นโรดม (บาลีวันละคำ 273)
นโรดม
อ่านว่า นะ-โร-ดม
คำนี้ภาษาบาลีเป็น “นรุตฺตม” อ่านว่า นะ-รุด-ตะ-มะ
“นรุตฺตม” ประกอบด้วย นร + อุตฺตม
“นร” แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้นำไป” (2) “ผู้นำไปสู่ความเป็นใหญ่” (3) “ผู้ดำเนินไปสู่ภพน้อยภพใหญ่” (4) “ผู้อันกรรมของตนนำไป” (5) “ผู้ถูกนำไปตามกรรมของตน” ความหมายที่เข้าใจกันคือ “คน” (ปกติไม่จำกัดว่าหญิงหรือชาย)
“อุตฺตม” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีความหมายยิ่งกว่ายอด” คือยอดว่าสูงแล้ว ยังสูงกว่ายอด ความหมายที่เข้าใจกันคือ ประเสริฐ, สูงสุด, เป็นใหญ่. ในภาษาไทยใช้ว่า “อุดม” (= ต เป็น ด ลบ ต ตัวหนึ่ง)
นร + อุตฺตม บาลีเป็น “นรุตฺตม” แต่สันสกฤตจะเป็น “นโรตฺตม” เราเขียนอิงสันสกฤต และเมื่อใช้สูตร “ตอ เป็น ดอ ลบ ตอ ตัวหนึ่ง” นโรตฺตม ก็เป็น “นโรดม” ตรงตัว
“นรุตฺตม = นโรตฺตม = นโรดม” แปลว่า “ผู้สูงสุดแห่งคนทั้งหลาย”
พจน.42 ให้ความหมาย “นโรดม” ว่า “พระราชา” แต่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา “นรุตฺตม” เป็นพระคุณนามของพระพุทธเจ้า
การใช้พระนามของพระพุทธเจ้าเป็นพระนามของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นค่านิยมอย่างหนึ่งในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
ค่านิยมนี้มีนัยสำคัญยิ่ง กล่าวคือ พระเจ้าแผ่นดินมีหน้าที่เปลื้องทุกข์ของทวยราษฎร์ เฉกเช่นพระโลกนาถเปลื้องทุกข์แก่เวไนยสัตว์
: ผู้บริหารบ้านเมืองที่ไม่สามารถเปลื้องทุกข์ของบ้านเมืองได้ ย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไป-ไม่ว่าจะได้ตำแหน่งนั้นมาด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม
ตามคำเรียกร้องของ ไกร ไร้เทียมทาน
บาลีวันละคำ (273)
6-2-56
นร (ศัพท์วิเคราะห์)
– เนติ เชฏฺฐภาวนฺติ นโร ผู้นำไปสู่ความเป็นใหญ่
นี ธาตุ ในความหมายว่านำไป อร ปัจจัย
– นรติ เนตีติ นโร ผู้นำไป
นร ธาตุ ในความหมายว่านำไป อ ปัจจัย
– ภวาภวํ นรติ คจฺฉตีติ นโร ผู้ดำเนินไปสู่ภพน้อยภพใหญ่
นร ธาตุ ในความหมายว่าไป, เป็นไป อ ปัจจัย
– นรียติ สเกน กมฺเมน นิยฺยาตีติ นโร ผู้อันกรรมของตนนำไป, ผู้ถูกนำไปตามกรรมของตน
นร ธาตุ ในความหมายว่านำไป อ ปัจจัย
อุตฺตม = อุดม, ประเสริฐ, สุงสุด, เป็นใหญ่
อุพฺภโต อตฺยตฺถํ อุตฺตโม สิ่งที่มีความหมายยิ่งกว่ายอด คือสูงกว่ายอด
อุภ บทหน้า ตม ปัจจัย ลบ ภ ซ้อน ตฺ
อุคฺคตตมตฺตา อุตฺตโม ผู้อยู่สูงที่สุด (อุ + ตม ซ้อน ตฺ)
นร (บาลี-อังกฤษ)
[เวท. นร, เทียบ นฺฤตุ; Idg. *ner แข็งแรงหรือกล้าหาญ= Gr. a)nh/r, a)g — h/nwr (กล้าหาญ), drw/y (*nrw/y); Lat.neriosus (กำยำล่ำสัน), Nero (Sabinian, เทียบ Oscan ner = Lat. vir); Oir. Nert Ved. nara, cp. nṛtu; Idg. *ner to be strong or valiant =Gr. a)nh/r, a)g — h/nwr (valiant), drw/y (*nrw/y); Lat. neriosus (muscuḷar), Nero (Sabinian, cp. Oscan ner= Lat. vir); Oir. nert]
คน man (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโคลงกลอน หมายถึง ชายที่กล้าหาญ, แข็งแรง, และเป็นวีรบุรุษ in poetry esp. a brave, strong, heroic man), พหุ. “ผู้ชาย” หรือมอฉะนั้นก็ “พลเมือง” pl. either “men” or “people” (อย่างหลังปรากฏเช่นใน สุตฺ.นิ.776, 1082 the latter e. g. at Sn 776, 1082; เปต.1/1112). องฺ.1/130; 2/5; 3/53; สุตฺ.นิ.39,96,116,329,591,676,865 ฯลฯ; ธ.47,48,262,309,341; ชา.3/295; มหา.นิ.12 = จุล.นิ.335 (คำนิยาม definition); วิมาน.อ.42 (รากศัพท์ที่คนยอมรับแพร่หลายpopular etymology: นรติ เนตี ติ นโร ปุริโส คือ คน “ที่เป็นผู้นำ” narati netī ti naro puriso, i. e. a “leading” man); เปต.อ.116 = ธ.125.
นร+อาธม คนเลวที่สุด vilest of men 246;
นร+อาสภ “คนองอาจ”, คือ นายคน “man bull,” i. e. lord of men สุตฺ.นิ.684, 996;
นร+อินฺท “จอมแห่งนระ”, คือ พระเจ้าแผ่นดิน “man lord,” i. e. king สุตฺ.นิ.836; ชา.1/151;
นร+อุตฺตม ผู้ประเสริฐสุด (เป็นคำแสดงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า)best of men (Ep. of the Buddha) สํ.1/23; ที.3/147; สุตฺ.นิ.1021;
นร+เทว นรเทพ พหุ. พวกเทพ, และเป็นคำแสดงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า “จอมแห่งมนุษย์” deva god-man or man-god (pl.) gods, also Ep. of the B. “king of men” สํ.1/5; เปต.4/350;
นร+นารี (พหุ.) ผู้ชายและผู้หญิง, ใช้สำหรับผู้รับใช้ที่เป็นเทพทั้งเพศชายและหญิง (พูดถึงพวกยักษ์) pl. men & women, appl. to male & female angelic servants (of the Yakkhas) วิมาน.324,337,538; เปต.2/112;
นร+วีร คนกล้า (?), ผู้สันทัด (?) a hero (?), a skilled man (?) เถร.736 (นรวีรกต “โดยความฉลาดและปฏิภาณของคน” naravīrakata “by human skill & wit” Mrs. Rh. D.).
นร+สีห คนที่เปรียบเหมือนสิงห์ lion of men ชา.1/89.
นร ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
นระ, คน, มนุษย์, ผู้ชาย.
อุตฺตม ค.
สูง, เลิศ, ประเสริฐ, วิเศษ.
นรุตฺตม ป.
ผู้ประเสริฐ, ผู้สูงสุด, ผู้ประเสริฐในหมู่คน.
นรานํ อุตฺตโมติ นรุตฺตโม
(วิสุทธชนวิลาสินี ภาค ๒ อรรถกถาอปทาน หน้า ๒๕๖)
นร-
[นอระ-] น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์. (ป., ส.).
นโรดม
(แบบ) น. พระราชา. (ส. นโรตฺตม; ป. นรุตฺตม).
ตามคำเรียกร้องของ ไกร ไร้เทียมทาน