สารคดี (บาลีวันละคำ 351)
สารคดี
(บาลีไทย)
เป็นการเอาคำว่า “สาร” ประสมกับคำว่า “คดี” เป็น “สารคดี” (สา-ระ-คะ-ดี)
“สาร” (สา-ระ) ในภาษาบาลีแปลว่า สำคัญ, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง, ชั้นในที่สุดและส่วนที่แข็งที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แก่นหรือแกนของไม้, แก่นสาร, ส่วนสำคัญ, ส่วนที่ดีที่สุด, คุณค่า
“คดี” บาลีเป็น “คติ” (คะ-ติ) แปลตามศัพท์ว่า “การไป” แต่มีความหมายอย่างอื่นอีก คือ การจากไป, การผ่านไป, ทางไป, ที่ไป, ที่อยู่, ที่เกิดใหม่, ภพภูมิที่ไปเกิด, ทิศทาง, แนวทาง, วิถีชีวิต, ความเป็นไป, แบบอย่าง, วิธี
“คติ” แปลงเป็น “คดี” ในภาษาไทย เกิดความหมายใหม่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า “คดี” คือ “เรื่อง” มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น … สารคดี
พจน.42 ให้ความหมาย “สารคดี” ว่า เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ
“สารคดี” จึงแปลตามศัพท์แบบบาลีไทยว่า “เรื่องที่มีสาระ”
: เรื่องที่มีสาระ บางคนเห็นว่าไม่มีสาระ
: แต่เรื่องที่ไม่มีสาระ บางคนเห็นว่ามีสาระ
พุทธภาษิต :
อสาเร สารมติโน………อสารพาลว่าสารเพ็ญ
สาเร จาสารทสฺสิโน…..สารเห็นเป็นอสารผิด
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ….คิดพลาดเพราะขาดพิศ
มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.…..จึงไป่พบประสบสาร
บาลีวันละคำ (351)
28-4-56
นอกเฟรม
น่าสังเกตว่า ภาษาไทย ถ้าพูดว่า “เกิดเรื่อง” ก็คือเกิดเหตุร้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแก้ไขไม่ได้ด้วยดีตั้งแต่ต้นก็อาจจะต้องฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นอีกความหมายหนึ่งของคำว่า “คดี” คือ คดี = เรื่อง “เกิดเรื่อง” = “เกิดคดี”
สาร (บาลี-อังกฤษ)
[เวท. สาร นปุํ. Vedic sāra nt.]
– 1. สำคัญ, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง essential, most excellent, strong องฺ.2/110; วิ.4/214; ชา.3/368; ปุ.53.
– 2. (ปุํ.) ชั้นในที่สุด และส่วนที่แข็งที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แก่นหรือแกนของไม้ (ดู เผคฺคุ ด้วย) (m.) the innermost, hardest part of anything, the heart or pith of a tree (see also pheggu) ม.1/111; ชา.1/331; มิลินฺ.413; ไม้ชนิดดีพิเศษ most excellent kind of wood วิ.2/110; ที.2/182,187; สตฺตสารา ผู้ที่เลือกแล้ว, คนดี the elect, the salt of the earth ม.3/69.
– 3. แก่นสาร, ส่วนสำคัญ, ส่วนที่ดีที่สุด (โดยทั่ว ๆ ไปอยู่ท้ายสมาส) substance, essence, choicest part (generally at the end of comp.)วิ.1/184; องฺ.2/141; สํ.3/83,140; สุตฺ.นิ.5,330,364; ธ.11; เปต.อ.132,211 (จนฺทน-). สาเร ปติฏฺฐิโต ตั้งขึ้นหรือมีรากฐานอยู่บนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ). sāre patiṭṭhito established, based, on what is essential ม.1/31; องฺ.2/183.
– 4. คุณค่า value มิลินฺ.10; อปฺปสาร มีค่าน้อย appasāra of small value ที.2/346.
– อสาร ไม่มีราคา worthless สุตฺ.นิ.937; นิสฺสาร แปลอย่างเดียวกัน nissāra the same ชา.2/163 (ปราศจากแก่นสาร pithless); มหาสาร มีคุณค่ามาก mahāsāra of high value ชา.1/384,463.
สาร+อาทายินฺ ถือเอาสิ่งที่มีสาระ acquiring what is essential สํ.4/250.
สาร+คนฺธ ไม้แก่นจันทน์ the odour of the heart of a tree ธ.ส.625.
สาร+คพฺภ ขุมทรัพย์ a treasury ชา.3/408; 5/331.
สาร+คเวสินฺ หาไม้แข็ง searching for hard wood ม.1/111,233; สารปริเยสน การแสวงหาสิ่งที่มีสาระ sārapariyesana the same ibid.
สาร+ทารุ ไม้ที่แข็งแรงและทนทาน strong, durable wood ชา.2/68.
สาร+ภณฺฑ(ก) ห่อของสิ่งของที่ดีที่สุดของตน a bundle of one’s best things ชา.2/225.
สาร+ภูมิ ดินดี good soil ชา.2/188.
สาร+มญฺชูสา กล่องที่ทำด้วยไม้ที่เลือกคัดแล้ว a box made of choice wood ชา.4/335.
สาร+มย ทำด้วยไม้แข็งหรือแก่นไม้ being of hard or solid wood ชา.3/318 (อ. สารรุกฺขมยฺ, “ของแก่นไม้” trsln C. sārarukkhamaya, “of sāra wood” trsln).
สาร+สุวณฺณ ทองคำแท้ sterling gold สุตฺ.นิ.อ.448 (ในการอธิบายถึงชื่อ พระเจ้าพิมพิสาร in expln of name Bimbisāra).
สาร+สูจิ เข็มที่ทำด้วยไม้แข็ง a needle made of hard wood ชา.1/9.
คติ (บาลี-อังกฤษ)
๑ การไป, การจากไป going, going away, ทิศทาง, แนว, วิถีชีวิต direction, course, career.
๒ การจากไป, การผ่านไป going away, passing on, ทางไป course
คตี
๑ มีปกติไป
๒ มีคติอย่างหนึ่ง, มีชะตากรรม, มีพรหมลิขิต
คติ = ที่ไป, ที่อยู่, ที่เกิดใหม่, ภพเป็นที่ไปของสัตว์ (ศัพท์วิเคราะห์)
– สุจริตทุจฺจริตกมฺเมน สตฺเตหิ อุปปชฺชนวเสน คนฺตพฺพาติ คติ ภูมิอันเหล่าสัตว์ต้องไป ด้วยการเข้าถึง
คมฺ ธาตุ ในความหมายว่าไป, ถึง ติ ปัจจัย ลบ ม ที่สุดธาตุ
– คจฺฉติ ปวตฺตติ เอตฺถาติ คติ ที่เป็นที่ไป (เหมือน วิ.ต้น)
สาร ๑, สาร- ๑
[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).
คติ ๑
[คะติ] น. การไป; ความเป็นไป. (ป.).
คติ ๒
[คะติ] น. แบบอย่าง, วิธี, แนวทาง. (ป.).
สารคดี
[สาระ-] น. เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ.
สารคดี (สอ เสถบุตร)
a feature, a feature article; the feature section of a newspaper
คดี
[คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).