สวาหะ (บาลีวันละคำ 254)
สวาหะ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –
“สวาหะ (อ่านว่า สะ-หฺวา-หะ) คํากล่าวเมื่อจบการเสกเป่า”
และบอกว่ามีคำสันสกฤตว่า “สฺวาหา”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “สฺวาหา” 2 คำ มีคำแปลเป็นไทยและอังกฤษ ดังนี้ –
1- อาหุดีหรือพลีทานอันบุคคลพึงบูชาแด่เทพดาทั่วไป
an oblation or offering made to all gods indiscriminately
2- อุทานอันใช้เปล่งในการบูชาอาหุดีแด่เทพดา
an exclamation used on offering oblations to the gods
(“อาหุดี” แปลว่า “การบูชาเทพดาด้วยไฟ”)
คำว่า “สวาหะ” ถ้าจะลากเข้าบาลี ก็น่าจะเป็น “สฺวาห” ประกอบด้วย สุ + อาห
“สุ” แปลง อุ เป็น โอ = โส
แปลง โอ เป็น อว = สว
แล้วทำ สว ให้เป็น สฺว (มีจุดใต้ สฺ) + อาห = สฺวาห (ออกเสียงเหมือนอ่านคำว่า ซัว-หะ ไม่ใช่ สะ-วา-หะ หรือ สะ-หฺวา-หะ)
“สุ” (คำอุปสรรค) = ดี งาม ง่าย
“อาห” (คำกริยา) = กล่าวแล้ว
“สฺวาห” จึงแปลว่า “กล่าวดีแล้ว” มีความหมายว่า ถ้อยคำที่ท่องบ่นหรือเสกเป่ามานั้นเป็นคำที่กล่าวไว้ดีแล้ว (ขอให้สำเร็จเถิด)
: จะเลือกน้องบาลี หรือจะเลือกพี่สันสกฤต โปรดใช้สิทธิ์โดยเสรี
บาลีวันละคำ (254)
18-1-56
สฺวาหา
อาหุดีหรือพลีทานอันบุคคลพึงบูชาแด่เทพดาทั่วไป
an oblation or offering made to all gods indiscriminately
อุทานอันใช้เปล่งในการบูชาอาหุดีแด่เทพดา
an exclamation used on offering oblations to the gods
อาหุดี การบูชาเทพดาด้วยไฟ
สวาหะ
[สะหฺวาหะ] คํากล่าวเมื่อจบการเสกเป่า. (ส. สฺวาหา).