิงแพศยาเป็นต้น.

        บทว่า  สงฺกสฺสร ได้แก่  พึงระลึกด้วยความสงสัยทั้งหลาย  คือ

เห็นสงฆ์แม้ที่ประชุมกันด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดากิจมีกิจ

ด้วยอุโบสถเป็นต้น  แล้วระลึกด้วยความสงสัยของตน  คือ รังเกียจ  ได้

แก่ระแวงอย่างนี้ว่า  “ภิกษุเหล่านี้ทราบความประพฤติของเรา  มี

ประสงค์จะยกวัตรเรา จึงประชุมกันแน่แท้.”

        สองบทว่า  น  ต  โหติ  ความว่า พรหมจรรย์  กล่าวคือ

สมณธรรมนั้น คือเห็นปานนั้น  ย่อมไม่มีผลมากแก่บุคคลนั้น, เพราะ

ไม่มีผลมากแก่เธอ  ก็ย่อมไม่มีผลมากแม้แก่ทายกผู้ถวายภิกษาแก่เธอ

(ด้วย).

        บทว่า  กยิรา  เจ  ความว่า  เพราะเหตุนั้น  บุคคลพึงทำการงานใด,

จงทำการงานนั้นจริง ๆ.

        บาทพระคาถาว่า  ทฬฺหเมน  ปรกฺกเม  ความว่า  ควรทำการ

งานนั่นให้เป็นของอันตนทำมั่นคง  คือเป็นผู้มีการสมาทานดำรงมั่นทำ

การงานนั่น.

        บทว่า  ปริพฺพาโช  ได้แก่สมณธรรมที่บุคคลทำด้วยการยึดถือ

ย่อหย่อน  อันถึงภาวะมีความขาดเป็นต้น.       

        บทว่า ภิยฺโย  ความว่า  สมณธรรมเห็นปานนั้น  ย่อมไม่

สามารถที่จะนำออกซึ่งธุลี  มีธุลีคือราคะเป็นต้น ที่มีอยู่ ณ ภายใน,

โดยที่แท้  ย่อมเกลี่ยธุลี  มีธุลีคือราคะเป็นต้น  แม้อย่างอื่น ณ เบื้องต้น

ของผู้นั้น.

        ในกาลจบเทศนา  ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว.  ภิกษุแม้นั้นดำรงอยู่ในความสังวรแล้ว

ภายหลังเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต  ดังนี้แล.

                                 เรื่องภิกษุว่ายาก  จบ.

*  พระมหานาค  ป. ธ. ๙  วัดบรมนิวาส  แปล.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *