บาลีวันละคำ

พรรษา (บาลีวันละคำ 434)

พรรษา

บาลีเป็น “วสฺส” อ่านว่า วัด-สะ สันสกฤตเป็น “วรฺษ” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “พรรษา” อ่านว่า พัน-สา

วสฺสพรรษา” แปลตามศัพท์ว่า

1. “น้ำที่หลั่งรดลงมา” = ฝน

2. “ฤดูเป็นที่ตกแห่งฝน” = ฤดูฝน

3. “กาลอันกำหนดด้วยฤดูฝน” = ปี

วสฺส -วรฺษ” ไทยเราน่าจะใช้เป็น “พรรษ” (พัด) แต่ที่เป็น “พรรษา” อาจเป็นเพราะ –

1. ในบาลีมักใช้ในรูปพหูพจน์ คือเป็น “วสฺสา” (สัน.วรฺษา) เราจึงใช้ตามที่คุ้นเป็น “พรรษา

2. คำที่หมายถึงฤดูฝนมีอีกคำหนึ่ง คือ “วสฺสาน” (วัด-สา-นะ) คำนี้อาจกร่อนเป็น “วสฺสา-” เราก็เลยใช้เป็น “พรรษา

ในภาษาไทย พจน.42 บอกความหมายของ “พรรษา” ไว้ว่า

– ช่วงระยะเวลา 3 เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา จําพรรษา

– ปี เช่น บวช 3 พรรษา, มีพระชนมายุ 25 พรรษา

คำที่เราพูดว่า “เข้าพรรษา” บาลีใช้ว่า “วสฺสูปนายิกา” (วัด-สู-ปะ-นา-ยิ-กา) แปลว่า “ดิถีเป็นที่น้อมไปสู่กาลฝน” หมายถึงดิถีเข้าพรรษา, วันเข้าพรรษา

: “พรรษา” แปลว่า ปี ควรฤๅจะทำดีแค่สามเดือน ?

บาลีวันละคำ (434)

23-7-56

วสฺส ๑ = ฝน (วสฺสน วุฏฺฐิ) (ศัพท์วิเคราะห์)

วสฺสติ สิญฺจตีติ วสฺสํ น้ำที่หลั่งรดลงมา

วสฺส ธาตุ ในความหมายว่าราด, รด อ ปัจจัย

วสฺส ๒ = ฤดูฝน (วสฺสาน ปาวุส)

วสฺสติ ปวสฺสติ เอตฺถาติ วสฺโส ฤดูเป็นที่ตกแห่งฝน

วสฺส ธาตุ ในความหมายว่าราด, รด อ ปัจจัย

วสฺส ๓ = ปี (สํวจฺฉร หายน สรท สมา)

วสฺสกาเล อุปลกฺขิโตติ วสฺโส กาลอันเขากำหนดด้วยฤดูฝน (วสฺส + อ)

วสฺส ๔ แพะ (อช ฉคลก ฉกลก)

วสตีติ วสฺโส สัตว์ที่อยู่ประจำ

วส ธาตุ ในความหมายว่าอยู่อาศัย ส ปัจจัย ลบสระหน้า

วสฺสูปนายิกา ดิถีเข้าพรรษา, วันเข้าพรรษา

วสฺสํ อุปเนนฺติ อุปคจฺฉติ เอตฺถาติ วสฺสูปนายิกา ดิถีเป็นที่น้อมไปสู่กาลฝน

วสฺส + อุป บทหน้า นี ธาตุ ในความหมายว่านำไป อิก ปัจจัย อา อิต. พฤทธิ์ อี เป้น เอ แปลง เอ เป็น อาย

วสฺส (บาลี-อังกฤษ)

๑. (ปุง.,นปุง.) ฝน, ห่าฝน

๒. (นปุง.) ปี

๓. ความเป็นลูกผู้ชาย, ความแข็งแรง

วสฺส (บาลี-อังกฤษ)

(ปุ และ นปุ m. & nt.) [เทียบ เวท. วรุษ (นปุ:) ฝน. สำหรับนิรุกติ ดู วสฺสติ1 cp. Vedic varṣa (nt.) rain. For etym. see vassati1]

—- 1. ฝน, ห่าฝน rain, shower ชา4/284; 6/486 (ขณิก- ฝนที่ตกในทันทีทันใด khaṇika sudden rain); มิลิน.307 ม.ว.21,31: ธ.อ.3/163 (โปกขร- ฝนโบกขรพรรรษ pokkhara- portentous); สุต.นิ.อ.224 (มหา- ฝนห่าใหญ่ mahā- deluge of rain); เปต.อ.55 (วาต- ลมและฝน vāta- wind & rain).

— อุปมา. ห่าฝน, ฝนตกหนัก, การตก fig. shower, downpour, fall ม.1/130 = วิ.2/25 (กหาปณ-); ธ.อ.2/83 (กุสุม-). — โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฤดูฝน โดยคร่าว ๆ นับตังแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม (อาสาฬห – กตติก), เรียกบ่อยว่า “เวลาเข้าพรรษา”, ถึงแม้ว่าศัพท์นี้จะไม่สมนัยนักทีเดียว Esp. the rainy season, lasting roughly from June to October (Āsāḷha — Kattika), often called “Lent,” though the term does not strictly correspond. ตามปกติใช้ใน พหุ. วสสา Usually in pl. vassā (อง.4/138). ใช้อีกย่างหนึ่งว่า วสสา-รตฺต “เวลาแห่งฝน” also termed vassāratta “time of rains” (ชา.4/47; 5/38.). เทียบ พูทธสัน วรษา Cp. BSk. varṣā, อุ.ทิว 401, 509 —- อยู่จำพรรษา (คือ ใช้เวลาตลอดฤดูฝน) Keeping Lent (i. e. spending the rainy season) is expressed by vassaŋ vasati Vin iii.10; Mhvs 16, 8; หรือใช้ว่า วสส -วาสํ (วสส-อาวาสํ) วสติ (ดูข้างหน้า ) or by vassavāsaŋ (vass’ āvāsaŋ) vasati (see below) วสสํ อุเปติ ส.5/152, วสสํ อุปคจฉติ สํ.5/152; เปต.อ.42 ผู้อยู่จำพรรษาเสร็จแล้ว หรือพักอยู่ตลอดฤดูฝนแล้ว เรียกว่า วุตถ-วสฺส One who has kept Lent or finished the residence of the rains is a vutthavassa ชา.1/82; ม.ว.17, 1; หรือ วสสํ วุตฺถ or vassaŋ vuttha วิ.3/11; สํ1/199; 5/405; เปต.อ.43 เทียบ พุทธสัน. วรษ-โอษิต Cp. BSk. varṣ’ oṣita ทิว.92,489 — การอยู่จำพรรษา เป็น วสส-วาส (ดูข้างหน้า) Vassa-residence is vassavāsa (see below).— วสสํ วสาเปติ (เหตุ) ให้อยู่จำพรรษา vassaŋ vasāpeti (Caus.) to induce someone to spend the rainy season เปต.อ.20.

— อนุโต-วสสํ ภายในหรือระหว่างพรรษา; เทียบ อนฺโตวสส-เอก-ทิวส วันหนึ่งในระหว่างฤดูฝน antovassaŋ during Lent; cp. antovass’ eka — divasaŋ one day during Lent ม.ว.18 2; อนุตร-วสสํ ในระหว่างฤดูฝน antaravassaŋ id. สํ.4/63.

—2. (นปุ) ปี a year อง.4./252 (มานุสกานิ ปญญาส วสสานิ mānusakāni paññāsa vassāni); สุต.นิ.289,446,1073. สตฺต- (คุณ) มีอายุ 7 ปี satta- (adj.) seven years old ม.ว.5/61; สตต-อฎฐ- มีอายุ 7 หรือ 8 ปี satta-aṭṭha- 7 or 8 years old เปต.อ.67 — ดูสมาส -สต See cpd. –sata.

—3. ความป็นลูกผู้ชาย, ความแข็งแรง semen virile, virility: ดูสมาส -กมม และ -วร see cpds. –kamma & –vara.

วสฺส+อคค ที่หลบฝน, ที่กำบัง (อคฺค = อคาร) shelter from the rain, a shed (agga=agāra) ชา. 1/123; ธ.อ..3/105 – วิมาน.อ.75.

วสฺส+อาวาส การอยู่จำพรรษา vassa-residence อง.3/67.

วสฺส+อาวาสิก เกี่ยวกับการอยู่พรรษา, พูดถึงอาหาร (ภตต) ที่ให้เพื่อจุดประสงค์นั้น belonging to the spending of the rainy season, said of food (bhatta) given for that purpose ชา.6/71; ธ.อ.1/129 (เป็นหนึ่งในสี่ชนิด as one of the 4 kinds: สลาก-, ปกฺขิก-, นวจนฺท-, วสส-อาวาสิก- salāka-, pakkhika-, navacanda-, vass’ – āvāsika-), 298; 4/129 (-ลาภ ของถวายสำหรับฤดูฝน -lābha a gift for the r. s.).

วสฺส+อุปคมน การเข้าอยู่จำพรรษา entering on the vassa-residence เปต.อ.42.

วสฺส+อุปนายิกา (อิต.) การใกล้เข้ามาของฤดูฝน, การเริ่มอยู่จำพรรษา, วัสสูปนายิกา [พุทธสัน. วรโษปนายิกา ทิว.18, 489; อ.ศา.1/182 ซึ่งเป็นคำแสดงลักษณะของวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ] (f.) the approach of the rainy season, commencement of Vassa residence [BSk. varṣopanāyikā Divy 18, 489; AvŚ i.182, where Ep. of the full moon of Āsāḷha]. การเข้าจำพรรษานี้เรียกได้ 2 อย่าง Two such terms for taking up the residence: ปุริมิกา และ ปจฉิมิกา purimikā & pacchimikā อง.1/51; คือ วันหลังจากวันเพ็ญแห่งอาสาฬหมาส หรือหนึ่งเดือนหลังจากวันนั้น i. e. the day after the full moon of Ā. or a month after that date. ดู อุปนายิก See upanāyika.— วสส-อูปนายิก-ทิวส วันวัสสูปนายิกาหรือวันแรกของการจำพรรษา vass’ ûpanāyika-divasa the first day of Lent วิ.ม.92; ธ.อ.4/118; -อูปนายิกํ ขนธกํ วัสสูปนายิกขันธ์ คือวินัยตอนที่กล่าวถึงการเข้าไปอยู่จำพรรษา (คือ วิ.1/137) -ûpanāyikaŋ khandhakaŋ the section of the Vinaya dealing with the entrance upon Lent (i. e. Vin i.137 sq.) ม.ว.16,9.

วสฺส+โอทก น้ำฝน rain-water วิ.ม.260 = วิภงค.อ. 243

วสฺส+กมม การทำกะเทยให้กลับเป็นชาย causing virility ที.1/12 (= วสฺโส ติ ปุริโส, โวสฺโส ติ ปณฺฑโก อิติ; โวสฺสสฺส วสส-กรณํ วสส-กมมํ, วสฺสสฺส โวสส-กรณํ โวสฺส-กมฺมํ =vasso ti puriso, vosso ti paṇḍako iti; vossassa vassa-karaṇaŋ vassa-kammaŋ, vassassa vossa-karaṇaŋ vossa-kammaŋ ที.อ.1/97 ).

วสฺส+กาล เวลาฝนตก time for rain ชา.4/55.

วสฺส+ทส (และ -ทสก) ระยะเวลา 10 ปี a decade of years: ดูที่ระบุไว้ใน ชา. 4/397 see enumd at J iv.397.

วสฺส+ปูคานิ หลายปีเกินว่าจะนับได้ innumerable years ชา.6/532. เทียบ สุต.นิ.1073 cp. Sn 1073.

วสฺส+วร ขันที a eunuch ชา.6/502.

วสฺส+วลาหก เมฆฝน a rain cloud อง.3/243 (-เทวา).

วสฺส+วสฺสน ฝนหลั่งลงมา, ฝนตก shedding of rain, raining ธ.อ. 2/83.

วสฺส+วาส การอยู่จำพรรษา Vassa residence สํ.5/326; เปต.อ.20.

วสฺส+วุฎฐิ ฝนตก rainfall สุต.นิ.อ.34 เทียบ 224 cp. 224.

วสฺส+สต หนึ่งร้อยปี a century สุต.นิ.589,804 อง.4/138; เปต.2/1; เปต.อ.3,60,69.

วสฺส+สติก ผู้มีอายุ 100 ปี centenarian มิลิน 301.

พรรษา

  [พันสา] น. ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา จําพรรษา; ปี เช่น บวช ๓ พรรษา, (ราชา) มีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส, วสฺสาน).

พรรษากาล

  น. ฤดูฝน. (ส.).

เข้าพรรษา

  น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจําพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา.ก. เข้าอยู่ประจําที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย