บาลีวันละคำ

พระบรมสารีริกธาตุ (บาลีวันละคำ 383)

พระบรมสารีริกธาตุ

อ่านว่า พระ-บอ-รม-มะ-สา-รี-ริ-กะ-ทาด

ประกอบด้วยคำว่า พระ + บรม + สารีริก + ธาตุ

พระ” ผู้รู้ว่ามาจาก “วร” (วะ-ระ) แปลว่า ประเสริฐ ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง

บรม” บาลีเป็น “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) แปลว่า อย่างยิ่ง, เยี่ยม, ยอดเยี่ยม, สูงสุด, ดีที่สุด ในภาษาไทยมักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่

สารีริก” (สา-รี-ริ-กะ) คำเดิมคือ “สรีร” (สะ-รี-ระ) หมายถึงร่างกาย, ตัว, เรือนร่าง

สรีร + ณิก ปัจจัย = สารีริก

สูตรของ ณิก ปัจจัย คือ ลบ เหลือแต่ อิก และถ้าพยางค์ต้นศัพท์เป็นเสียงสั้น (อะ อิ อุ) ให้ยืดเป็นเสียงยาว (อะ เป็น อา, อิ เป็น อี, อุ เป็น อู)

ดังนั้น สรีร (– เสียงสั้น) จึงเปลี่ยนรูปเป็น สารีร + อิก = สารีริก แปลตามศัพท์ว่า “มีอยู่ในสรีระ” “เกี่ยวกับร่างกาย” หมายถึงกระดูก

ธาตุ” (บาลีอ่านว่า ทา-ตุ) ความหมายทางธรรมว่า สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย (= รากเดิมของสิ่งต่างๆ) แต่ในที่นี้หมายถึงกระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์

พระบรมสารีริกธาตุ” จึงหมายถึงพระอัฐิธาตุคือกระดูกของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่คนไทยคุ้นปากกันเป็นอันดี แต่อาจจะไม่ทันได้นึกว่า “สารีริก” รากศัพท์มาจาก “สรีระ” นี่เอง

วันอัฐมี คือแรม ๘ ค่ำ เดือนวิสาขะ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ชาวโลกได้เห็นพระบรมสารีริกธาตุเป็นครั้งแรก และได้ทำสักการบูชาเป็นพุทธานุสติสืบมาจนถึงทุกวันนี้

บาลีวันละคำ วันนี้ ถวายเป็นอัฐมีบูชา

บาลีวันละคำ (383)

1-6-56

สรีร = สรีระ, อัตภาพ, ร่างกาย, ตัว (ศัพท์วิเคราะห์)

สรติ คจฺฉตีติ สรีรํ ร่างที่เป็นไปตามปกติ

สร ธาตุ ในความหมายว่าเป็นไป อีร ปัจจัย

สรติ วาตํ หึสตีติ สรีรํ ร่างที่เบียดเบียนลม

สร ธาตุ ในความหมายว่าเบียดเบียน อีร ปัจจัย

สรีร (บาลี-อังกฤษ)

(นปุง.) (เวท. ศรีร Vedic śarīra)

๑. ร่างกาย the (physical) body D i.157; อนฺติมสรีร ผู้มีสรีระของตนเป็นครั้งสุดท้าย, พระอนาคามี antimasarīra one who wears his last body, an Anāgāmin Sn 624;

๒. ร่างกายคนตาย, ซากศพ a dead body, a corpse D ii.141, 164; M iii.91.

๓. กระดูก the bones D ii.164.

๔. อัฐิ relics Vv 63, 32; VvA 269.

สารีริก

(คุณ.) (จาก สรีร fr. sarīra)

เกี่ยวเนื่องกับสรีระ, เกี่ยวกับร่างกาย connected with the body, bodily M i.10;

(นปุง.) สารีรกธาตุ bodily relics Miln 341; สารีริกํ เจติยํ หนึ่งใน ๓ ชนิด sārīrikaŋ cetiyaŋ one of the 3 kinds: ปริโภคิก, สารีริก, อุทฺเทสิก paribhogika, s., uddesika J iv.228.

ธาตุ

(อิต.) (สัน. ธาตุ แห่ง ทธาติ Sk. dhātu to dadhāti, Idg. *dhē, เทียบ Gr. ti/qhmi, a)na/ — qhma, สัน. ธามนฺ, ธาตฺร Sk. dhāman, dhāṭr (=Lat. conditor); Goth. gadēds; Ohg. tāt, tuom (ในความหมาย — ˚= ธาตุ, เทียบ E. serf-dom “condition of . . .” “สภาวะของ..”) tuon=E. to do ทำ; และกับ ก-ปัจจัย Lat. facio, Gr. (e)/)qhk(a), สัน. ธาก; ดู ธมฺม ด้วย Sk. dhāka; see also dhamma)

ธาตุ element. เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ ธมฺม ในความหมายข้อ ข.๑. ข Closely related to dhamma in meaning B 1b, เพียงแต่หมายถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดเกี่ยวกับกายธาตุ only implying a closer relation to physical substance. สำหรับความหมายทั่วไป เทียบ Dhs. trsl น.๑๙๘ As to its gen. connotation cp. Dhs. trsl. p. 198.-

๑ ปฐมธาตุ, คือธาตุซึ่งมีอยู้ด้วยกัน ๔ อย่าง คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย (ดิน น้ำ ไฟ ลม) a primary element, of which the usual set comprises the four paṭhavī, āpo, tejo, vāyo (earth, water, fire, wind), หรืออีกอย่างหนึ่งก็เรียกว่า มหาภูตรูป ๔ otherwise termed cattāro mahābhūtā(ni):

๒ (ก) ภาวะตามธรรมชาติ, คุณสมบัติ, อุปนิสัย, ปัจจัย, หัวข้อ, หลัก, รูป natural condition, property, disposition; factor, item, principle, form. ตามความหมายนี้ ในกรณีรวมกับคำอื่น และการใช้ต่างๆ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ขนฺธ In this meaning in var. combns & applications, esp. closely related to khandha. (ข) ธาตุเกี่ยวกับความรู้สึก เกี่ยวถึงอายตนะภายใน ๖ และภายนอกอีก ๖ elements in sense — consciousness: referring to the 6 ajjhattikāni & 6 bāhirāni āyatanāni. (ค) ต่างๆ: อเนกํ various: aneka˚ A i.22; (ง) ที่เป็นหมวดๆ และที่ระบุไว้ต่างๆ กัน Different sets and enumerations: เป็น ๓ as 3 under kāma˚, rūpa˚, arūpa A i.223; เป็น ๖  as 6 (pathavī etc.+ākāsa˚ & viññāṇa˚): D iii.247; เป็น ๗  as 7 (ābhā subha etc.): S ii.150.

๓ อารมณ์ หรืออาการของกาย a humour or affection of the body DA i.253 (dhātusamatā).

๔ ส่วนที่เหลือของร่างเมื่อเผาศพแล้ว the remains of the body after cremation PvA 76; ธาตุ a relic VvA 165 (สรีรธาตุ สรีรธาตุ bodily relic) (ทสนธาตุ พระเขี้ยวแก้ว the toothrelic)

ธาตุ+กุจฺฉิ มดลูก womb Miln 176;

ธาตุ+กุสล ผู้สันทัดในเรื่องธาตุ skilled in the elements M iii.62;

ธาตุ+ฆร “เรือนพระธาตุ,” เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ “house for a relic,” a dagoba (a pagoda ?) SnA 194.

ธาตุ+เจติย เจดีย์ครอบพระธาตุ a shrine over a relic DhA iii.29;

ธาตุ+วิภาค การแจกพระธาตุ distribution of relics VvA 297; PvA 212.

pagoda (พะโก-ดะ) n. (สอ เสถบุตร)

สถูป, ปรางค์, พระเจดีย์

ปรม ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

อย่างยิ่ง, เยี่ยม, ยอดเยี่ยม, สูงสุด, ดีที่สุด.

สารีริก ค.เกี่ยวข้องกับร่างกาย; นป.กระดูก.

relics (สอ เสถบุตร)

๑. ศพ, ซาก, กาก, เดน

๒. ขนบธรรมเนียมที่เหลือมาแต่บรมโบราณ หรือความเห็น วัตถุ ที่เหลือค้างมาแต่บรมโบราณ, โบราณวัตถุ, สิ่งที่เก่าแก่พ้นสมัย

relic

ส่วนของร่างกายของผู้ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เช่น ผม พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งเก็บไว้เป็นที่ระลึก, ของที่ระลึก, อัฐิ

บรม, บรม-

  [บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.

บรมธาตุ

  น. กระดูกพระพุทธเจ้า.

สรีร-, สรีระ

 [สะรีระ-] น. ร่างกาย. (ป.; ส. ศรีร).

สารีริกธาตุ

  [-ริกกะทาด] น. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, ใช้ว่า พระบรมสารีริกธาตุ. (ป. สารีริก + ธาตุ).

ธาตุ ๑, ธาตุ-

 [ทาด, ทาตุ-, ทาดตุ-] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).

ธาตุ ๒

 [ทาด, ทาตุ-] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่น-อีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.

ธาตุ ๓

 [ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจํานวนเดียวกันในนิวเคลียส.

ธาตุ ๔

 [ทาด] น. รากศัพท์ของคําบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.

ธาตุ อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ธาตุ, ๑. สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย, ธาตุ ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่เรียกสามัญว่าธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ ๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่าธาตุไฟ ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม ๕. อากาสธาตุสภาวะที่ว่าง ๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้; ๒. กระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกรวม ๆ ว่าพระธาตุ (ถ้ากล่าวถึงกระดูกของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะเรียกว่า พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระสารีริกธาตุ หรือระบุชื่อกระดูกส่วนนั้น ๆ เช่น พระทาฐธาตุ)

สารีริกธาตุ (ประมวลศัพท์)

ส่วนสำคัญแห่งพระพุทธสรีระ ซึ่งคงอยู่เป็นที่เคารพบูชา โดยเฉพาะพระอัฐิ, กระดูกของพระพุทธเจ้า และส่วนสำคัญอื่นๆ แห่งพระสรีระของพระองค์ เช่น พระเกสา, มักใช้ว่า พระบรมสารีริกธาตุ; เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา และมีพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ที่มกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ได้มีกษัตริย์ผู้ครองแคว้นต่างๆ ๖ กับมหาพราหมณ์เจ้าเมือง  ๑  รวมเป็น  ๗ นคร (คือ ๑. พระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ ๒. กษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี ๓. ศากยกษัตริย์ เมืองกบิลพัสดุ์ ๔. ถูลีกษัตริย์ อัลลกัปปนคร ๕. โกลิยกษัตริย์ แห่งรามคาม ๖. มัลลกษัตริย์ เมืองปาวา ๗. มหาพราหมณ์ เจ้าเมืองเวฏฐทีปกนคร) ส่งทูตมาขอส่วนแบ่งพระสารีริกธาตุ, หลังจากเจรจากันนาน และในที่สุดได้ฟังสุนทรพจน์ของโทณพราหมณ์แล้ว ทั้ง ๗ เมืองนั้น ร่วมกับมัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา เป็น ๘ พระนคร ได้ตกลงมอบให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งพระบรมธาตุเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้แก่พระนครทั้ง ๘ นั้น เสร็จแล้วโทณพราหมณ์ได้ขอตุมพะคือทะนานทองที่ใช้ตวงพระธาตุไปบูชา, ฝ่ายโมริยกษัตริย์ เมืองปิปผลิวัน ได้ทราบข่าว ก็ส่งราชทูตมาขอส่วนแบ่งพระสารีริกธาตุ แต่ไม่ทัน จึงได้แต่พระอังคารไปบูชา, พระนครทั้ง ๘ ที่ได้ส่วนแบ่งพระสารีริกธาตุ ก็ได้สร้างพระสถูปบรรจุ เป็นพระธาตุสถูป ๘ แห่ง โทณพราหมณ์ก็อัญเชิญตุมพะไปก่อพระสถูปบรรจุ เป็นตุมพสถูป ๑ แห่ง โมริยกษัตริย์ก็อัญเชิญพระอังคารไปสร้างพระสถูปบรรจุไว้ เป็นพระอังคารสถูป ๑ แห่ง รวมมีพระสถูปเจดียสถานในยุคแรกเริ่ม ๑๐ แห่ง ฉะนี้

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย