บาลีวันละคำ

มหาดไทย (บาลีวันละคำ 430)

มหาดไทย

มาจากภาษาอะไร ?

มีผู้แสดงความเห็นไว้ดังนี้

1. มาจากบาลีว่า “มหทย” (มะ-หะ-ทะ-ยะ) แปลว่า “เมตตายิ่ง” (Very Compassionate) “กรุณายิ่ง” (Very Merciful) (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, อ้างพจนานุกรมภาษาบาลี ของชิลเดอร์)

2. มาจากคำว่า “มหาอุทัย” แปลว่า “พระอาทิตย์แรกขึ้น” เราเขียน อุ พลาดเป็น กลายเป็น ชฎา เป็น “มหาฎทัย” เลยอ่านว่า มะ-หาด-ไท ภายหลังใช้ เด็ก แทน ชะฎา จึงเป็น “มหาดทัย” = มหาดไทย (หลวงวิจิตรวาทการ, อ้างประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย)

3. มาจากคำอินเดียว่า “มหามาตร” หมายถึงผู้เชี่ยวชาญเรื่องช้าง แขกพูดเร็วเป็น “มหาวัต” ฝรั่งฟังเป็น MAHOUT (มะเฮาท์ พจน.สอ เสถบุตร แปลว่า ควาญช้าง, มหาด) ไทยฟังเป็น “มหาต” เราเรียนวิชาคชกรรมจาก “มหาตอินเดีย” จนเชี่ยวชาญเรื่องช้าง จึงแยกเรียกเป็น “มหาตไทย” เพื่อให้ต่างจาก “มหาตอินเดีย” (ขุนวิจิตรมาตรา, อ้างความสำคัญของช้างกับชนชาติไทย อันเป็นเหตุให้พวก “มหาตไทย” ที่ใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในยามศึกสงคราม กลายมาเป็นข้าราชการที่ทำหน้าที่ดูแลสุขทุกข์ของราษฎร์ในยามสงบ)

4. มาจาก มหา + อัต = มหาต มีความหมายว่า “คนที่เป็นใหญ่” “ข้าราชการผู้ใหญ่ที่มีอิสระพอที่จะสั่งปฏิบัติงานได้ด้วยอำนาจของตนเอง” อันเป็นลักษณะของข้าราชการมหาดไทย (ไม่ปรากฏนามเจ้าของความเห็น)

ข้อมูลในภาษาบาลี –

1. “มหทย” ไม่พบในคัมภีร์ แต่มี “ทยา” แปลว่า ความเห็นใจ, ความเมตตา, ความกรุณา (sympathy, compassion, kindness) “มีกรุณายิ่ง” บาลีใช้ว่า “ทยาลุ” (ทะ-ยา-ลุ) ไม่ใช่ “มหทย

2. “อุทัย” บาลีเป็น “อุทย” (อุ-ทะ-ยะ) แปลว่า การขึ้น, ความเจริญ, การเพิ่มพูน, รายได้, ผลประโยชน์

3. “มหามาตร” ใกล้เคียงกับ “มหามตฺต” (มะ-หา-มัด-ตะ) ที่เราทับศัพท์ว่า “มหาอำมาตย์” แปลว่า อำมาตย์ผู้ใหญ่ (chief minister)

4. มหา + อัต = มหาต บาลีเป็น “มหตฺตา” แปลว่า “ผู้มีตนยิ่งใหญ่” หมายถึงพระอรหันต์

: “มหาดไทย” จะมาจากคำว่าอะไร

ก็ขึ้นอยู่กับคน “มหาดไทย” จะทำให้มันมีความหมายว่าอะไร

—————–

(ตามคำอาราธนาของ ผจญ จอจาน และ Noppadon Intaptim)

บาลีวันละคำ (430)

19-7-56

ทยา (บาลี-อังกฤษ)

ความเห็นใจ, ความเมตตา, ความกรุณา sympathy, compassion, kindness

มหามจฺจ

มหาอำมาตย์, มุขมนตรี chief minister

อุทย

การขึ้น, ความเจริญ, การเพิ่มพูน, รายได้, ผลประโยชน์

มหามจฺจ, มหามตฺต ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

อำมาตย์ผู้ใหญ่.

ทยา อิต.ความเอ็นดู, ความกรุณาสงสาร, ความเห็นอกเห็นใจ.

ทยาลุ ค.

มีกรุณามาก, ผู้เปี่ยมด้วยความกรุณา.

อิธ  ภิกฺขเว  เอกจฺโจ  ปุคฺคโล  ภาวิตกาโย  โหติ  ภาวิตสีโล  ภาวิตจิตฺโต 

ภาวิตปญฺโญ  อปริตฺโต  มหตฺตา*  อปฺปมาณวิหารี  (*ฉบับพม่าเป็น มหตฺโต)

โลณสูตร ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ ข้อ ๕๔๐

อาตมัน

  น. อัตตาหรือดวงวิญญาณ ซึ่งศาสนาและปรัชญาฮินดูถือว่าเที่ยงแท้ถาวร. (ส.).

mahout (มะเฮาท-) (สอ เสถบุตร)

ควาญช้าง, มหาด

mahout : hatthāroha หตฺถาโรห

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

“มหทย” Mahadaya แปลความว่า “เมตตายิ่ง” Very Compassionate อย่าง 1 “กรุณายิ่ง” Very Merciful อย่าง 1 ดูก็สมกับที่เอามาใช้เป็นชื่อกรมฝ่ายพลเรือน

หลวงวิจิตรวาทการ

มาจากคำว่า “มหาอุทัย” ซึ่งแปลว่าพระอาทิตย์แรกขึ้น อันเป็นความหมายของคำว่า “พระร่วง” นานมาหน่อย เราเขียน อุ กลายเป็น ฦ เลยกลายเป็น   “มหาฦทัย” คนต่อไปเขียนหางตัว ฦ ยาวไปหน่อย กลายเป็น ฎ เลยกลายเป็น     มหาฎไทย ภายหลัง ฎ ชะฎา เขียนลำบาก จึงเป็น ด.เด็ก เลยกลายเป็นมหาดไทย

???

มหา+อัต (โบราณนิยมเขียน “มหาต”)

มหา = ใหญ่

อัต = ตัวตน หรือลักษณะความเป็นตัวตน หรือบุคคล

เมื่อสนธิคำทั้งสองนี้เข้าด้วยกันตามหลักจะได้ศัพท์ว่า “มหาต” หรือ “มหาด” = “คนที่เป็นใหญ่” “ข้าราชการผู้ใหญ่ที่มีอิสระพอที่จะสั่งปฏิบัติงานได้ด้วยอำนาจของตนเอง” (ตามที่ได้รับ มอบหมายไปจากผู้บังคับบัญชา) คือ มีอำนาจสั่งการหรือปฏิบัติการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทุกกรณีด้วย ตนเอง ตามหลักการที่ได้รับมอบหมายไว้ และตนเองจะต้องผูกพันรับผิดชอบในการปฏิบัตินั้น ๆ ด้วย ดูก็จะตรงหน้าที่ของข้าราชการมหาดไทยในปัจจุบัน

กาญจนาคพันธ์

คำว่า “มหามาตร” ที่อินเดียเรียกเสนาอำมาตย์ชั้นสูงนี้เอง อาจจะเป็นต้นเค้าทางไทยเราให้บังเกิดมีคำสร้อยเรียกขุนนางชั้นสูงว่า ขุนนางผู้ใหญ่ เสนาผู้ใหญ่หรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ขึ้นก็ได้ การที่อินเดียเรียกเสนาอำมาตย์ชั้นสูงว่า “มหามาตร” ก็เนื่องด้วยเสนาอำมาตย์ชั้นสูง ย่อมจะต้องเชี่ยวชาญในวิชาคชกรรม มีความสามารถบังคับขับขี่ช้างได้คล่องแคล้ว ชำนิชำนาญทุกคน คำว่า “มหามาตร” จึงเป็นคำยกย่องที่มีความหมายถึงว่า เป็นผู้แตกฉานแล้วในวิชาช้างมีความสามารถในเชิงบังคับขับขี่ช้างได้เป็นอย่างดีวิเศษ เป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นบุคคลสำคัญยอดเยี่ยมตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า “มหามาตร” นี้มาเรียกเป็นภาษาฮินดูว่า “มหาวัต” หมายถึง เป็นชำนาญการบังคับขับขี่ช้างโดยตรง

แต่ถ้าว่าถึงพูดออกเสียงอย่างแขกซึ่งพูดเร็ว คำว่า “มหาวัต” ก็ฟังเป็น “มห๊าต” เสียง “มห๊าต” นี่เองที่เชื่อว่า จะต้องกลายมาเป็น “มหาด” ในภาษาไทยพยานหลักฐานที่จะอ้างได้ใน ข้อนี้ก็คือมีคำ MAHOUT ของฝรั่งอยู่คำหนึ่งที่ใช้กันแต่โบราณในอินเดีย หมายถึงผู้ขับขี่ช้าง คำ MAHOUT นี้ มาจากคำว่า “มหาวัต” เช่นเดียวกัน ฝรั่งคงจะฟังแขกพูดคำว่า “มหาวัต” เร็วตามประสาแขกพูด จึงได้เขียนคำนี้เพี้ยนไป ตามที่หูได้ยินคล้ายไทย คือ MAHOUT (อ่านว่า มะห๊าวต์) และใช้เป็นคำเรียกผู้ขับขี่ช้างในอินเดียสืบต่อมาจนทุกวันนี้ ตกคำว่า “มหาวัต” หรือ “มห๊าต” ซึ่งมาจากคำ “มหามาตร” ของอินเดียคำนี้เองได้กลายมาเป็น MAHOUT (มะห๊าวต์) ในภาษาฝรั่ง และได้มาเป็น “มหาด” ในภาษาไทย

โดยเหตุที่อาจารย์ชาวอินเดียก็เรียกกันว่า “มหาด” และลูกศิษย์ที่เป็นไทยก็เรียกว่า

 “มหาด” เหมือนกัน พวก “มหาด” ในสมัยไทยละว้าโบราณ จึงย่อมจะมีเป็นสอง

พวก พวกหนึ่งเป็นชาวอินเดียแท้ คือเป็นพวกครูบาอาจารย์ใหญ่ อีกพวกหนึ่งเป็น

ไทยคือ พวกเสนาอำมาตย์ราชบริพาร ของพระเจ้าแผ่นดินโดยตรง ดังนั้น จึงน่าจะ

เกิดคำเรียกแยกให้ต่างกัน โดยเรียกพวกไทยที่เป็นเสนาอำมาตย์ ราชบริพารแม่ทัพ

นายกองของพระเจ้าแผ่นดินว่า “มหาดไทย” คือหมายถึงว่าเป็นพวก “มหาด” ที่

เป็น “ไทย” ดังนี้คำว่า “มหาดไทย” จึงได้เกิดมีขึ้น

ผจญ จอจาน ๑๖ ก.ค.๕๖

ขอบพระคุณครับคุณครู ทหารร้อยละเกือบร้อยก็ไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของคำว่า กลาโหม นับว่าคุณครูได้นำมาขยายให้รู้กัน จะได้เข้าใจ เพราะว่าคำนี้ กลาโหม และอีกคำ มหาดไทย ก็ยังไม่มีใครทราบความหมาย รู้กันแต่เพียงว่า ทหาร ตำรวจ ก็พวก กลาโหม มหาดไทย ถ้าคุณครูเมตตา ก็อธิบายคำว่ามหาดไทย อีกคำรบ ก็จะเป็นพระคุณนะครับ

Noppadon Intaptim ๑๗ ก.ค.๕๖

ขอบพระคุณครับ ถ้าจะกรุณา อรรถาธิบาย คำว่ามหาดไทย อีกสักคำครับ

มหาดไทย

  น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนาชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.

มหาดเล็ก

  น. ข้าราชการในพระราชสํานักมีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่รับใช้ประจําเจ้านาย หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย, เรียกทหารที่มีหน้าที่รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ว่า ทหารมหาดเล็ก, เรียกเต็มว่า ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์.

มหาดเล็กรายงาน

  (โบ) น. มหาดเล็กซึ่งมีหน้าที่รายงานการสร้างวัดหรือคนเจ็บป่วยเป็นต้น; ชื่อตําแหน่งราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง.

มหาดเล็กหลวง

  น. ข้าราชการในราชสำนักมีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์.

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย