บาลีวันละคำ

ตป (บาลีวันละคำ 186)

ตป

อ่านว่า ตะ-ปะ

ในภาษาไทยใช้ว่า “ตบะ” (ตะ-บะ)

ตป” แปลตามรากศัพท์ว่า (1) “การทำให้กายเดือดร้อน” (2) “ธรรมที่เผาบาป” (3) “ธรรมที่ยังกิเลสให้ร้อน” (4) “ข้อปฏิบัติที่ยังตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนในนรก” (ความหมายข้อนี้เป็นทัศนะของพระพุทธศาสนาที่มองการบำเพ็ญตบะแบบผิดๆ ของเจ้าลัทธิต่างๆ)

ตปตบะ” หมายถึงอะไรได้บ้าง ขึ้นอยู่กับบริบท –

1. การเรียนพระพุทธพจน์ ก็ชื่อว่าตบะ เพราะเผาความเห็นผิด

2. ความอดทนอดกลั้น ก็ชื่อว่าตบะ เพราะเผาความผลุนผลัน

3. ศีล ก็ชื่อว่าตบะ เพราะเผาความมือไวใจเร็ว

4. ธุดงค์ (การขัดเกลาตนเองให้ต้องการแต่น้อย) ก็ชื่อว่าตบะ เพราะเผาความละโมบ  

5. การสำรวมอินทรีย์ (ควบคุมอารมณ์ชอบ-ชัง) ก็ชื่อว่าตบะ เพราะเผาการจ้องจะเอาและความขุ่นใจ

6. วิริยะ (ความเพียร) ก็ชื่อว่าตบะ เพราะเผาความเกียจคร้าน

7. เฉพาะ “ตบะ” ในทศพิธราชธรรม ท่านหมายถึงการรักษาอุโบสถศีล

มีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โตเป็นกรรมการสอบบาลี นักเรียนแปลศัพท์บางศัพท์ไม่ตรงกับที่เคยเข้าใจกันท่านก็ให้ผ่านหมด จนกรรมการท่านอื่นๆ ประท้วงว่า “ท่านโตจะบ้าหรือยังไง แปลผิดยังให้ผ่าน”

สมเด็จโตตอบว่า “ศัพท์เดียวมีความหมายตั้งร้อย กรรมการรู้น้อยหาว่าขรัวโตบ้า

บาลีวันละคำ (186)

10-11-55

ตป = ตบะ, การรักษาศีล, การศึกษาเล่าเรียน, การสมาทานธุดงค์ (ศัพท์วิเคราะห์)

– ตปนํ สนฺตปนํ กายสฺส เขทนํ ตโป การทำให้กายเดือดร้อน

ตป ธาตุ ในความหมายว่าเผา, ทำให้ร้อน อ ปัจจัย

– ปาปเก ธมฺเม ตปตีติ ตโป ธรรมที่เผาบาปธรรม (เหมือน วิ.ต้น)

– กิเลเส เปตีติ ตโป ธรรมที่ยังกิเลสให้ร้อน (เหมือน วิ.ต้น)

– อตฺตานํ ปรญฺจ นิรยาทีสุ ตาเปตีติ ตโป ธรรมที่ยังตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนในนรกเป็นต้น (เหมือน วิ.ต้น)

ตป (บาลี-อังกฤษ)

(จาก ตปติ, เทียบ Lat. tepor ความร้อน from tapati, cp. Lat. tepor, heat)

๑ การทรมาน, การลงโทษ, ตบะ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทรมานตนทางศาสนา, การลงโทษตัวเอง, การปฏิบัติของนักพรต torment, punishment, penance, esp. religious austerity, selfchastisement, ascetic practice. พระพุทธองค์ทรงติเตียนการกระทำเช่นนี้ : โคตโม สพฺพํ ตปํ ครหติ ตปสฺสี ลูขชีวี อุปวทติ This was condemned by the Buddha: Gotamo sabbaŋ tapaŋ garahati tapassiŋ lūkhajīviŋ upavadati.

๒ การภาวนา (ทางใจ), การควบคุมตัวเอง, การละเว้น, การปฏิบัติศีลธรรม (= พรหมจริยา และ สํวร) mental devotion, self-control, abstinence, practice of morality (often= brahmacariyā & saŋvara); ตามนัยนี้พระพุทธองค์ทรงถือเป็นอุดมคติ in this sense held up as an ideal by the Buddha.

ตปกมฺม การประพฤติพรต, การปฏิบัติเคร่งตามแบบผู้บำเพ็ญตบะ ascetic practice

ตป นป.,ป. (พจนานุกรมบาลี-ไทย.มหิดล.)

ตบะ, ความเพียรเผากิเลส, การทรมานกาย, ความสำรวม, การปฏิบัติของนักพรต.

ตบะ (ประมวลศัพท์)

1. ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส, การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส

2. พิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัวของนักบวชบางพวกในสมัยพุทธกาล

ตบะ

  น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).

ชาตกฏฺฐกถา ๘ ปญฺญาส-สตฺตตินิปาตวณฺณนา – หน้าที่ 282

ทสสูติ  ทสสุ  ราชธมฺเมสุ ฯ  ทานาทีสุ 

ปวตฺติตเจตนา  ทานํ  ปญฺจสีลทสสีลาทีนิ  สีลํ  เทยฺยธมฺมจาโค 

ปริจฺจาโค  อุชุภาโว  อาชฺชวํ  มุทุภาโว  มทฺทวํ  อุโปสถกมฺมํ 

ตโป  เมตฺตาปุพฺพภาโค  อกฺโกโธ  กรุณาปุพฺพภาโค  อวิหึสา 

อธิวาสนํ  ขนฺติ  อวิโรโธ  อวิโรธนํ ฯ 

ประโยค๕ –  มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๕ – หน้าที่ 2

                                    กถาว่าด้วยตบะ

        [๔๗๐]   ธรรมเป็นเครื่องเผาผลาญบาป    ชื่อว่า   ตบะ.    ด้วย

เหตุนั้น   ในอรรถกถา  ท่านจึงกล่าวว่า  “ธรรมที่ชื่อว่า  ตบะ  เพราะ

อรรถว่าเผาผลาญซึ่งธรรมทั้งหลายอันลามก.”

        บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  ตปติ   ความว่า    ย่อมยังบาปธรรม

ทั้งหลายให้เร่าร้อน.   ด้วยเหตุนั้น   พระศัพทศาสตราจารย์   จึงกล่าว

ไว้ในหมวดธาตุมี   ภู   ธาตุเป็นต้นว่า    “ตป   ธาตุ  ลงในอรรถว่ายัง

บาปธรรมทั้งหลายให้เร่าร้อน    สำเร็จรูปเป็น   ตปติ.”        หมวดธาตุมี

จุร    ธาตุเป็นต้นว่า   “ตป   ธาตุ  ลงในอรรถว่า  เผาผลาญ สำเร็จรูป

เป็น  ตเปติ.   ลงในการีต  สำเร็จรูปเป็น  ตาเปติ.”   ศัพท์คือ ตป เป็น

ไปในธรรมและวัตร.   ด้วยเหตุนั้น   ในปทาเนกัตถวรรค   ท่านอาจารย์

โมคคัลลานะ    จึงกล่าวว่า   “ศัพท์คือ   ตป    เป็นไปในธรรมและใน

วัตร.”

        ฎีกาปทาเนกัตถวรรคนั้นว่า     “ศัพท์คือ   ตป   นั้น    เป็นไปใน

วัตร  คือทิฏฐิสมาจาร     ( ความประพฤติโดยเอื้อเฟื้อด้วยดีด้วยอำนาจ

ความเห็น ).

        [๔๗๑]   คุณมีขันติเป็นต้น  ชื่อว่า  ธรรม.  จริงดังนั้น  ขันติ ชื่อว่า

ตบะ   ( มา )   ในบาทคาถานี้ว่า  “ความอดกลั้นคือความทนทาน เป็น

๑.  ป.  โช.  ขุ.   ขุ.  ๖๖.     ๒.  ป.  โช.  ขุ.  สุ. ๒/๒๒๐   ๓.  สทฺทนีติธาตุมาลา ๒๒๐

๔.อภิธานปฺปทีปิกา  คาถาที่  ๒๐๖๒.  แต่พยัญชนะต่างกันเล็กน้อย.

ตปธรรมอย่างยิ่ง.

        ศีลชื่อว่าตบะ   ( มา )   ในโลมสกัสสปชาดก   “เราจักละกาม

ทั้งหลายทำตบะ.”

        อุโบสถกรรม  ชื่อว่าตบะ    ( มา )    ในมหาหังสชาดกว่า

        “เราพิจารณาเห็นกุศลธรรมเหล่านั้น   คือ     ทาน    ๑

        ศีล   ๑     บริจาค     ๑     ความซื่อตรง    ๑      ความอ่อน

        โยน    ๑     ตบะ    ๑     [ ความไม่โกรธ   ๑     ความไม่

        เบียดเบียน   ๑    ความอดทน    ๑    ความไม่ยินร้าย    ๑

        ซึ่งตั้งอยู่แล้วในตน.]”

        กิจมีการเรียนพระพุทธพจน์เป็นอาทิ   ก็ชื่อว่า   ตบะ  ( มา )  ใน

บาทคาถานี้ว่า       “ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสของหมู่ชนผู้พร้อม

เพรียงกัน  เป็นเหตุนำสุขมาให้.”

        ด้วยเหตุนั้น   ในอรรถกถาธรรมบท    ท่านจึงกล่าวว่า   “ก็การ

เรียนพระพุทธพจน์ก็ดี    การรักษาธุดงค์ก็ดี     การกระทำสมณธรรม

ก็ดี   แห่งชนผู้พร้อมเพรียงกันทั้งหลาย    คือหมู่ชนผู้มีจิตเป็นอันเดียวกัน

ย่อมนำสุขมาให้;   เพราะฉะนั้น  พระผู้มีพระภาค   จึงตรัสว่า   “สมคฺคาน

ตโป    สุโข.”

        [๔๗๒]    ส่วนในฎีกาเทวปุตตสังยุต    ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า

“ก็ธรรมคือธุดงค์   ชื่อว่า   ตบะ   เพราะเผาผลาญ   ความละโมภ   ด้วย

 ๑.ชาตกฏฺกถา.    ๕/๓๘๖        ๒.   ชาตกฏฺกถา  ๘  ๒๗๘

อำนาจแห่งตัณหา.    ในหมวดธาตุมี   จุร ธาตุเป็นต้น  ท่านกล่าวว่า

“ศีล   ชื่อว่าตบะ  ในบทว่า  ตโป  นี้   เพราะอรรถว่า   ยังอกุศลกรรม

ทั้งหลายให้เร่าร้อน

           แต่ในมงคลข้อว่า  ตโป    นี้    กุศลกิจมีการสำรวมอินทรีย์เป็นต้น

ชื่อว่า   ตบะ.    ด้วยเหตุนั้น   ในอรรถกถา  ท่านจึงกล่าวว่า “การ

สำรวมอินทรีย์   ชื่อว่า  ตบะ   เพราะเผาผลาญอกุศลเจตสิกธรรมมี

อภิชฌาและโทมนัสเป็นต้น.    อีกนัยหนึ่ง   ความเพียรชื่อว่า    ตบะ

เพราะเผาผลาญความเกียจคร้าน.

๑.  สทฺทนีติ  ธาตุมาลา.   ๒๒๑.      ๒.  ป.  โช.  ขุ.  ขุ.   ๑๖๗.  ๓.  ป.  สู.  ๑/๑๐๔

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย