บาลีวันละคำ

สิงขร (บาลีวันละคำ 355)

สิงขร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า “สิงขร” (สิง-ขอน) คือ “สิขร

ดูที่คำว่า “สิขร” บอกคำแปลไว้ว่า จอม, ยอด, หงอน; ยอดเขา

บาลีมีคำว่า “สิขา” แปลว่า เปลวไฟ, ผมจุก, หงอน, ยอดแหลม

จาก “สิขา” ดำเนินกรรมวิธีทางไวยากรณ์เป็น “สิขร” (สิขา + ) แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่เกิดแหลมขึ้นไป

สิขร” แปลว่า ยอด, ยอดเขา, ยอดแหลม, สุดยอด, ปลายดาบหรือด้านคมของดาบ, ผมจุก, ผมเป็นขมวด, ดอกไม้ตูม

โปรดสังเกตว่า ในภาษาบาลี “สิขร” หมายถึง “ยอดของภูเขา” ไม่ได้หมายถึงภูเขาทั้งลูก ถ้าจะให้หมายถึง “ภูเขา” จะต้องเป็น “สิขรี” (สิ-ขะ-รี) แปลว่า “ภูมิภาคที่ประกอบด้วยยอด” หรือ “ภูมิภาคที่มียอดแหลม” ซึ่งหมายถึงภูเขาทั้งลูก

สิขรสิขรี” รูปสันสกฤตเป็น ศิขร ศิขรินฺ ไทยเราเอามาเขียนเป็น ศิขริน, ศิขรี, ศิงขร, ศิงขริน, ศิงขรี, ศีขร, ศีขริน, ศีขรี และทุกคำหมายถึง “ภูเขา

คำที่เราคุ้นกันมากที่สุด คือ “สิงขร” บางทีก็พูดคำแปลติดไปด้วยว่า “สิงขรเขา

อย่าลืมถามตัวเอง :สิขรคือยอดเขา แล้วยอดเรา คืออะไร ?

————-

(ตามอัชเฌสนาพจน์ของพระคุณท่านอาทิตฺตเมธี ภิกฺขุ)

บาลีวันละคำ (355)

2-5-56

อาทิตฺตเมธี ภิกฺขุ ๒๙ มี.ค.๕๖

สิขร ๑ = ยอดอ่อน, ปลายไม้ (ศัพท์วิเคราะห์)

สิขา จูฬา, สา วิย ชายตีติ สิขโร ยอดที่เกิดเหมือนหงอนนก

สิขา + อร ลบสระหน้า

สิขร ๒ = ยอดเขา

สิขํ รุหตีติ สิขโร ส่วนที่เกิดแหลมขึ้นไป

สิข บทหน้า รุห ธาตุ ในความหมายว่าเกิด กฺวิ ปัจจัย ลบ ห ที่สุดธาตุและ กฺวิ แปลง อุ เป็น อ

สิขรี = ภูเขา

สิขรโยคา สิขรี ภูมิภาคที่ประกอบด้วยยอด (สิขร + อี)

สิขโร อสฺสตฺถีติ สิขโร ภูมิภาคที่มียอดแหลม (สิขร + อี)

สิขา ๑ = เปลวไฟ

สิโนติ นิสานึ ภวตีติ สิขา ไฟที่แหลม

สิ ธาตุ ในความหมายว่าคม, แหลม ข ปัจจัย อา อิตฺ.

สิขา ๒ = ผมเปีย, ผมจุก

สิเนติ พนฺธตีติ สิขา ผมที่พันกัน หมายถึงผมเปีย

สิ ธาตุ ในความหมายว่าผูก, พัน ข ปัจจัย อา อิตฺ.

อูกาทโย สยนฺติ เอตฺถาติ สิขา จุกผมอันเป็นที่อยู่อาศัยแห่งเหาเป็นต้น

สิ ธาตุ ในความหมายว่าอยู่อาศัย ข ปัจจัย อา อิตฺ.

สิขา ๓ = หงอน

สิโนติ นิสานึ ภวตีติ สิขา อวัยวะที่แหลมขึ้นไป

สิ ธาตุ ในความหมายว่าคม, แหลม ข ปัจจัย อา อิตฺ.

สิขร นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ยอด, หงอน.

สิขรี ป.

ภูเขา.

สิขร (บาลี-อังกฤษ)

ยอด, ยอดเขา, ยอดแหลม, สุดยอด, ปลายดาบหรือด้านคมของดาบ, ผมจุก, ผมเป็นขมวด, ดอกไม้ตูม

สิขา

ยอด, ปลาย, หงอน, ผมจุก

สิงขร

 [-ขอน] น. สิขร.

สิขร

 [-ขอน] น. จอม, ยอด, หงอน; ยอดเขา. (ป.; ส. ศิขร).

สิขรี

 [-ขะรี] น. ภูเขา. (ป.; ส. ศิขรินฺ).

ศิขร

 [-ขอน] น. ยอด, ยอดเขา, ภูเขา, ใช้ว่า ศิงขร หรือ ศีขร ก็มี. (ส.).

ศิขริน, ศิขรี

 [สิขะ-] น. ภูเขา.ว. มียอด, ใช้ว่า ศิงขริน หรือ ศิงขรี ก็มี. (ส. ศิขรินฺ).

ศีขร

 [สีขอน] น. ศิขร.

ศีขริน, ศีขรี

 [สีขะ-] น. ศิขริน, ศิขรี.

ศีขรภูมิ อำเภอ ขึ้น จ.สุรินทร์ ละติจูด ๑๔? ๕๖?.๗ เหนือ ลองจิจูด ๑๐๓? ๔๗?.๗ ตะวันออก ตั้งที่ว่าการที่ ต.ระแงง ทิศเหนือติดต่อกับ อ.สนม ทิศตะวันออกติดต่อกับ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ และ อ.ศรีณรงค์ ทิศใต้ติดต่อกับ อ.ลำดวน ทิศตะวันตกติดต่อกับ อ.เมืองสุรินทร์ อ.เขวาสินรินทร์ และ อ.จอมพระ การคมนาคมจากเมืองไปอำเภอโดยทางรถไฟลงที่สถานีศีขรภูมิ ระยะทาง ๓๔ กม. หรือโดยทางหลวงหมายเลข ๒๒๖ (สุรินทร์-ศรีสะเกษ) ระยะทาง ๓๓ กม. ที่อำเภอนี้มีปราสาทขอมสร้างเป็นห้ายอดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน

อ.ศีขรภูมิ ตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ มี ๑๕ ตำบล คือ ๑. ระแงง ๒. กุดหวาย ๓. ขวาวใหญ่ ๔. คาละแมะ ๕. จารพัด ๖. ช่างปี่ ๗. ตรมไพร ๘. ตรึม ๙. แตล ๑๐. นารุ่ง ๑๑. ผักไหม ๑๒. ยาง ๑๓. หนองขวาว ๑๔. หนองบัว ๑๕. หนองเหล็ก

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย