บาลีวันละคำ

เทพสังหรณ์ – เหตุให้ฝันข้อ 3 (บาลีวันละคำ 3,680)

เทพสังหรณ์ – เหตุให้ฝันข้อ 3

จริงก็มี เหลวไหลก็มี

…………..

ความเป็นมา :

อาบัติสังฆิเสสของภิกษุมี 13 สิกขาบท 

สิกขาบทที่ 1 มีข้อความดังนี้ –

…………………………………….

สญฺเจตนิกา  สุกฺกวิสฏฺฐิ  อญฺญตฺร  สุปินนฺตา  สงฺฆาทิเสโส  ฯ

ที่มา: วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่ม 1 ข้อ 302

…………………………………….

พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลไว้ว่า –

…………………………………….

ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน เป็นสังฆาทิเสส

…………………………………….

หนังสือนวโกวาท หลักสูตรนักธรรมตรี พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แปลไว้ว่า –

…………………………………….

ภิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส

…………………………………….

คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก อธิบายคำว่า “อญฺญตฺร  สุปินนฺตา” (เว้นไว้แต่ฝัน) ไว้ว่า –

…………………………………….

ตญฺจ  ปน  สุปินํ  ปสฺสนฺโต  จตูหิ  การเณหิ  ปสฺสติ 

(1) ธาตุกฺโขภโต  วา 

(2) อนุภูตปุพฺพโต  วา 

(3) เทวโตปสํหารโต  วา 

(4) ปุพฺพนิมิตฺตโต  วาติ  ฯ 

ก็แลบุคคลเมื่อจะฝันนั้น ย่อมฝันเพราะเหตุ 4 ประการคือ 

เพราะธาตุกำเริบ 1

เพราะเคยรับรู้เรื่องนั้นมาก่อน 1

เพราะเทวดาสังหรณ์ 1

เพราะบุพนิมิต 1

ที่มา: คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก ภาค 2 หน้า 5

…………………………………….

เคยได้ยินผู้เอาเหตุแห่งความฝันทั้ง 4 ข้อมาพูดเป็นคำคล้องจอง แต่สลับลำดับ ไม่ตรงกับที่อรรถกถาเรียงไว้ เป็นดังนี้ –

…………..

บุพนิมิต

จิตนิวรณ์ 

เทพสังหรณ์

ธาตุพิการ

…………..

ในที่นี้ขอนำมาเขียนเป็นบาลีวันละคำตามลำดับคำคล้องจองในภาษาไทย

…………..

เทพสังหรณ์” อ่านว่า เทบ-สัง-หอน ประกอบด้วยคำว่า เทพ + สังหรณ์

(๑) “เทพ

บาลีเป็น “เทว” อ่านว่า เท-วะ รากศัพท์มาจาก ทิวฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง, เล่น, สนุก, เพลิดเพลิน) + (อะ) ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ทิ-(วฺ) เป็น เอ (ทิวฺ > เทว

: ทิวฺ + = ทิว > เทว (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ของตน” (2) “ผู้เพลิดเพลินด้วยเบญจกามคุณ” 

ความหมายของ “เทว” ที่มักเข้าใจกัน คือหมายถึง เทพเจ้า, เทวดา 

แต่ความจริง “เทว” ในบาลียังมีความหมายอีกหลายอย่าง 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เทว” ไว้ดังนี้ –

(1) good etc. (สิ่งที่ดี และอื่นๆ)

(2) a god, a deity, a divine being (เทวดา, เทพเจ้า, เทพ)

(3) the sky, rain-cloud, rainy sky, rain-god (ท้องฟ้า, เมฆฝน, ท้องฟ้ามีฝน, เทพแห่งฝน) 

ในที่นี้ “เทว” ใช้ในความหมายตามข้อ (2) คือเทวดาหรือเทพเจ้า 

เทว” เมื่อใช้ในภาษาไทยแปลง เป็น ตามสูตรที่นิยมทั่วไป เช่น – 

วร > พร 

วิวิธ > พิพิธ 

: เทว > เทพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “เทพ” ไว้ 3 คำ บอกไว้ดังนี้ – 

(1) เทพ ๑, เทพ– : (คำนาม) เทวดา. (ป., ส. เทว).

(2) เทพ ๒ : (คำนาม) คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น เทพทอง เทพชาตรี เทพบรรทม เทพนิมิต เทพรัญจวน.

(3) เทพ ๓ : (คำนาม) สมณศักดิ์พระราชาคณะสูงกว่าชั้นราช ตํ่ากว่าชั้นธรรม เรียกว่า ชั้นเทพ เช่น พระเทพโมลี.

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “เทพ” ไว้ดังนี้ –

…………..

เทพ : เทพเจ้า, ชาวสวรรค์, เทวดา; ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ 

๑. สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ = พระราชา, พระเทวี พระราชกุมาร 

๒. อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย

๓. วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ = พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย

…………..

(๒) “สังหรณ์” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สํหรณ” อ่านว่า สัง-หะ-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, รวมกัน) + หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น ตามกฎที่ว่า ลงกับธาตุที่ลงท้ายด้วย รฺ ให้แปลง เป็น

: สํ + หรฺ = สํหรฺ + ยุ > อน = สํหรน > สํหรณ แปลตามศัพท์ว่า “การนำไปรวมกัน” หมายถึง การรวบรวม, การเก็บ (collecting, gathering)

บาลี “สํหรณ” สันสกฤตก็เป็น “สํหรณ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

สํหรณ : (คำนาม) ‘สังหรณ์,’ การรวบรวม; การระงับ; การจับกุม; การสังหาร; accumulating; restraining; seizing; destroying.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สังหร, สังหรณ์ : (คำกริยา) รู้สึกคล้ายมีอะไรมาดลใจ ทําให้รู้ว่าจะมีเหตุเกิดขึ้น (มักใช้แก่เหตุร้าย) เช่น สังหรณ์ว่าจะเกิดเรื่องร้ายขึ้นที่บ้าน. (เทียบ ส. สํหรณ ว่า ยึดไว้).”

เป็นอันว่า เราเอาคำว่า “สังหรณ์” มาใช้ในภาษาไทยตามความหมายของเราเอง

เทพ + สังหรณ์ = เทพสังหรณ์ เป็นคำที่เราแปลงคำบาลีมาใช้ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

เทพสังหรณ์ : (คำนาม) เทวดามาดลใจ.”

อภิปรายขยายความ :

เหตุให้ฝันข้อนี้ คำบาลีในคัมภีร์ใช้ว่า “เทวโตปสํหาร” อ่านว่า เท-วะ-โต-ปะ-สัง-หา-ระ ประกอบด้วยคำว่า เทวตา + อุปสํหาร

(๑) “เทวตา” 

อ่านว่า เท-วะ-ตา รากศัพท์มาจาก เทว + ตา ปัจจัย

(ก) “เทว” (เท-วะ) รากศัพท์มาจาก ทิวฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง, เล่น, สนุก, เพลิดเพลิน) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ทิ-(วฺ) เป็น เอ (ทิวฺ > เทว)

: ทิวฺ + = ทิว > เทว แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ของตน” (2) “ผู้เพลิดเพลินด้วยเบญจกามคุณ” 

ในที่นี้ “เทว” หมายถึง เทพเจ้า, เทวดา 

(ข) เทว + ตา ปัจจัย

: เทว + ตา = เทวตา แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นเทวดา” (condition or state of a deva) หมายถึง เทพเจ้า; เทพยดา, พระเจ้า, นางฟ้า (divinity; divine being, deity, fairy)

เทวตา” ก็คือที่เรารู้จักกันในภาษาไทยว่า “เทวดา” นั่นเอง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

เทวดา : (คำนาม) ชาวสวรรค์มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ เป็นโอปปาติกะ. (ป., ส. เทวตา).”

(๒) “อุปสํหาร” 

อ่านว่า อุ-ปะ-สัง-หา-ระ รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, รวมกัน) + หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาตุ คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อาด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (หรฺ > หาร)

: อุป + สํ + หรฺ = อุปสํหรฺ + = อุปสํหรณ > อุปสํหร > อุปสํหาร แปลตามศัพท์ว่า “การนำเข้าไปรวมกัน” หมายถึง การจับ, การถือ, การสิงอยู่ (taking hold of, taking up, possession) 

เทวตา + อุปสํหารลบสระหน้า” คือ อา ที่ (เทว-)ตา (เทวตา > เทวต), แผลง อุ ที่ อุ-(ปสํหาร) เป็น โอ (อุปสํหาร > โอปสํหาร

เทวตา + อุปสํหาร = เทวตาอุปสํหาร > เทวตุปสํหาร > เทวโตปสํหาร แปลตามศัพท์ว่า “การนำเข้าไปรวมกันของเทวดา” หมายถึง ถูกเทวดาเข้าสิง (being seized or possessed by a god)

พิจารณาตามรูปศัพท์ในคัมภีร์ น่าจะยุติได้ว่า คำว่า “เทพสังหรณ์” เราแปลงมาจากบาลีว่า “เทวโตปสํหาร” นั่นเอง

เทวตา = เทพ

อุปสํหาร = สังหรณ์

เทวโตปสํหาร = เทพสังหรณ์

คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก ขยายความคำว่า “เทวโตปสํหาร” ไว้ดังนี้ –

…………..

เทวโตปสํหารโต  ปสฺสนฺตสฺส  เทวตา  อตฺถกามตาย  วา  อนตฺถกามตาย  วา  อตฺถาย  วา  อนตฺถาย  วา  นานาวิธานิ  อารมฺมณานิ  อุปสํหรนฺติ  ฯ  

เมื่อบุคคลฝันเพราะเทพสังหรณ์ ก็คือพวกเทวดาย่อมนำอารมณ์ต่างๆ เป็นคุณบ้าง เป็นโทษบ้าง เข้าไปให้เห็น เพราะอยากจะให้เกิดคุณก็มี อยากจะให้เกิดโทษก็มี

โส  ตาสํ  เทวตานํ  อานุภาเวน  ตานิ  อารมฺมณานิ  ปสฺสติ  ฯ

บุคคลย่อมฝันเห็นอารมณ์ต่างๆ นั้นด้วยอานุภาพของพวกเทวดา

…………..

ยํ  เทวโตปสํหารโต  ปสฺสติ

ตํ  สจฺจํ  วา  โหติ  อลิกํ  วา  ฯ

ความฝันเพราะเทพสังหรณ์

จริงก็มี เหลวไหลก็มี

ที่มา: คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก ภาค 2 หน้า 6

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มนุษย์ธรรมดาก็เชื่อได้

: ถ้าในหัวใจมีเทวธรรม

#บาลีวันละคำ (3,680)

10-7-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *