บาลีวันละคำ

วิทันตสาสมาธิ (บาลีวันละคำ 3,364)

วิทันตสาสมาธิ

คำบาลีที่ประสมโดยประสงค์

อ่านตามที่ได้ยินอ่านกันว่า วิ-ทัน-ตะ-สา-สะ-มา-ทิ

แยกศัพท์อย่างละเอียดเป็น วิ + ทันต + สา + สมาธิ

(๑) “วิ” 

เป็นคำที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อุปสรรค” หมายถึง คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น – 

วัฒน์ = เจริญ 

อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง 

ปักษ์ = ฝ่าย

ปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.

ตามตัวอย่างนี้ “อภิ” และ “ปฏิ” คือคำอุปสรรค

วิ” มีคำแปลตามที่นักเรียนบาลีท่องจำกันได้ว่า “วิ = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง

วิเศษ” และ “ต่าง” ในที่นี้หมายถึง แปลกไปจากปกติ, ไม่ใช่สิ่งที่มีที่เป็นอยู่ตามปกติ, ไม่เหมือนพวกที่เป็น ที่เห็น ที่มีกันอยู่ตามปกติ 

เฉพาะคำแปลว่า “วิเศษ” ไม่ได้หมายถึง “ยอดเยี่ยมในทางวิทยาคมเป็นต้น เช่น ผู้วิเศษ, กายสิทธิ์, มีอำนาจหรืออิทธิฤทธิ์ในตัว” หากแต่มีความหมายตรงกับที่เราใช้ในภาษาไทยว่า “พิเศษ

(๒) “ทันต” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ทนฺต” อ่านว่า ทัน-ตะ รากศัพท์มาจาก ทมฺ (ธาตุ = ฝึก, อบรม, ข่ม) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น นฺต

: ทมฺ + = ทมฺต > ทนฺต แปลตามศัพท์ว่า “-อันบุคคลฝึกมาแล้ว” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ฝึกฝนมาดี, ควบคุมได้ (tamed, restrained)

ทนฺต” เขียนแบบไทยเป็น “ทันต” (ทัน-ตะ-)

(๓) “สา

(1) เป็นคำนาม “สา” แปลว่า หมา (a dog) 

(2) เป็นวิภัตตินาม “สา” สำเร็จมาจาก นา-วิภัตตินามที่สาม (ตติยาวิภัตติ) หรือ สฺมา-วิภัตตินามที่ห้า (ปัญจมีวิภัตติ) เมื่อแจกศัพท์ที่เป็น “มโนคณศัพท์” โดยสูตรว่า “แปลง นา และ สฺมา เป็น อา แล้วลง อาคม” : นา, สฺมา > อา (+ ): + + อา = สา ตัวอย่างเช่น –

: มน (ใจ) + + นา > อา : มนส + อา = มนสา แปลว่า “ด้วยใจ

(๔) “สมาธิ” 

เป็นคำบาลี อ่านว่า สะ-มา-ทิ รากศัพท์มาจาก – 

(1) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน, ดี) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ธา (ธาตุ = ตั้งขึ้น, ยกขึ้น) + อิ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สม), ลบสระหน้า คือ อา ที่ ธา (ธา >

: สํ > สม + อา = สมา + ธา = สมาธา > สมาธ + อิ = สมาธิ แปลตามศัพท์ว่า “การตั้งจิตไว้ด้วยดีในอารมณ์เดียว” 

(2) สมุ (ธาตุ = สงบ, ระงับ) + อาธิ ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อุ ที่ สมุ (สมุ > สม

: สมุ > สม + อาธิ = สมาธิ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ยังความฟุ้งซ่านแห่งจิตให้สงบ” 

สมาธิ” (ปุงลิงค์) หมายถึง ความสงบ, จิตตั้งมั่น 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลและขยายความ “สมาธิ” ว่า concentration; a concentrated, self-collected, intent state of mind and meditation, which, concomitant with right living, is a necessary condition to the attainment of higher wisdom and emancipation. (การสำรวมใจ; สมาธิ, ความตั้งใจแน่วแน่และสำรวมตั้งตนกับสมาธิ ซึ่งร่วมกับสัมมาอาชีวะ เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่การบรรลุปัญญาชั้นสูงขึ้นและความหลุดพ้น) 

ในภาษาไทย คำว่า “สมาธิ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกคำอ่านว่า สะ-มา-ทิ บอกความหมายไว้ว่า – 

สมาธิ : (คำนาม) ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).”

การประสมคำและอภิปราย :

เนื่องจากคำว่า “วิทันตสาสมาธิ” มีคำแปลที่รู้กันว่า “การฝึกฝนตนเองที่วิเศษ” คำว่า “ฝึกฝนตนเองที่วิเศษ” ทำให้แน่ใจว่าต้องประสม “วิ” = วิเศษ กับ “ทันต” = ผู้ฝึกแล้ว

: วิ + ทันต = วิทันต แปลว่า “ผู้ฝึกแล้วอย่างวิเศษ

ต่อไป วิทันต + สา = วิทันตสา จะแปลว่าอะไร?

สา” ในที่นี้ไม่ใช่ “สา” คำนาม ที่แปลว่า หมา อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็น “สา” ที่สำเร็จมาจากวิภัตตินามตามที่อธิบายไว้ข้างต้น

วิทันตสา” ก็ต้องแปลว่า “ด้วยการฝึกแล้วอย่างวิเศษ” แต่ปัญหาคือ รูปคำบาลีที่เป็น “วิทนฺตสา” มีใช้หรือเปล่า? เท่าที่ควรจดูในคัมภีร์ ยังไม่พบ ไม่ว่าจะเป็น “ทนฺตสา” หรือ “วิทนฺตสา” แต่พึงทราบว่า ไม่พบ ไม่ได้หมายความว่าไม่มี อาจมี แต่ผู้ตรวจหายังหาไม่เจอ

วิทันตสา + สมาธิ = วิทันตสาสมาธิ แปลอนุโลมตามที่ต้นตำรับแปลกันมาว่า “สมาธิด้วยวิธีฝึกอย่างวิเศษ” 

ที่น่าสงสัยก็คือ ทำไมจะต้องคง “สา” วิภัตติไว้ ทำไมจึงไม่เป็น “วิทันตสมาธิ” (วิ-ทัน-ตะ-สะ-มา-ทิ) ซึ่งก็แปลได้ความเท่ากัน

อันที่จริง คำบาลีที่สมาสกันแล้วคงวิภัตติไว้ ก็มีใช้อยู่ ที่เราคุ้นกันก็เช่น “โยนิโสมนสิการ” 

โยนิโส” รูปคำเดิมคือ “โยนิโยนิ + โส ปัจจัย = โยนิโส สมาสกับ “มนสิ” คง โส ปัจจัยไว้ เป็น “โยนิโสมนสิ” ไม่เป็น “โยนิมนสิ

มนสิ” รูปคำเดิมคือ “มนมน + สฺมึ วิภัตติ แปลง สฺมึ เป็น อิ ลง ส อาคมระหว่างนามกับวิภัตติ 

: มน + + สฺมึ > อิ = มนสิ สมาสกับ “การ” คง สิ ไว้ เป็น “มนสิการ” ไม่เป็น “มนการ

เพราะฉะนั้น วิทันต + สา + สมาธิ คง สา ไว้ = วิทันตสาสมาธิ ก็ย่อมเป็นไปได้ ไม่ผิดกติกา

…………..

มีข้อมูลที่สรุปได้ว่า “วิทันตสาสมาธิ” ซึ่งแปลกันว่า “การฝึกฝนตนเองที่วิเศษ” เป็นหลักสูตรสมาธิ ก่อตั้งโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เป็นการทำสมาธิตามแนวทางของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ประธานผู้ก่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพได้ประยุกต์หลักคำสอนและกรรมวิธีภาคปฏิบัติตามแนวทางของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

…………..

ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยได้ฟังคำบอกเล่าว่า หลวงพ่อวิริยังค์ท่านมักจะใช้คำว่า “สา” แทรกหรือเหน็บเข้าไว้ในถ้อยคำที่เรียกการปฏิบัติสมาธิที่ท่านกำหนดขึ้น เช่น “วิทันตสาสมาธิ” คำนี้ นอกจากนี้ยังมี “วิทิสาสมาธิ” “สัคคสาสมาธิ” และคงจะมี “สา” อื่นๆ อีกหลาย “สา

ทำให้เกิดความสงสัยว่า หลวงพ่อท่านเอาคำว่า “สา” มาจากไหน เป็นคำบาลี (ตามที่อธิบายข้างต้น) หรือเป็นคำในภาษาอะไร แต่ชวนให้เข้าใจว่า ท่านจะมีความผูกพันอะไรบางอย่างอยู่กับคำว่า “สา” กระมัง

บาลีวันละคำคำนี้มีเจตนาเพียงแสดงคำ “วิทันตสาสมาธิ” ตามหลักภาษาบาลีเท่าที่จะพึงเข้าใจได้เท่านั้น เพื่อที่ว่าถ้าประสงค์จะแปลก็อาจจะแปลได้ตามที่แสดงไว้ ส่วนจะถูกหรือผิด ตรงหรือไม่ตรงกับเจตนาของท่านผู้ตั้งชื่อนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่ง จึงไม่ได้ยืนยันว่าต้องแปลอย่างนี้เท่านั้น แปลอย่างอื่นผิด 

เท่าที่ได้พยายามตรวจดู ยังไม่พบว่ามีการอธิบายแยกแยะรูปคำให้เป็นที่เข้าใจชัดแจ้งไว้ในที่ไหนบ้าง ดูเหมือนจะแปลคลุมๆ ไปพอเป็นที่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ใดทราบคำแปลถ้อยคำเหล่านี้ที่ท่านผู้เป็นเจ้าตำรับอธิบายขยายความไว้อย่างแจ้งชัด ขอความกรุณานำมาเผยแพร่ ก็จะเป็นการให้ปัญญาแก่สังคมในเรื่องที่มีผู้สนใจปฏิบัติกันอยู่อย่างกว้างขวาง และจะเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าเอาแต่หาความรู้จนไม่ได้ลงมือปฏิบัติ

: และอย่าเอาแต่ปฏิบัติจนไม่ได้หาความรู้ไว้บ้าง

———————–

ตามคำขอของพระคุณท่าน Sunant Ruchiwet Phramaha

#บาลีวันละคำ (3,364)

28-8-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *