บาลีวันละคำ

เปรต (บาลีวันละคำ 240)

เปรต

อ่านว่า เปรฺด (ปรฺ ควบ เสียงเอก เหมือน “โปรด”)

เปรต” เขียนตามรูปสันสกฤต, บาลีเป็น “เปต” (เป-ตะ)

เปต” ประกอบด้วย ปร + อิ + สูตรแสดงกระบวนการของคำนี้ว่า “ปรํ โลกํ เอติ คจฺฉตีติ เปโต” แปลว่า “เปตะ คือ ผู้ไปสู่ปรโลก

ตามความหมายของศัพท์ ผู้ที่ตายไปแล้วจึงเรียกว่า “เปตเปรต” ได้ทั้งสิ้น

เปรต” ตามที่เข้าใจกันคือ “สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน”

เปรต ตามความหมายนี้คือผู้ที่ตายไปเกิดใน “ปิตติวิสัย” คือโลกของเปรต

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ตายเป็น “เปต” แล้วยังไปเกิดเป็น “เปรต” อีกชั้นหนึ่ง

นั่นคือ ตายแล้วเป็น “เปต” ทุกคน แต่ไม่ได้เป็น “เปรต” ทุกคน

อกุศลกรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตก็คือ โลภะ-ความโลภ

เพราะฉะนั้น : ยังไม่ตายก็เป็นเปรตได้ ถ้าหัวใจมีแต่ละโมบโลภมาก

บาลีวันละคำ (240)

4-1-56

เปต = เปรต, คนตาย (ศัพท์วิเคราะห์)

ปรํ โลกํ เอติ คจฺฉตีติ เปโต ผู้ไปสู่ปรโลก

ปร บทหน้า อิ ธาตุ ในความหมายว่าไป ต ปัจจัย ลบ ร

ปเรต = คนตาย, เปรต

ปร บทหน้า อิ ธาตุ ในความหมายว่าไป ต ปัจจัย

เปรต (ประมวลศัพท์)

1. ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว, คนที่ตายไปแล้ว

2. สัตว์จำพวกหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ในอบายชั้นที่เรียกว่าปิตติวิสัย หรือ เปตติวิสัย (แดนเปรต) ได้รับความทุกข์ทรมานเพราะอดอยาก ไม่มีจะกิน แม้เมื่อมี ก็กินไม่ได้ หรือกินได้โดยยาก;

ดู อบาย, ทุคติ

เปรต, เปรต-

[เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาสคนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือในทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).

เปรตวิษัย, เปรตวิสัย

 [เปฺรดตะ-] น. ภูมิหรือกําเนิดแห่งเปรต, เปตวิสัย ก็ใช้. (ส. ไปตฺรฺย + วิษย; ป. เปตฺติวิสย).

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย