บาลีวันละคำ

อากิญจัญญายตนะ (บาลีวันละคำ 3,532)

อากิญจัญญายตนะ

อรูปพรหมชั้นที่สาม

อ่านว่า อา-กิน-จัน-ยา-ยะ-ตะ-นะ 

อากิญจัญญายตนะ” เขียนแบบบาลีเป็น “อากิญฺจญฺญายตน” อ่านว่า อา-กิน-จัน-ยา-ยะ-ตะ-นะ แยกศัพท์เป็น อากิญฺจญฺญ + อายตน 

(๑) “อากิญฺจญฺญ” 

อ่านว่า อา-กิน-จัน-ยะ รูปศัพท์เดิมคือ “อกิญฺจน” อ่านว่า อะ-กิน-จะ-นะ ประกอบรูปขึ้นจาก + กิญฺจน 

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ + กิญฺจนกิญฺจน” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น  

(ข) “กิญฺจน” อ่านว่า กิน-จะ-นะ รูปคำเดิมเป็น “กิญฺจิ” (กิน-จิ), มาจาก กึ (กิง, นิบาตบอกความถาม = อะไร) + จิ, แปลง อิ ที่ จิ เป็น แล้วแปลง เป็น

: กิญฺจิ > กิญฺจย > กิญฺจน (กิน-จะ-นะ) (หรือจะว่า แปลง กิญฺจิ เป็น กิญฺจน ก็ได้) แปลว่า “อะไรบ้าง” หมายถึง บางสิ่งบางอย่าง, อะไรก็ได้ (something, anything)

: + กิญฺจน = นกิญฺจน > อกิญฺจน (อะ-กิน-จะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่มีอะไรเลย” หมายถึง ไม่มีอะไรเลย, ปราศจากกิเลสเครื่องกังวล (having nothing, being without a moral stain)

แปลง “อกิญฺจน” เป็น “อากิญฺจญฺญ” (อา-กิน-จัน-ยะ) ความหมายคงเดิม

(๒) “อายตน” 

อ่านว่า อา-ยะ-ตะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ยตฺ (ธาตุ = พยายาม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: อา + ยตฺ = อายตฺ + ยุ > อน = อายตน (อา-ยะ-ตะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ผู้ต้องการผลพยายาม” (ผู้ต้องการผลอันใดอันหนึ่ง ไปลงมือพยายามทำกิจเพื่อผลนั้นในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า “ที่เป็นที่ผู้ต้องการผลพยายาม”)

(2) อา (ผล)+ ตน (ธาตุ = ขยาย, แผ่ไป) + (อะ) ปัจจัย

: อาย + ตนฺ = อายตนฺ + = อายตน (อา-ยะ-ตะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายผลของตนไป” 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “อายตน” ว่า อายตนะ, ที่อยู่, ที่เกิด, ที่ประชุม, เหตุ, บ่อเกิด, เทวาลัย, เจดีย์, ลัทธิ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “อายตน” ไว้ดังนี้ –

(1) stretch, extent, reach, compass, region; sphere, locus, place, spot; position, occasion (ระยะ, เขต, ปริมณฑล, ดินแดน, ถิ่น, สถานที่, จุด; ตำแหน่ง, โอกาส) 

(2) exertion, doing, working, practice, performance (ความพยามยาม, การกระทำ, การทำงาน, การปฏิบัติ, การประกอบ) 

(3) sphere of perception or sense in general, object of thought, sense-organ & object; relation, order (ขอบเขตของความเข้าใจหรือความรู้สึกโดยทั่วๆ ไป, สิ่งที่คิดถึง, สิ่งที่รับรู้ และธรรมารมณ์; ความสัมพันธ์, ลำดับ) 

ในที่นี้ “อายตน” ใช้ในความหมายตามข้อ (1)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

อายตนะ : (คำนาม) เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).”

พึงทราบว่า ตามที่พจนานุกรมฯ บอกไว้นี้เป็นเพียงความหมายหนึ่งเท่านั้นของคำว่า “อายตน” ในบาลี

อากิญฺจญฺญ + อายตน = อากิญฺจญฺญายตน (อา-กิน-จัน-ยา-ยะ-ตะ-นะ) แปลว่า “ภูมิแห่งผู้บรรลุฌานกำหนดความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์” 

อากิญฺจญฺญายตน” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อากิญจัญญายตนะ” (อา-กิน-จัน-ยา-ยะ-ตะ-นะ) คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายคำว่า “อากิญจัญญายตนะ” ไว้ดังนี้ –

…………..

อากิญจัญญายตนะ : ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์, ภพของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน (ข้อ ๓ ในอรูป ๔)

…………..

และที่คำว่า “อรูป” พจนานุกรมพุทธศาสน์ฯ มีคำอธิบายดังนี้ –

…………..

อรูป : ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

…………..

ขยายความ :

เพื่อให้เห็นที่มาของคำว่า “อากิญจัญญายตนะ” ชัดเจนขึ้น ขอนำคำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถามาเสนอดังนี้ –

…………..

อากิญฺจญฺญายตนนฺติ  เอตฺถ  ปน …

ในคำว่า อากิญฺจญญายตน นี้ (มีคำอธิบายที่มาของชื่อ “อากิญจัญญายตนะ” ดังต่อไปนี้) 

นาสฺส  กิญฺจนนฺติ  อกิญฺจนํ …

กิญจนะ (ความกังวล) ของผู้บรรลุฌานนั้นไม่มี เหตุนั้น ฌานนั้นจึงชื่อว่า อกิญจนะ (ไม่มีความกังวล)

อนฺตมโส  ภงฺคมตฺตมฺปิ  อสฺส  อวสิฏฺฐํ นตฺถีติ  วุตฺตํ  โหติ  ฯ

อธิบายเพิ่มเติมว่า ฌานนั้นไม่มีอะไรๆ ที่ยังเหลืออยู่ ชั้นที่สุดแม้เพียงภังคขณะ (คือชั่วขณะที่จะดับไปก็ไม่ต้องพะวงถึง)

อกิญฺจนสฺส  ภาโว  อากิญฺจญฺญํ  ฯ

ภาวะแห่งอกิญจนะ ชื่อว่า อากิญจัญญะ

อากาสานญฺจายตนวิญฺญาณาปคมสฺเสตํ  อธิวจนํ  ฯ

คำว่า “อากิญจัญญะ” นี้ เป็นชื่อของอากาสานัญจายตนฌานที่ปราศจากวิญญาณ (หมายความว่า วิญญาณัญจายตนฌาน ยังพิจารณาวิญญาณเป็นอารมณ์ พอมาถึงอากาสานัญจายตนฌานเปลี่ยนมาพิจารณาอากาศเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่า “อากาสานัญจายตนฌานที่ปราศจากวิญญาณ”)

ตํ  อากิญฺจญฺญํ  อธิฏฺฐานฏฺเฐน  อายตนมสฺสาติ  อากิญฺจญฺญายตนํ …

อากิญจัญญะนั้นเป็นอายตนะแห่งฌานนั้น โดยคำว่า “อายตนะ” มีความหมายว่าเป็นที่ตั้งมั่น (หรือเป็นที่คงอยู่) ด้วยเหตุผลดังว่านี้ จึงชื่อว่า “อากิญจัญญายตนะ” (อากิญฺจญฺญ + อายตน; มีความหมายว่า ภูมิแห่งผู้ได้ฌานระดับที่ไม่มีความกังวลใดๆ เหลืออยู่)

อากาเส  ปวตฺติตวิญฺญาณาปคมารมฺมณชฺฌานสฺเสตํ  อธิวจนํ  ฯ

คำว่า “อากิญจัญญายตนะ” นี้ เป็นชื่อของฌานที่เป็นไปในความว่างเปล่า ซึ่งมีความปราศจากวิญญาณเป็นอารมณ์

ตํ  อากิญฺจญฺญายตนํ  สมาปนฺนสฺส  ตาย  วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญาย  จิตฺตํ วิวิตฺตํ  ฯ

ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนฌานมีจิตสงัดจากวิญญานัญจายตนสัญญา (คือล่วงพ้นจากระดับวิญญานัญจายตนฌานไปแล้ว

ที่มา: สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส (คุหฏฺฐกสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา) หน้า 139-140

…………..

สญฺญคฺคนฺติ  อากิญฺจญฺญายตนํ  วุจฺจติ  ฯ

อากิญจัญญายตนะ เรียกว่า สัญญัคคะ (แปลว่า ที่สุดแห่งสัญญา หรือยอดสัญญา; สัญญา = ความจำได้หมายรู้)

กสฺมา  ฯ

เพราะเหตุอะไร?

โลกิยานํ  กิจฺจการิกสมาปตฺตีนํ  อคฺคตฺตา  ฯ

เพราะเป็นองค์ที่สุดแห่งสมาบัติที่มีหน้าที่ทำกิจในระดับโลกิยะ

อากิญฺจญฺญายตนสมาปตฺติยํ  หิ  ฐตฺวา  เนวสญฺญานาสญฺญายตนํปิ  นิโรธํปิ  สมาปชฺชนฺติ  ฯ

ทั้งนี้เพราะผู้ดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง นิโรธสมาบัติบ้าง 

(หมายความ บรรดาฌานในระดับโลกิยะ อากิญจัญญายตนะเป็นฌานสุดท้ายที่ยังมีกิจที่จะต้องทำ คือยังต้องพิจารณาอากาศบ้าง วิญญาณบ้าง เป็นอารมณ์ แต่พอมาถึงอากิญจัญญายตนฌาน ไม่ต้องมีอะไรเป็นอารมณ์ให้พิจารณา จึงเรียกว่าเป็น สัญญัคคะ)

อิติ  สา  โลกิยานํ  กิจฺจการิกสมาปตฺตีนํ  อคฺคตฺตา  สญฺญคฺคนฺติ  วุจฺจติ  ฯ

อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเรียกว่า สัญญัคคะ เพราะเป็นองค์ที่สุดแห่งสมาบัติที่มีหน้าที่ทำกิจในระดับโลกิยะ ด้วยประการฉะนี้

ที่มา: สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย ภาค 1 หน้า 509 (โปฏฺฐปาทสุตฺตวณฺณนา)

…………..

หมายเหตุ: คำอธิบายจากคัมภีร์ที่ยกมาเสนอในที่นี้ ขอให้ถือว่าเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น แม้จะเข้าใจยากหรืออ่านไม่รู้เรื่องเลย ก็ยังเป็นประโยชน์ด้วยเหตุผลที่ว่า-มีข้อมูลหลักฐานที่มีผู้นำมาวางไว้ตรงนี้ เมื่อมีโอกาสที่จะศึกษาตรวจสอบอีกในภายหลัง จะได้อาศัยข้อมูลนี้เป็นพื้นฐานก้าวไปสู่ข้อมูลอื่นๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจที่กว้างขวางขึ้นไปอีก

…………..

อากิญจัญญายตนะ” จัดอยู่ในภูมิที่เรียกว่า “อรูปาวจรภูมิ” ชั้นของพรหมผู้ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน คือที่เรียกรวมว่า “อรูปพรหม” และเป็นอรูปพรหมชั้นที่สาม

ภูมิของอรูปพรหมมี 4 ระดับ คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีมาก ทุกข์มาก

: มีน้อย ทุกข์น้อย

: ไม่มีอะไรเลย ไม่ทุกข์อะไรเลย

#บาลีวันละคำ (3,532)

12-2-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *