บาลีวันละคำ

อาถรรพ์ (บาลีวันละคำ 471)

อาถรรพ์

อ่านว่า อา-ถัน

บาลีเป็น “อาถพฺพณ” (อา-ถับ-พะ-นะ) สันสกฤตเป็น “อาถรฺวณ

อาถพฺพณ” หมายถึง ผู้รักษาช้าง, หมอช้าง, ควาญช้าง

นัยหนึ่งว่ามาจาก อา (ด้วยดี) + ถุพฺพ (ธาตุ = กำจัด, เบียดเบียน) + ยุ (ปัจจัย)

– แปลง อุ ที่ ถุ เป็น : ถุพฺพ = ถพฺพ

– แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แปลง เป็น : ยุ = อน = อณ

: อา + ถุพฺพ = ถพฺพ + อณ = อาถพฺพณ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้กำจัดโรคช้างด้วยดี

อีกนัยหนึ่ง มาจาก อา (ด้วยดี) + ถป (ธาตุ = วาง, ตั้งไว้) + ยุ (ปัจจัย)

– แปลง (ที่ ถป) เป็น , เป็น วฺว, วฺว เป็น พฺพ : ถป = ถพฺพ

: อา + ถป = ถพฺพ + อณ = อาถพฺพณ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้วางยาในช้างด้วยดี

สันนิษฐาน –

1. “อาถรฺวณ” ในสันสกฤต รูปและเสียงคล้าย “เอราวณ” (ช้างเอราวัณ) ซึ่งนักภาษาสันนิษฐานว่าเป็นคำเดียวกับ elephant

2. เอราวณ ถอดเป็นอักษรโรมันว่า eravana เสียง v กับ ph กลายกันได้ eravana = elephant

2. “อาถรฺวณอาถพฺพณ” เดิมหมายถึงหมอช้างหรือควาญช้างซึ่งเป็นพวกที่นิยมใช้เวทมนตร์บังคับช้าง ต่อมาการนิยมใช้เวทมนตร์ขยายไปถึงพวกอื่นๆ ด้วย จนในที่สุด “อาถรฺวณอาถพฺพณ” เลยกลายเป็น “เวทมนตร์” ตามความหมายของคัมภีร์อถรรพเวทของพราหมณ์

คำที่เรานิยมพูดกันว่า “อา-ถัน” พจน.42 เขียนเป็น “อาถรรพ์” (พ์ การันต์) และ “อาถรรพณ์” (พณ์ การันต์) และบอกความหมายว่า

1. สิ่งสืบเนื่องจากคัมภีร์อถรรพเวท

2. การทําพิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันภยันตราย หรือทำอันตรายผู้อื่น เช่น ทําพิธีฝังเสาหินหรือฝังบัตรพลี ซึ่งเรียกว่า ฝังอาถรรพ์

3. อํานาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ เสานี้มีอาถรรพ์

: ผูกกันไว้ด้วยใจรัก แน่นหนักกว่าฝังอาถรรพ์

: ถ้ามีสติรู้ทัน ก็ถอนอาถรรพ์อย่างรู้ที

——————

(ตามคำขอของพระคุณท่าน Phra Maha Aditya Adittamedhi)

29-8-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย