บาลีวันละคำ

พระสงฆ์ (บาลีวันละคำ 412)

พระสงฆ์

(คำบาลีประสมในภาษาไทย)

คำว่า “พระ” มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะมาจาก “วร” (วะ-ระ) ในบาลีสันสกฤต แปลว่า “ผู้ประเสริฐ” แปลง เป็น ออกเสียงว่า พะ-ระ แล้วกลายเสียงเป็น พฺระ (ร กล้ำ)

ในที่นี้คำว่า “พระ” เป็นคำใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง (พจน.42 บอกความหมายของ “พระ” ไว้ 13 อย่าง)

สงฆ์” แปลว่า ฝูงชน, ชุมนุมชน, หมู่, ฝูง, กลุ่ม, กลุ่มใหญ่, ประชาคม, คณะสงฆ์, พระ, นักบวช

ในทางภาษา “พระสงฆ์” แปลว่า “หมู่แห่งผู้ประเสริฐ” หรือ “นักบวชผู้ประเสริฐ

แต่ในทางความมุ่งหมาย “พระสงฆ์” คือ –

(1) หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า “สาวกสงฆ์” ดังคำสวดในสังฆคุณว่า “สุปฏิปนฺโน  ภควโต  สาวกสงฺโฆ = สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว” เริ่มแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์

สาวกสงฆ์” คือหนึ่งในพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)

(2) ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย เรียกว่า “ภิกขุสงฆ์

ต่อมา มักเรียกอย่างแรกว่า “อริยสงฆ์” อย่างหลังว่า “สมมุติสงฆ์

พระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นอริยสงฆ์ หรือสมมุติสงฆ์ ล้วนต้องอยู่ในกรอบคือพระธรรมวินัยอันพระพุทธองค์ทรงแสดงและทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว

: ถ้าเห็นกรอบเป็น “เกราะ” ก็เหมาะที่จะเป็นพระสงฆ์

: ถ้าเห็นกรอบเป็น “กรง” สักวันก็คง..หลุดออกไป

บาลีวันละคำ (412)

1-7-56

พระ

  [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก.ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

สงฺฆ (บาลี-อังกฤษ)

– ฝูงชน, ชุมนุมชน, หมู่, ฝูง

– คณะสงฆ์, พระ, นักบวช, พุทธจักร
– กลุ่มใหญ่, ประชาคม

สงฺฆ ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

หมู่, สงฆ์, ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป.

สงฺฆ (ประมวลศัพท์)

หมู่, ชุมนุม

1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล (รายตัวบุคคล) ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจากภิกขุสงฆ์ คือหมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย 2), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์

2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง, ถ้าเป็นชุมนุมภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียกว่า คณะ ถ้ามีภิกษุรูปเดียว เป็น บุคคล

พระ  [พฺระ]

(คำนาม)

(1) คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์,

(2) พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์,

(3) พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส,

(4) ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ;

(5) พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ;

(6) นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน;

(7) ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง;

(8) ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง

๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ

๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์

๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี

๔. นักบวช เช่น พระแดง

๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ;

(9) อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา;

(10) บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ,

(11) ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม;

(12) โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก.

(สรรพนาม).

คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล,

เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย