บาลีวันละคำ

อกนิษฐ์ (บาลีวันละคำ 3,529)

อกนิษฐ์

รูปพรหมชั้นที่สิบหก

อ่านว่า อะ-กะ-นิด 

อกนิษฐ์” เขียนแบบบาลีเป็น “อกนิฏฺฐ” อ่านว่า อะ-กะ-นิด-ถะ รากศัพท์มาจาก + กนิฏฺฐ

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ + กนิฏฺฐกนิฏฺฐ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น  

(ข) “กนิฏฺฐ” อ่านว่า กะ-นิด-ถะ รากศัพท์มาจาก ยุว (หนุ่ม) + อิฏฺฐ ปัจจัย, แปลง ยุว เป็น กน (กะ-นะ) 

: ยุว > กน + อิฏฺฐ = กนิฏฺฐ (กะ-นิด-ถะ) แปลตามศัพท์ว่า “คนที่หนุ่มกว่าเขาทั้งหมด” ใช้ในความหมายว่า อายุอ่อนกว่า, อายุน้อยที่สุด, ผู้เกิดเป็นน้อง (younger, youngest, younger born)

ในภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “กนิษฐ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

กนิษฐ-, กนิษฐ์ : (คำวิเศษณ์) “น้อยที่สุด”, (คำราชาศัพท์) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).”

+ กนิฏฺฐ มี “รูปวิเคราะห์” (กระบวนการกระจายคำเพื่อหาความหมาย) ดังนี้ – 

อุกฺกฏฺฐสมฺปตฺตีหิ โยคโต นตฺถิ เอเตสํ กนิฏฺฐา สมฺปตฺตีติ อกนิฏฺฐา.

แปลตามศัพท์ว่า สมบัติชนิดที่เล็กน้อยของพรหมเหล่านี้หามีไม่ เพราะประกอบด้วยสมบัติที่สูงสุด ดังนั้น พรหมเหล่านี้จึงชื่อว่า “อกนิฏฺฐา

: + กนิฏฺฐ = นกนิฏฺฐ > อกนิฏฺฐ (อะ-กะ-นิด-ถะ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีสมบัติเล็กน้อยหามิได้” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อกนิฏฺฐ” ว่า “not the smaller” i. e. the greatest, highest (“ไม่เล็กกว่า” คือใหญ่ที่สุด, สูงสุด) 

และยกตัวอย่างอีก 2 คำ คือ 

– “อกนิฏฺฐคามี” แปลไว้ว่า going to the highest gods (เข้าถึงพรหมชั้นอกนิษฐ์) 

– “อกนิฏฺฐภวน” แปลไว้ว่า the abode of the highest gods (อกนิฏฐภพ) 

ในภาษาบาลี “อกนิฏฺฐ” ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายคำว่า “เทวา” (เทวดาทั้งหลาย) เปลี่ยนรูปเป็น “อกนิฏฺฐา” 

อกนิฏฺฐา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อกนิษฐ์” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

คำว่า “อกนิษฐ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

อกนิษฐ์ : (คำนาม) รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหม ๑๖ ชั้น. (ส. อกนิษฺฐ; ป. อกนิฏฺฐ). (คำวิเศษณ์) ใหญ่ที่สุด, สูงสุด, มากที่สุด.”

อภิปรายขยายความ :

ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา ขยายความคำว่า “อกนิษฐ์” (อกนิฏฺฐา) ไว้ดังจะขอยกมาเสนอบางแห่ง ดังนี้ 

…………..

สพฺเพหิเยว  คุเณหิ  จ  ภวสมฺปตฺติยา  จ  เชฏฺฐา  นตฺเถตฺถ  กนิฏฺฐาติ  อกนิฏฺฐา  ฯ

ชื่อว่าอกนิษฐ์ เพราะเป็นผู้เจริญที่สุดด้วยคุณทั้งหมดทีเดียว และด้วยภวสมบัติ ผู้ที่มีคุณธรรมน้อยย่อมไม่เกิดมีในภพนี้

ที่มา: สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์ หน้า 836

…………..

ปญญฺจมตลวาสิโน  ปน  อุกฺกฏฺฐสมฺปตฺติกตฺตา  นตฺถิ  เอเตสํ  กนิฏฺฐภาโวติ  อกนิฏฺฐา  ฯ

ส่วนพวกพรหมผู้อยู่ในชั้นที่ 5 ชื่อว่าอกนิฏฐา โดยความหมายว่า พรหมเหล่านี้ไม่มีความต่ำต้อย เพราะเป็นผู้มีสมบัติที่สูงสุด

ที่มา: อภิธัมมัตถวิภาวินี หน้า 159

…………..

อกนิษฐ์” (อกนิฏฺฐา) เป็นชื่อของพรหมชั้นที่ 16 อันเป็นชั้นสูงสุดในรูปาวจรภูมิซึ่งมีทั้งหมด 16 ชั้น 

อกนิษฐ์” เป็นพรหมที่อยู่ในชั้นที่เรียกว่า “สุทธาวาส” ซึ่งมี 5 จำพวก คือ อวิหาพรหม อตัปปาพรหม สุทัสสาพรหม สุทัสสีพรหม และอกนิฏฐพรหม 

ในภูมิชั้นสุทธาวาส อกนิษฐพรหมเป็นพรหมชั้นที่ 5 อันเป็นชั้นสูงสุด มีอายุยืนยาว 16,000 กัป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเล็กไม่เป็น

: ก็ยังใหญ่ไม่จริง

#บาลีวันละคำ (3,529)

9-2-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *