บาลีวันละคำ

อจินไตย (บาลีวันละคำ 173)

อจินไตย

อ่านว่า อะ-จิน-ไต (เขียนและอ่านแบบไทย)

คำนี้เขียนตามรูปศัพท์เดิมว่า “อจินฺเตยฺย” อ่านว่า อะ-จิน-เต็ย-ยะ

ประกอบด้วยคำว่า (= “ไม่” แปลงเป็น ) + จินฺต (= คิด) + ณฺย (ปัจจัย แปลว่า “ควร” แปลงกับ เป็น เตยฺย)

อจินฺเตยฺยอจินไตย” แปลว่า “เรื่องที่ไม่ควรคิด” หมายความว่าเรื่องที่จะคิดหาคำตอบด้วยหลักเหตุผลธรรมดาไม่ได้

สิ่งที่เป็น “อจินไตย” มี 4 อย่าง คือ –

1. “พุทธวิสัย” เช่น ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงทราบสรรพสิ่ง หรือทรงปฏิบัติการบางอย่างได้เหนือมนุษย์

2 .“ฌานวิสัย” คือความสามารถของผู้สำเร็จฌานสมาบัติ เช่น ทำไมคนที่สำเร็จฌานจึงเหาะเหินเดินอากาศได้ แสดงอิทธิฤทธิ์แปลกประหลาดมหัศจรรย์ได้

3. “กรรมวิบาก” คือการให้ผลแห่งกรรม เช่น ทำไมกรรมจึงตามสนองคนที่ทำชั่วทำดีได้แปลกประหลาดคาดไม่ถึง เช่นเครื่องบินตก คนตายหมด แต่รอดมาได้คนเดียว

4. “โลกจินดา” คือความคิดเรื่องโลก เช่น โลกนี้เกิดมีขึ้นมาได้อย่างไร ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์มีมาได้อย่างไร สัตว์ชนิดนั้นพืชพันธุ์ชนิดนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ทั้ง 4 เรื่องนี้ คิดไปก็หาคำตอบที่จุใจตัวเองไม่ได้ นอกจากจะเป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงเสียก่อนจึงจะหมดสงสัย

อจินไตย : ไม่ใช่ห้ามสงสัย หรือห้ามคิด แต่คิดไปก็เสียเวลา

ดีไม่ดีจะเป็นบ้าไปเสียเปล่าๆ – ท่านว่าไว้อย่างนั้น

(หมายเหตุ : เคยตอบคำถามของ Pakorn Pukahuta แล้วเมื่อ 7-9-55 นำมาเขียนใหม่ เนื่องจากมีผู้ถามอีก และยังไม่ได้เขียนถึงคำนี้โดยตรง)

บาลีวันละคำ (173)

28-10-55

บาลี

สุตฺต องฺ. (๒):จตุกฺกนิปาตา – หน้าที่ 104

        [๗๗]  จตฺตารีมานิ  ภิกฺขเว  อจินฺเตยฺยานิ  น  จินฺเตตพฺพานิ ยานิ 

จินฺเตนฺโต    อุมฺมาทสฺส   วิฆาตสฺส   ภาคี   อสฺส   กตมานิ   จตฺตาริ  

พุทฺธานํ  ภิกฺขเว  พุทฺธวิสโย  อจินฺเตยฺโย  น  จินฺเตตพฺโพ  ย จินฺเตนฺโต 

อุมฺมาทสฺส    วิฆาตสฺส   ภาคี   อสฺส   ฌายิสฺส   ภิกฺขเว   ฌานวิสโย  

อจินฺเตยฺโย   น   จินฺเตตพฺโพ   ยํ   จินฺเตนฺโต   อุมฺมาทสฺส  วิฆาตสฺส  

ภาคี   อสฺส   กมฺมวิปาโก   ภิกฺขเว   อจินฺเตยฺโย  น  จินฺเตตพฺโพ  ยํ  

จินฺเตนฺโต   อุมฺมาทสฺส   วิฆาตสฺส   ภาคี   อสฺส   โลกจินฺตา  ภิกฺขเว 

อจินฺเตยฺยา   น   จินฺเตตพฺพา   ยํ   จินฺเตนฺโต   อุมฺมาทสฺส  วิฆาตสฺส  

ภาคี  อสฺส  อิมานิ  โข  ภิกฺขเว  จตฺตาริ  อจินฺเตยฺยานิ น จินฺเตตพฺพานิ 

ยานิ จินฺเตนฺโต อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺสาติ ฯ 

อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ ข้อ ๗๗

๗. อจินติตสูตร  

ว่าด้วยอจินไตย ๔

        [๗๗]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด   ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า 

        อจินไตย  ๔  คืออะไรบ้าง  คือ –

๑.  พุทธวิสัยแห่งพระพุทธทั้งหลาย เป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด   ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำปากเปล่า

๓.  วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

๔. โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้แลอจินไตย ๔ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า.

จบอจินติตสูตรที่  ๗

อรรถกถา

                                อจินฺเตยฺยสุตฺตวณฺณนา 

        สตฺตเม ฯ อจินฺเตยฺยานีติ  จินฺเตตุ  อยุตฺตานิ  ฯ  น 

จินฺเตตพฺพานีติ  อจินฺเตยฺยตฺตาเยว  น  จินฺเตตพฺพานิ  ฯ  ยานิ 

จินฺเตนฺโตติ  ยานิ  การณานิ  จินฺเตนฺโต  ฯ  อุมฺมาทสฺสาติ 

อุมฺมตฺตกภาวสฺส  ฯ  วิฆาตสฺสาติ  ทุกฺขสฺส  ฯ  พุทฺธวิสโยติ  พุทฺธานํ 

วิสโย  สพฺพญฺตุญฺาณาทีนํ  พุทฺธคุณานํ  ปวตฺติ  จ  อานุภาโว

จ  ฯ  ฌานวิสโยติ  อภิญฺญาฌานวิสโย  ฯ   กมฺมวิปาโกติ  ทิฏฺฐ-

ธมฺมเวทนียาทีนํ  กมฺมานํ  วิปาโก  ฯ  โลกจินฺตาติ  เกน  นุ 

โข  จนฺทิมสุริยา  กตา  เกน  มหาปฐวี  เกน  มหาสมุทฺโท 

เกน  สตฺตา  อุปฺปาทิตา  เกน  ปพฺพตา  เกน  อมฺพตาล-

นาฬิเกราทโยติ  เอวรูปา  โลกจินฺตา  ฯ  

มโนรถปูรณี ภาค ๒ หน้า 534 (ฉบับเรียนฯ)

อรรถกถาอจินติตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอจินติตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  อจินฺเตยฺยานิ  ได้แก่ ไม่ควรคิด.

บทว่า  น  จินฺเตตพฺพานิ  ความว่า บุคคลไม่ควรคิด เพราะเป็นอจินไตยนั่นเอง.

บทว่า  ยานิ  จินฺเตนฺโต  คือ คิดถึงเหตุทั้งหลายเหล่าใด. 

บทว่า  อุมฺมาทสฺส  ได้แก่ ความเป็นคนบ้า.

บทว่า  วิฆาตสฺส  คือ เป็นทุกข์. 

บทว่า  พุทฺธวิสโย  แปลว่า วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  คือ ความเป็นไปและอานุภาพของพระพุทธคุณมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น. 

บทว่า  ฌานวิสโย  ได้แก่ ฌานวิสัยในอภิญญา.

บทว่า  กมฺมวิปาโก  ได้แก่ วิบากของกรรมมีกรรมที่จะพึงเสวยผลในปัจจุบันเป็นต้น.  

บทว่า  โลกจินฺตา  ความว่า ความคิดเรื่องโลกเช่นว่า ใครหนอสร้างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์  ใครสร้างแผ่นดินใหญ่  ใครสร้างมหาสมุทร  ใครสร้างสัตว์ให้เกิด  ใครสร้างภูเขา  ใครสร้างต้นมะม่วง ต้นตาล และต้นมะพร้าวเป็นต้น ดังนี้.

จบอรรถกถาอจินติตสูตรที่ ๗

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๓๕ หน้า ๒๓๖

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย