บาลีวันละคำ

ปริยัตติอันตรธาน (บาลีวันละคำ 3,602)

ปริยัตติอันตรธาน

อันตรธานที่ 3-ศึกษาสูญ

อ่านว่า ปะ-ริ-ยัด-ติ-อัน-ตะ-ระ-ทาน

ปริยัตติอันตรธาน” เป็น 1 ในอันตรธาน 5 คือ (1) อธิคมอันตรธาน (2) ปฏิปัตติอันตรธาน (3) ปริยัตติอันตรธาน (4) ลิงคอันตรธาน (5) ธาตุอันตรธาน 

ปริยัตติอันตรธาน” ประกอบด้วยคำว่า ปริยัตติ + อันตรธาน

(๑) “ปริยัตติ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ปริยตฺติ” อ่านว่า ปะ-ริ-ยัด-ติ รากศัพท์มาจาก ปริ (คำอุปสรรค = รอบๆ, ทั่วไป) + อปฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ปัจจัย, ลง อาคมระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (ปริ + + อปฺ), แปลง ที่สุดธาตุเป็น (อปฺ > อตฺ) + อิ ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ปริ + + อปฺ = ปริยปฺ + = ปริยปฺต > ปริยตฺต + อิ = ปริยตฺติ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ข้ออันผู้ต้องการประโยชน์พึงเล่าเรียน” (2) “ข้อที่สามารถยังประโยชน์แห่งบุรุษที่เป็นปัจจุบันเป็นต้นให้สำเร็จได้” 

ปริยตฺติ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ความสามารถพอ, ความสำเร็จ, ความพอเพียง, ความสามารถ, ความเหมาะเจาะ (adequacy, accomplishment, sufficiency, capability, competency)

(2) พระปริยัติ, ความสามารถทางพระคัมภีร์, การเล่าเรียน (ท่องจำ) คัมภีร์ (accomplishment in the Scriptures, study [learning by heart] of the holy texts); 

(3) ตัวพระคัมภีร์นั้นเองทั้งหมดรวมกัน ซึ่งจดจำสืบๆ ต่อกันมา (the Scriptures themselves as a body which is handed down through oral tradition)

ปริยตฺติ” ในภาษาไทยใช้ว่า “ปริยัติ” (ตัด ออกตัวหนึ่ง) อ่านว่า ปะ-ริ-ยัด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปริยัติ : (คำนาม) การเล่าเรียนพระไตรปิฎก. (ป. ปริยตฺติ).”

ในที่ใช้คงรูปเดิมเป็น “ปริยัตติ

คำในชุดนี้มี 3 คำ คือ –

(ปริยัตติปฏิปัตติปฏิเวธ– สะกดตามบาลี)

(1) ปริยัตติธรรม (ปะ-ริ-ยัด-ติ-ทำ) คือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์

(2) ปฏิปัตติธรรม (ปะ-ติ-ปัด-ติ-ทำ) คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

(3) ปฏิเวธธรรม (ปะ-ติ-เว-ทะ-ทำ) คือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน

มักพูดกันสั้นๆ ว่า ปริยัติ (ปะ-ริ-ยัด) ปฏิบัติ (ปะ-ติ-บัด) ปฏิเวธ (ปะ-ติ-เวด)

(๒) “อันตรธาน” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อนฺตรธาน” อ่านว่า อัน-ตะ-ระ-ทา-นะ ประกอบด้วย อนฺตร + ธาน

(ก) “อนฺตร” บาลีอ่านว่า อัน-ตะ-ระ รากศัพท์มาจาก อติ (ธาตุ = ผูก) + อร ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (อติ > อต), ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุแล้วแปลงเป็น (อติ > อํติ > อนฺติ

: อติ > อํติ > อนฺติ > อนฺต + อร = อนฺตร แปลตามศัพท์ว่า “จุดที่ผูกสองข้างไว้” คือ มีข้างหนึ่ง แล้วก็มีอีกข้างหนึ่ง จากข้างหนึ่งไปถึงอีกข้างหนึ่งนี้แหละมีสิ่งหนึ่งผูกเอาไว้ สิ่งนั้นเรียกว่า “อนฺตร” = ระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง หมายถึง ภายใน, ระหว่าง, ช่องวางระหว่าง (inside, in between, a space between)

(ข) “ธาน” บาลีอ่านว่า ทา-นะ รากศัพท์มาจาก ธา (ธาตุ = ทรงไว้, ปิดกั้น) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) 

: ธา + ยุ > อน = ธาน แปลตามศัพท์ว่า “การทรงไว้” “การปิดกั้น”หมายถึง ทรงไว้, ถือไว้, บรรจุไว้ (holding, containing) ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะที่รองรับ, กระปุก (a receptacle) 

อนฺตร + ธาน = อนฺตรธาน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ทรงอยู่ในระหว่าง” (คือเข้ามาปิดกั้นไว้ทำให้มองไม่เห็น) หมายถึง การหาย หรือสูญหายไป (disappearance)

อนฺตรธาน” ในภาษาไทยเขียน “อันตรธาน” 

โปรดสังเกตและระวัง “-ธาน หนู สะกด ไม่ใช่ “-ธาร” ร เรือ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อันตรธาน : (คำกริยา) สูญหายไป, ลับไป. (ป., ส.).”

ปริยตฺติ + อนฺตรธาน = ปริยตฺติอนฺตรธาน บาลีอ่านว่า ปะ-ริ-ยัด-ติ-อัน-ตะ-ระ-ทา-นะ แปลว่า “การสูญหายไปแห่งการเล่าเรียนธรรม” หมายถึง ไม่มีผู้ใดมีฉันทะอุตสาหะที่จะศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์คือพระธรรมวินัยอันเป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาอีกต่อไป

ปริยตฺติอนฺตรธาน” เขียนแบบไทยเป็น “ปริยัตติอันตรธาน” อ่านว่า ปะ-ริ-ยัด-ติ-อัน-ตะ-ระ-ทาน 

ขยายความ :

ท่านว่า พระพุทธศาสนาของเรานี้ เมื่อกาลเวลาล่วงไปก็จะเกิดอันตรธาน คือเสื่อมสูญไปตามลำดับ กล่าวคือ (1) อธิคมอันตรธาน (2) ปฏิปัตติอันตรธาน (3) ปริยัตติอันตรธาน (4) ลิงคอันตรธาน (5) ธาตุอันตรธาน 

ปริยัตติอันตรธาน” หรือ “การสูญหายไปแห่งการเล่าเรียนธรรม” คัมภีร์อรรถกถาบรรยายไว้ดังนี้ –

…………..

ปริยตฺตีติ  เตปิฏเก  พุทฺธวจเน  สาฏฺฐกถา  ปาลิ  ฯ

คำว่า ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก

ยาว  สา  ติฏฺฐติ  ตาว  ปริยตฺติ  ปริปุณฺณา  นาม  โหติ  ฯ

บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น

คจฺฉนฺเต  คจฺฉนฺเต  กาเล  กลิยุเค  ราชยุวราชาโน  อธมฺมิกา  โหนฺติ  

เมื่อกาลล่วงไปๆ ผู้บริหารบ้านเมืองน้อยใหญ่ในกุลียุคไม่ตั้งอยู่ในธรรม

เตสุ  อธมฺมิเกสุ  ราชามจฺจาทโย  อธมฺมิกา  โหนฺติ

เมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ตั้งอยู่ในธรรม ข้าราชการน้อยใหญ่ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม 

ตโต  รฏฺฐชนปทวาสิโนติ  ฯ

แต่นั้น ชาวแคว้นและชาวชนบทก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

เอเตสํ  อธมฺมิกตาย  เทโว  น  สมฺมา  วสฺสติ

ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาลเพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม

ตโต  สสฺสานิ  น  สมฺปชฺชนฺติ  ฯ

เพราะเหตุนั้น ข้าวกล้าก็ไม่บริบูรณ์

เตสุ  อสมฺปชฺชนฺเตสุ  ปจฺจยทายกา  ภิกฺขุสํฆสฺส  ปจฺจเย  ทาตุํ  น  สกฺโกนฺติ

เมื่อข้าวกล้าไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัยก็ไม่สามารถจะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้

ภิกฺขู  ปจฺจเยหิ  กิลมนฺตา  อนฺเตวาสิเก  สงฺคเหตุํ  น สกฺโกนฺติ  ฯ

ภิกษุทั้งหลายขัดสนด้วยปัจจัย ก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกศิษย์ทั้งหลายได้

คจฺฉนฺเต  คจฺฉนฺเต  กาเล  ปริยตฺติ  ปริหายติ

เมื่อเวลาล่วงไปๆ ปริยัตติธรรมก็ค่อยเสื่อมลง

อตฺถวเสน  ธาเรตุํ  น  สกฺโกนฺติ  ปาลิวเสเนว  ธาเรนฺติ  ฯ

ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถทรงจำอรรถกถาไว้ได้ ก็จะทรงจำไว้แต่พระบาลีเท่านั้น

ตโต  กาเล  คจฺฉนฺเต  คจฺฉนฺเต  ปาลึ  สกลํ  ธาเรตุํ  น  สกฺโกนฺติ

แต่นั้น เมื่อกาลล่วงไปๆ ก็ไม่สามารถจะทรงจำบาลีไว้ได้ทั้งหมด

ปฐมํ  อภิธมฺมปิฏกํ  ปริหายติ  ฯ

อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน

ปริหายมานํ  มตฺถกโต  ปฏฺฐาย  ปริหายติ  ฯ

เมื่อเสื่อม ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายขึ้นมา

ปฐมเมว  หิ  ปฏฺฐานมหาปกรณํ  ปริหายติ

จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว 

ตสฺมึ  ปริหีเน  ยมกํ  กถาวตฺถุ  ปุคฺคลปญฺญตฺติ  ธาตุกถา  วิภงฺโค  ธมฺมสงฺคณีติ  ฯ

เมื่อปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ ปุคคลบัญญัติ ธาตุกถา ธัมมสังคณีก็เสื่อม

เอวํ  อภิธมฺมปิฏเก  ปริหีเน  มตฺถกโต  ปฏฺฐาย  สุตฺตนฺตปิฏกํ  ปริหายติ  ฯ

เมื่ออภิธรรมปิฎกเสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎกก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายขึ้นมา

ปฐมํ  หิ  องฺคุตฺตรนิกาโย  ปริหายติ

จริงอยู่ อังคุตรนิกายย่อมเสื่อมก่อน 

ตสฺมึ  ปริหีเน  ปฐมํ  เอกาทสกนิปาโต

เมื่ออังคุตรนิกายเสื่อม เอกาทสกนิบาตย่อมเสื่อมก่อน

ตโต  ทสกนิปาโต  ฯเป ฯ  ตโต  เอกกนิปาโตติ

แต่นั้น ทสกนิบาต ฯลฯ แต่นั้น เอกนิบาต

เอวํ  องฺคุตฺตเร  ปริหีเน  มตฺถกโต  ปฏฺฐาย  สํยุตฺตนิกาโย  ปริหายติ  ฯ

เมื่ออังคุตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตนิกายก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายขึ้นมา

ปฐมํ  หิ  มหาวคฺโค  ปริหายติ

จริงอยู่ มหาวรรคย่อมเสื่อมก่อน

ตโต  สฬายตนวคฺโค  ขนฺธกวคฺโค  นิทานวคฺโค  สคาถวคฺโคติ  ฯ

แต่นั้น สฬายตนวรรค ขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค

เอวํ  สํยุตฺตนิกาเย  ปริหายนฺเต  มตฺถกโต  ปฏฺฐาย  มชฺฌิมนิกาโย  ปริหายติ  ฯ

เมื่อสังยุตนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ มัชฌิมนิกายก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายขึ้นมา

ปฐมํ  หิ  อุปริปณฺณาสโก  ปริหายติ

จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์ย่อมเสื่อมก่อน

ตโต  มชฺฌิมปณฺณาสโก

แต่นั้น มัชฌิมปัณณาสก์

ตโต  มูลปณฺณาสโกติ  ฯ

แต่นั้น มูลปัณณาสก์

เอวํ  มชฺฌิมนิกาเย  ปริหีเน  มตฺถกโต  ปฏฺฐาย  ทีฆนิกาโย  ปริหายติ  ฯ

เมื่อมัชฌิมนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ ทีฆนิกายก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายขึ้นมา

ปฐมํ  หิ  ปาฏิยวคฺโค  ปริหายติ  ฯ

จริงอยู่ ปาฏิยวรรคย่อมเสื่อมก่อน

ตโต  มหาวคฺโค  

แต่นั้น มหาวรรค

ตโต  สีลกฺขนฺธกวคฺโคติ  ฯ

แต่นั้น สีลขันธวรรค

เอวํ  ทีฆนิกาเย  ปริหีเน  สุตฺตนฺตปิฏกํ  ปริหีนํ  นาม  โหติ  ฯ

เมื่อทีฆนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกก็เป็นอันว่าเสื่อม

วินยปิฏเกน  สทฺธึ  ชาตกเมว  ธาเรนฺติ  ฯ

ภิกษุทั้งหลายทรงไว้เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎกเท่านั้น

วินยปิฏกํ  ลชฺชิโนว  ธาเรนฺติ

ภิกษุผู้เป็นลัชชีคือละอายชั่วกลัวบาปเท่านั้นทรงพระวินัยปิฎก

ลาภกามา  ปน  สุตฺตนฺเต  กถิเตปิ  สลฺลกฺเขนฺตา  นตฺถีติ  ชาตกเมว  ธาเรนฺติ  ฯ

ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภ คิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตรก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น

คจฺฉนฺเต  คจฺฉนฺเต  กาเล  ชาตกํปิ  ธาเรตุํ  น  สกฺโกนฺติ  ฯ

เมื่อเวลาล่วงไปๆ แม้แต่ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้

อถ  เนสํ  ปฐมํ  เวสฺสนฺตรชาตกํ  ปริหายติ

ครั้นแล้ว บรรดาชาดกเหล่านั้น เวสสันตรชาดกก็เสื่อมก่อน

ตโต  ปฏิโลมกฺกเมน  ปุณฺณกชาตกํ  มหานารทชาตกํ

แต่นั้น ปุณณกชาดก มหานารทชาดก ก็เสื่อมไปโดยย้อนลำดับ

ปริโยสาเน  อปณฺณกชาตกํ  ปริหายติ  ฯ

จนในที่สุด อปัณณกชาดกก็เสื่อม

เอวํ  ชาตเก  ปริหีเน  วินยปิฏกเมว  ธาเรนฺติ  ฯ

เมื่อชาดกเสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น

คจฺฉนฺเต  คจฺฉนฺเต  กาเล  วินยปิฏกํปิ  ธาเรตุํ  น  สกฺโกนฺติ  ฯ

เมื่อกาลล่วงไปๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้แม้แต่พระวินัยปิฎก

ตโต  มตฺถกโต  ปฏฺฐาย  ปริหายติ  ฯ

แต่นั้น ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายขึ้นมา

ปฐมํ  หิ  ปริวาโร  ปริหายติ

จริงอยู่ คัมภีร์บริวารย่อมเสื่อมก่อน

ตโต  ขนฺธโก  ภิกฺขุนีวิภงฺโค

แต่นั้น ขันธกะ ภิกษุณีวิภังค์ก็เสื่อม

ตโต  อนุกฺกเมน  อุโปสถกฺขนฺธกมตฺตเมว  ธาเรนฺติ  ฯ

แต่นั้น ก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกะเท่านั้นตามลำดับ

ตทาปิ  ปริยตฺติ  อนฺตรหิตาว  น  โหติ  ฯ

แม้ในเวลานั้น ปริยัตติธรรมก็ยังไม่อันตรธานก่อน

ยาว  ปน  มนุสฺเสสุ  จตุปฺปทิกา  คาถา  ปริวตฺติตา

อันว่าคาถา ๔ บาทยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์ (คือยังมีผู้ทรงจำไว้ได้) เพียงใด 

ตาว  ปริยตฺติ  อนฺตรหิตาว  น  โหติ  ฯ

ปริยัตติธรรมก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธานเพียงนั้น

ยทา  สทฺโธ  ปสนฺโน  ราชา  หตฺถิกฺขนฺเธ  สุวณฺณจงฺโกฏกมฺหิ  สตสหสฺสถวิกํ  ฐปาเปตฺวา  พุทฺเธหิ  กถิตํ  จตุปฺปทิกํ  คาถํ  ชานนฺตา  อิมํ  สตสหสฺสํ  คณฺหนฺตูติ  นคเร  เภรึ  จาราเปตฺวา  

ต่อเมื่อใด ผู้ปกครองบ้านเมืองซึ่งมีศรัทธาเลื่อมใสให้ใส่ถุงทรัพย์หนึ่งแสนลงในผอบทองวางไว้บนคอช้าง แล้วให้ตีกลองร้องประกาศไปทั่วเมืองว่า ใครรู้คาถา ๔ บาทที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จงมารับเอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไปเถิด

คณฺหนกํ  อลภิตฺวา

ก็ไม่มีคนที่จะมารับเอาไป

เอกวารํ  จาราปิเตนาปิ  สุณนฺตาปิ  โหนฺติ  อสุณตฺตาย  ยาวตติยํ  จาราเปตฺวา 

เกลือกว่าการให้เที่ยวตีกลองประกาศคราวเดียวจะมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง 3 ครั้ง

คณฺหนกํ  อลภิตฺวา

ก็ยังไม่มีคนที่จะมารับเอาไป

ราชปุริสา  ตํ  สตสหสฺสถวิกํ  ปุน  ราชกุลํ  ปเวเสนฺติ

เจ้าพนักงานจึงให้ขนถุงทรัพย์หนึ่งแสนนั้นคืนเข้าท้องพระคลังตามเดิม

ตทา  ปริยตฺติ  อนฺตรหิตา  นาม  โหตีติ  ฯ

เมื่อนั้น ปริยัตติธรรมก็เป็นอันว่าอันตรธาน ด้วยประการฉะนี้

อิทํ  ปริยตฺติอนฺตรธานํ  นาม.

นี้ชื่อว่า ปริยัตติอันตรธาน

ที่มา: มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตรนิกาย ภาค 1 หน้า 117-120

…………..

ดูก่อนภราดา!

: วันนี้ไม่เรียนพระไตรปิฎกไว้ให้แม่นยำ

: พรุ่งนี้พระปริยัตติธรรมก็อันตรธาน

#บาลีวันละคำ (3,602)

23-4-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *