บาลีวันละคำ

ศิริราช (บาลีวันละคำ 298)

ศิริราช

คำนี้เป็นวิสามานยนาม (ภาษาบาลีเรียก “อสาธารณนาม”) คือคําที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่

ในที่นี้ “ศิริราช” ก็คือ “โรงพยาบาลศิริราช” ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ

แต่ “โรงพยาบาลศิริราช” ก็ได้ชื่อนี้มาจากชื่อเฉพาะของบุคคลอีกทีหนึ่ง นั่นคือได้มาจากพระนามของ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง

คำว่า “ศิริราชกกุธภัณฑ์” ประกอบด้วย ศิริ (บาลี : สิริ, สันสกฤต : ศฺรี) + ราช + กกุธ + ภัณฑ์ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งของอันเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาอันมีสิริ” มีความหมายว่า เจ้าฟ้าผู้ประสูติมาเป็นมิ่งขวัญของพระราชา

เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระเมรุ โรงเรือน และเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปสร้างโรงพยาบาล พระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล ตามพระนามของเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลศิริราช มาจนทุกวันนี้

คำว่า “ศิริราช” จึงแปลเฉพาะคำไม่ได้ความ ต้องสืบหาความจึงจะเห็นที่มาของคำ

เตือนใจ : ไม่ว่าคำหรือคน เห็นเบื้องหน้า – อย่าลืม – หาเบื้องหลัง

———

(อภินันทนาการแด่ หน่า น้อย ผู้แสวงหาความหมายของชื่อ โรงพยาบาลศิริราช)

บาลีวันละคำ (298)

5-3-56

เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

ศรี = มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, ความมีเดช, โชค

วิสามานยนาม

 [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.

สิริ อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ศรี, โชค.

สิริ, สิรี สิริ, โชค, มงคล, ความดี, ความสำเร็จ (ศัพท์วิเคราะห์)

กตปุญฺเญหิ เสวียเตติ สิริ สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้ซ่องเสพ

สิ ธาตุ ในความหมายว่าเสพ คบหา, ร ปัจจัย, อิ อิตถีลิงค์

กตปุญฺญปุคฺคเล  นิสฺสิยตีติ สิริ สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

สิ ธาตุ ในความหมายว่าอาศัย, ร ปัจจัย, อิ อิตถีลิงค์

สิริมนฺตุ (บาลี-อังกฤษ)

มีสิริ glorious

สิริ (บาลี-อังกฤษ)

ความสวยสดงดงาม, ความสวยงาม

โชค,ศรี, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง

Glorious

เทพธิดาแห่งโชคลาภ

ห้องบรรทม (สิริคพฺภ สิริสยน)

สิริ ๑

ก. ผสม เช่น สามีภรรยาสิริอายุเข้าด้วยกัน ๑๕๐ ปี, รวม เช่น สิริอายุได้ ๗๒ ปี.

สิริ ๒, สิรี

น. ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, เช่น สิริราชสมบัติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ มงคล เป็น สิริมงคล; สวย, งาม, เช่น ทรงมีพระสิริโฉม. (ป.; ส. ศฺรี).

ศรี ๑

 [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).

ศรี ๒

 [สี] น. พลู. (ม.); (ราชา) หมากพลู เรียกว่า พระศรี.

ศรี ๓

 [สี] น. ผู้หญิง. (ข. สี).

ศรี ๔

 [สี] (กลอน) น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวล เห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี. (อภัย).

กกุธภัณฑ์

 [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.

วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).

26 เมษายน พ.ศ. 2431 : รัชกาลที่ 5 ทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลศิริราช
26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิด โรงศิริราชพยาบาล นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของสยาม ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2424 เกิดการระบาดของอหิวาตกอย่างหนัก รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวขึ้นในชุมชนต่าง ๆ แม้เมื่อโรคระบาดเริ่มลดลงก็ยังคงให้โรงพยาลเหล่านี้ดำเนินการต่อไป ด้วยทรงตระหนักว่ากิจการโรงพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็น ต่อมาปี 2429 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างโรงบยาบาลถาวรแห่งแรกขึ้น ณ บริเวณที่ดินของกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) ที่ฝั่งธนบุรี ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรส ได้ประชวรด้วยโรคบิด สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2430 รัชกาลที่ 5 ทรงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก ถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้นให้สำเร็จ เมื่อเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปสร้างโรงพยาบาล อีกทั้งยังพระราชทานทรัพย์ของเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย ต่อมาได้พระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล ตามพระนามของเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเชื่อเป็น โรงพยาบาลศิริราช มาจนทุกวันนี้

พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระอนุชาร่วมพระมารดา ได้แก่ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก และเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช (รัชกาลที่ 7) รวมทั้งสิ้น 8 พระองค์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูล

วันประสูติ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428

 วันสวรรคต 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430

พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชมารดา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430) (สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิริราชกกุธภัณฑ์ สรรพวิสุทธิ์มหุดิมงคล อเนกนภดลดารารัตน์ สมันตบริพัตรวโรกาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส วิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ อัครวรราชกุมาร) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 53 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารห้องเขียว ซึ่งในเวลาที่พระองค์ประสูตินั้น ได้มีฝนดาวตกเต็มท้องฟ้าและมาสามารถมองเห็นได้ในพระนคร ดังนั้น ชาววังจึงได้ออกพระนามของพระองค์ว่า “ ทูลกระหม่อมดาวร่วง”

โดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เรียก สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ว่า “น้องชายเอียด” และได้จดบันทึกถึงเหตุการวันประสูติของสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์นี้ไว้ในจดหมาย เหตุรายวันของพระองค์ว่า

“เราตื่นนอนเช้า กินข้าวแล้วไปเรียนหนังสือ เสด็จน้าประชวรพระครรภ์ เราไปเฝ้าทูลหม่อมบนก่อนแล้วออกไปเรียนหนังสือ บ่ายสองโมงเศษประสูติเป็นผู้ชาย เราดีใจมาก เราได้รับไว้กับเสด็จน้าแล้วว่า ถ้าเป็นผู้ชายเราจะทำขวัญสิ่งของ ถ้าเป็นหญิงเราไม่ให้ เย็นกินข้าวที่บน สมเด็จแม่รับสั่งให้เรานอนบน เรานอนกับน้อง ๆ ในห้องประทมเก่าของเสด็จน้า นอนสี่ทุ่ม เมื่อเรานอนสมเด็จแม่เสวยอยู่ เรากินเครื่องฝรั่งด้วย แล้วตามเสด็จสมเด็จแม่ไปดูดาวตก เรายังไม่เคยเห็นเลย ตกมากจริง ๆ ลางทีก็เห็นย้อยลงมายาวคล้ายดอกไม้เพลิง วันนี้พระยาภาสได้ให้สมุดฝรั่งต่าง ๆ เราหลายเล่ม”

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ประชวรด้วยโรคบิด พระอาการทรุดลง และสิ้นพระชนม์ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร พระชนมายุเพียง 1 ปี 6 เดือน เท่านั้น เป็นที่โศกเศร้าแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี อย่างมาก

พระเมรุ 5 ยอด สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย (กรมพระเทพนารีรัตน์)

และสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ณ ท้องสนามหลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง พระเมรุห้ายอด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นพิเศษ และโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สิ่งก่อสร้างเป็นไม้จริง ด้วยมีพระราชประสงค์ว่าเมื่อเสร็จการแล้วจะพระราชทานแก่โรงพยาบาล เมื่อเสร็จการพระเมรุแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระเมรุไปสร้างเรือนคนไข้ได้จำนวน 4 หลัง ภายในโรงพยาบาล และพระราชทานเครื่องเรือน เครื่องใช้ทั้งปวงให้แก่โรงพยาบาลวังหลัง พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลวังหลังใหม่ว่า “โรงพยาบาลศิริราช”

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย