บาลีวันละคำ

อัปรีย์ (บาลีวันละคำ 473)

อัปรีย์

อ่านว่า อับ-ปฺรี

บาลีเป็น “อปฺปิย” อ่านว่า อับ-ปิ-ยะ สันสกฤตเป็น “อปฺริย

อปฺปิย” ประกอบด้วย + ปิย = อปฺปิย

” (นะ) แปลว่าไม่, ไม่ใช่ เมื่อประสมอยู่หน้าคำอื่น มีกฎว่า

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น “” (อะ)

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ อํ) ให้แปลง เป็น “อน” (อะ-นะ)

ปิย” (ปิ-ยะ) แปลว่า น่ารัก, น่ายินดี, น่าพึงพอใจ, เป็นที่รัก, เป็นที่ชอบ, คบได้; สิ่งที่น่าพึงพอใจ, ความพึงพอใจ, ความครึกครื้น, สุขารมณ์

ในที่นี้ “ปิย” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ดังนั้น + ปิย จึง = + ปิย = อปิย ซ้อน ปฺ ตามหลักการสะกด จึง = อปฺปิย มีความหมายตรงกันข้ามกับ ปิย

อปฺปิย” ใช้ในภาษาไทย เปลี่ยนรูปอิงสันสกฤตเป็น “อัปรีย์” ความหมายก็เปลี่ยนไปด้วย พจน.42 บอกว่า –

อัปรีย์ : ระยํา, จัญไร, เลวทราม, ตํ่าช้า, ชั่วช้า, ไม่เป็นมงคล

เครื่องตรวจหาความอัปรีย์ :-

1. รูปร่างหน้า (รูปัปปมาณิกา)

2. กิริยาพาที (โฆสัปปมาณิกา)

3. ประพฤติดีถูกใจ (ลูขัปปมาณิกา)

4. ทำอะไรถูกต้อง (ธัมมัปปมาณิกา)

: รูปร่างหน้าตาดี แต่อัปรีย์ที่กิริยาวาจา

: กิริยาวาจาดี แต่อัปรีย์ที่ความประพฤติ

: ความประพฤติส่วนตัวก็เรียบร้อยดี

แต่อัปรีย์ที่ทำอะไรไม่ถูกต้องถูกธรรม

31-8-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย