บาลีวันละคำ

อมร (บาลีวันละคำ 179)

อมร

อ่านว่า อะ-มะ-ระ

ใช้ในภาษาไทย ถ้าอยู่โดดๆ อ่านว่า อะ-มอน

อมร” มาจาก (= ไม่, ไม่ใช่) + มร (= ความตาย) แปลง เป็น = อมร แปลตามศัพท์ว่า “ไม่ตาย

ในภาษาบาลี “อมร” ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง เทวดา ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ มีความหมายว่า ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน, คงที่, เที่ยงแท้

อมร” ในภาษาสันสกฤตหมายถึง เทวดา, ผู้ไม่ตาย, ปรอท, วิมานของพระอินทร์, เสาเรือน, อุทร, สายสะดือ, หญ้าแพรก

ในภาษาไทย “อมร” มักเข้าใจกันในความหมายเดียวคือ เทวดา

และตามรูปศัพท์ “อมร” แปลว่า “ไม่ตาย” จึงเข้าใจกันว่า “เทวดาไม่ตาย”

หลักสัจธรรมมีว่า “อมรณสภาโว สตฺโต นาม นตฺถิ” = สิ่งมีชีวิตที่จะไม่ตายนั้น ไม่มี

เทวดาเป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้น เทวดาก็ต้องตาย และเรื่องเทวดาจุติก็มีกล่าวไว้ทั่วไป

เพราะฉะนั้น ที่ว่า “อมรเทวดาไม่ตาย” จึงเป็นความเชื่อที่ผิดความจริง

เมื่อไรจะได้พบ ? :

มนุษย์ส่วนมากพยายามที่จะหาทาง “ไม่ตาย

แต่ไม่ได้พยายามที่จะหาทาง “ไม่เกิด

ซึ่งเป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะไม่ตายได้

บาลีวันละคำ (179)

3-11-55

อมร = เทวดา (ศัพท์วิเคราะห์)

มรณํ มโร โส มโร ยสฺสาติ อมโร ผู้ไม่มีความตาย

น + มร + อ = อมร

อมร ค. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ผู้ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ.

ป.

เทวดา.

อมร (บาลี-อังกฤษ)

ไม่เสื่อมสูญ, ไม่ตาย not mortal, not subject to death

อมร, อมร-

 [อะมอน, อะมอนระ-, อะมะระ-] น. ผู้ไม่ตาย, เทวดา.ว. ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน. (ป., ส.).

อมร (สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

เทพดา, ผู้ไม่ตาย, ปรอท, วิมานของพระอินทร์, เสาเรือน, อุทร, สายสะดือ, หญ้าแพรก

ความหมายของ “อมร” ในคัมภีร์

มชฺฌิมนิกายฏฺฐกถา (ปปญฺจสูทนี ๓) – หน้าที่ 527

        สสฺสโต  อตฺตา  จ  โลโก  จาติ 

รูปาทีสุ  อญฺญตรํ  อตฺตาติ  จ   โลโกติ  จ  คเหตฺวา  สสฺสโต 

อมโร  นิจฺโจ  ธุโวติ  อภิวทนฺติ  ฯ 

ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา อุทานวณฺณนา (ปรมตฺถทีปนี) – หน้าที่ 514

        สสฺสโต  โลโก  อิทเมว  สจฺจํ  โมฆมญฺญนฺติ  เอตฺถ  โลโกติ 

อตฺตา  ฯ  โส  หิ  ทิฏฺฐิคติเกหิ  โลกิยนฺติ  เอตฺถ  ปุญฺญปาปตพฺพิ-

ปากา  สยํ  วา  การกาทิภาเวน  อภิยุตฺเตหิ  โลกิยตีติ  โลโกติ 

อธิปฺเปโต  ฯ  สฺวายํ  สสฺสโต  อมโร  นิจฺโจ  ธุโวติ  ยทิทํ  อมฺหากํ 

ทสฺสนํ  อิทเมว  สจฺจํ  อวิปรีตํ  อญฺญมฺปน  อสสฺสโตติอาทิ 

ปเรสํ  ทสฺสนํ  โมฆํ  มิจฺฉาติ  อตฺโถ  ฯ 

ชาตกฏฺฐกถา ๗ วีสติ-จตฺตาฬีสนิปาตวณฺณนา – หน้าที่ 295

        ตตฺถ  อมโรติ  อมรณสภาโว  สตฺโต  นาม  นตฺถิ ฯ

ปญฺญาวิธา  นตฺถีติ  นกาโร  ปทสนฺธิกาโร ฯ  ปญฺญาวิธา

อตฺถีติ  อตฺโถ ฯ  อิทํ  วุตฺตํ  โหติ  นาคราช  โลเก  อมโรปิ  นตฺถิ

ปญฺญาวิธาปิ  อตฺถิ  สา  อญฺเญสํ  ปญฺญาโกฏฺฐาสสงฺขาตา 

ปญฺญาวิธา  อตฺตโน  ชีวิตเหตุ  น  นินฺทิตพฺพาติ ฯ 

อภิธมฺมฏฺฐกถา วิภงฺควณฺณนา (สมฺโมหวิโนทนี) – หน้าที่ 787

อมรตฺถาย

วิตกฺโก  อมโร  วา  วิตกฺโกติ  อมรวิตกฺโก ฯ  ตตฺถ  อุกฺกุฏิ-

กปฺปธานาทีหิ  ทุกฺเข  นิชฺชิณฺเณ  สมฺปราเย  อตฺตา  สุขี  โหติ  

อมโรติ  ทุกฺกรการิกํ  กโรนฺตสฺส  ตาย  ทุกฺกรการิกาย  ปฏิสํยุตฺโต

วิตกฺโก  อมรตฺถาย  วิตกฺโก  นาม  ฯ  ทิฏฺฐิคติโก  ปน  สสฺสตํ  

วเทสีติอาทีนิ  ปุฏฺโฐ  เอวนฺติปิ  เม  โน  ตถาติปิ  เม  โน  

อญฺญถาติปิ  เม  โน  โนติปิ  เม  โน  โน โนติปิ  เม  โนติ (๑) 

วิกฺเขปํ  อาปชฺชติ  ตสฺส  โส  ทิฏฺฐิคตปฏิสํยุตฺโต  วิตกฺโก  ฯ  

ยถา  อมโร  นาม  มจฺโฉ  อุทเก  คเหตฺวา  มาเรตุํ  น  สกฺกา  

อิโต  จิโต  จ  ธาวติ คาหํ  น  คจฺฉติ  เอวเมว  เอกสฺมึ  

ปกฺเข  อสณฺฐหนโต  น  มรตีติ  อมโร  นาม  โหติ  ฯ  ตํ  

ทุวิธมฺปิ  เอกโต  กตฺวา  อยํ  วุจฺจติ  อมรวิตกฺโกติ  วุตฺตํ  ฯ

 ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย